หน้าแรก > ปัญญาชนสยาม

 

 

 

ก.ศ.ร. กุหลาบ
(พ.ศ. ๒๓๗๗ - ๒๔๖๔)
ปัญญาชนหัวก้าวหน้าในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ผู้เรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญในสยามประเทศ

 

เทียนวรรณ
(พ.ศ. ๒๓๘๕ - ๒๔๕๘)
"ให้รีบหาปาลีเมนต์ขึ้นเป็นหลัก
จะได้ชักน้อมใจไพร่สมาน
เริ่มเป็นฟรีปรีดาอย่าช้ากาล
รักษาบ้านเมืองเราช่วยเจ้านาย"

 

นรินทร์(กลึง) ภาษิต
(พ.ศ. ๒๔๑๗ - ๒๔??)
"ถ้าเจอต้นตาล เป็นต้องปีนต้นตาลผ่านไป"

พระยาอนุมานราชธน
(พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๕๑๒)
"การศึกษาในที่นี้ ข้าพเจ้าไม่ได้หมายความเฉพาะการเรียนในโรงเรียน หรือการเรียนหนังสือเท่านั้น แต่หมายความไปถึงการฝึกฝนอบรมให้เด็ก ๆ รู้จักคิดด้วย ใช้ปัญญาอันมีเร้นเป็นพลังอำนาจทั้งหมด ซึ่งมีอยู่ในตนให้เกิดเป็นความเจริญ คลี่คลาย มีนิสัยไปในทางดีงาม"

 

พระสารประเสริฐ

พระสารประเสริฐ
(พ.ศ. ๒๔๓๒ - ๒๔๘๘)
"ชีพและโลกานุโลก และดาวเทพ และแม้ถึงท้าวมหาพรหมเอง ต่างแซ่ซ้องยินดีปรีดา ต้อนรับวันใหม่แห่งพรหมโลก เพราะอะไร? ก็เพราะไม่รู้แจ้งซึ่งความจริง" - กามนิต

ปรีดี พนมยงค์
(พ.ศ. ๒๔๔๓ - ๒๕๒๖)
"ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มิได้หยุดชะงักลง ภายในอายุขัยของคนใด หรือเหล่าชนใด คือประวัติศาสตร์ จะต้องดำเนินต่อไปในอนาคต โดยไม่มีสิ้นสุด ดังนั้นผมขอฝากไว้แก่ท่าน และชนรุ่นหลัง ที่ต้องการสัจจะ ช่วยตอบให้ด้วย"

กุหลาบ สายประดิษฐ์
(พ.ศ. ๒๔๔๘ - ๒๕๑๗)
"ผู้ใดเกิดมาเป็นสุภาพบุรุษ ผู้นั้นเกิดมาสำหรับคนอื่น"

พุทธทาสภิกขุ
(พ.ศ. ๒๔๔๙ - ๒๕๓๖)
ปณิธานข้อ ๑ พยายามเข้าถึงหัวใจศาสนาของตน
ปณิธานข้อ ๒ การทำความเข้าใจระหว่างศาสนา
ปณิธานข้อ ๓ การนำโลกออกมาเสียจากวัตถุนิยม
ป๋วย อึ้งภากรณ์
(พ.ศ. ๒๔๕๙ - ๒๕๔๒)
กูชายชาญชาติเชื้อ   ชาตรี
กูเกิดมาก็ที   หนึ่งเฮ้ย
กูคาดก่อนสิ้นชี-   วาอาตม์
กูจักไว้ลายโลกเว้ย   โลกให้แลเห็น
 

กรุณา กุศลาสัย
(พ.ศ. ๒๔๖๓ - )
"เวลานี้เรารบราฆ่าฟันกันเหลือเกิน ทุกหย่อมโลกมีความขัดแย้งกัน ความขัดแย้งมันไม่ดี แต่พอมนุษย์เรารู้ว่ามันไม่ดียังไง ก็ต้องค่อย ๆ ผ่อนให้มันน้อยลงไป เพราะอะไร เพราะถ้าไม่ผ่อนก็ “หายนะ” กันทั้งหมด"

เรืองอุไร กุศลาสัย
(พ.ศ. ๒๔๖๓ - )
"ดวงใจของสตรีนางหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รวมของความระทมขมขื่น และความอภิรมย์รื่นหฤหรรษ์ ความหวัง ความหวาดกลัว และความอับอายของกุลธิดาแห่งละอองธุลี จากดวงใจดวงนี้ ความรักปฏิสนธิขึ้นมาต่อสู้กับชีวิตอันไม่รู้จักตาย ในดวงใจดวงนี้มีแต่ความขาดตกบกพร่อง แต่กถึงกระนั้นก็ยังมีความสง่าและภาคภูมิ " - จิตรา

ระพี สาคริก
(พ.ศ. ๒๔๖๕ - )
"... โลกภายนอกนั้น ยังมีเปลือกหุ้ม แต่โลกซึ่งอยู่ในรากฐานชีวิตเป็นสิ่งอิสระ ปราศจากแม้กระทั่งเปลือก และหากค้นได้ถึงเนื้อใน ย่อมไม่พบสิ่งใดเป็นตัวตนทั้งสิ้น ... หากแต่ละชีวิตยังมีพลัง น่าจะรู้สึกท้าทายที่จะต่อสู้เพื่อการหยั่งรู้ได้ถึง ย่อมรู้ความจริงได้เองว่า แม้ความยากความง่ายก็ไม่มีตัวตน คงมีแต่ความจริงซึ่งอยู่ในใจ สานถึงทุกสิ่งได้เองอย่างเป็นธรรมชาติเท่านั้น" 

ระวี ภาวิไล
(พ.ศ. ๒๔๖๘ - )
"เด็กเล็กๆ มีอายตนะ 6 เปิดกว้าง เพื่อรับรู้ และเรียนรู้สรรพสิ่งที่เขาพบเห็นในโลกอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ความคิดของเขาเป็นอิสระเสรี แต่น่าสมเพช ที่ภายในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีของระยะเติบโต เขาได้ถูกทำลายความอยากรู้อยากเห็น และจินตนาการกว้างไกล กลายเป็นคนสยบยอม เซื่องซึม สายตาสั้นอย่างที่ผู้ใหญ่เป็น เขากลายเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็กน้อย ในจักรกลมหึมาที่เคลื่อนไปอย่างไร้ความหมาย มีชื่อเรียกว่าสังคมมนุษย์"
เสน่ห์ จามริก
(พ.ศ. ๒๔๗๐ - )
"คนอ่อนแอเป็นคนที่ต้องรวมตัวกัน การต่อสู้กับอำนาจคือการรวมตัวกัน คนทุกวันนี้มันรวมตัวกันไม่ได้ ทั้งที่จำนวนมากกว่า แต่มาแพ้คนน้อยกว่า มันเรื่องอะไร ...เพราะขาดความสำนึกความเป็นตัวตนร่วมกัน"

จิตร ภูมิศักดิ์
(พ.ศ. ๒๔๗๓ - ๒๕๐๙)
"เปิบข้าวทุกคราวคำ
จงสูจำเป็นอาจิณ
เหงื่อกูที่สูกิน
จึงก่อเกิดมาเป็นคน"

สุลักษณ์ ศิวรักษ์
(พ.ศ. ๒๔๗๕ - )
"เราแต่ละคนควรมีเวลาให้ตนเอง เจริญโยนิโสมนสิการ เพื่อฝึกปรือให้เป็นคนปรกติ ด้วยการไม่เอาเปรียบตนเองและผู้อื่น อย่างรู้เท่าทันโครงสร้างทางสังคม ที่อยุติธรรมและรุนแรง เพื่อแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีและอหิงสธรรม โดยไม่เกลียดโกรธคนที่เป็นต้นตอ แห่งทุกขสัจทางสังคม"

ประเวศ วะสี
(พ.ศ. ๒๔๗๕ - )
"ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม จะเล็กน้อย ใหญ่ ปานกลาง จะต้องเชื่อมโยงไปสู่การตั้งคำถามว่า ที่เราทำคืออะไร มีความหมายอย่างไร ไปสู่ความหมายใหญ่... มนุษยชาติต้องการการปฏิวัติ การปฏิวัติ คือ การเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนคุณค่า เปลี่ยนจิตสำนึก การปฏิวัติไม่ใช่การใช้ปืนไปไล่ฆ่าใคร ไปแย่งชิงอำนาจใคร แต่ยังคิดเหมือนเิดิม"

พระธรรมปิฏก (ป. อ. ปยุตโต)
(พ.ศ. ๒๔๘๑ - )
"การศึกษาจะต้องช่วยให้คนเจริญเท่าทันยุคสมัย ในความหมายที่ว่า อย่างน้อยจะต้องตื่นตัวรู้เท่าทันต่อความ
เป็นไปและปัญหาต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และความเสื่อมความเจริญของสังคม เมื่อสดับข่าวสาร ก็ไม่ติด
อยู่แค่ส่วนปลีกย่อยที่จะเอามาซุบซิบ ตื่นเต้นกันไป แต่มองให้เห็นภาพรวมของโลกและสังคม ทั้งในด้านปัญหา
ที่จะต้องแก้ไขและทางเจริญที่จะดำเนินต่อไป และสามารถแยกแยะวิเคราะห์องค์ประกอบ และเหตุปัจจัยเชื่อมโยง กันขึ้นไป"

นิธิ เอียวศรีวงศ์
(พ.ศ. ๒๔๘๓ - )
"ความรู้เกี่ยวกับคนจนหรือความยากจนในสังคมไทย เป็นความรู้ที่ขาดแคลน เป็นศาสตร์ที่ขาดแคลนยิ่งกว่าวิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ยิ่งกว่าอะไรทุก ๆ อย่าง แต่ไม่มีใครคิดจะไปลงทุน ในการที่จะสร้างความรู้เหล่านี้ขึ้มา"

ธีรยุทธ บุญมี
(พ.ศ. ๒๔๙? - )
"ผมเป็นวิศวกร มาเรียนทางสังคมศาสตร์ ผมยังให้คำตอบไม่ได้ว่า ทำไมคอมพิวเตอร์รุ่นเพนเทียมโฟร์ จึงมีราคาแพงกว่าข้าวหอมมะลิ หรือแพงกว่างานศิลปะของอาฟริกา ถ้าตอบว่าลงทุนมากกว่า ทำวิจัยมากกว่าก็น่าตั้งคำถามว่า ทำไมค่าแรงคุณจึงแพงกว่า แล้วทำไมค่าแรงคนอื่นจึงถูก คุณเก่งกว่าคนอื่นหรือไม่"

เสกสรรค์ ประเสิรฐกุล
(พ.ศ. ๒๔๙๒ - )
"ปัญหามันคงไม่มากเท่านี้ ถ้าเรารู้จักวางชีวทัศน์ไว้ ในกรอบใหญ่ระดับจักรวาล ถ้ามีสำนึกเข้าใจว่าโลกมีอายุจำกัด เอกภพมีเวลาจำกัด และชีวิตคนเป็นเพียงพริบตาเดียว ในห้วงยามเหล่านี้ บางทีเราอาจจะเบียดเบียนกันน้อยลง"

 

พระไพศาล วิสาโล

"ความเป็นไทยที่เคารพความเป็นมนุษย์ ถือว่าความเป็นมนุษย์นั้นศักดิ์สิทธิ์กว่าความเป็นไทย แม้เขาจะไม่ใช่ไทย เราก็ไม่มีสิทธิ์จะไปทำร้ายหรือใช้ความรุนแรงกับเขา เพราะถึงอย่างไรเขาก็เป็นมนุษย์ ความเป็นไทยแบบนี้ จะทำให้ขันติธรรมและเมตตาธรรมเจริญขึ้นในจิตใจ
รักชาติแบบจิตวิวัฒน์คือรักมนุษยชาติด้วย มิใช่เห็นชาติสำคัญกว่าความเป็นมนุษย์ รักชาติแบบนี้แหละที่จะทำให้ประเทศไทยน่าอยู่ ภาคใต้เกิดสันติ และจิตใจสงบเย็น"

 

 



หน้าแรก
| ปัญญาชนสยาม | หนุ่มสาวดัดจริต | กังวานเกี่ยวข้อง | ข้าวตอกดอกมะเขือ | กลับสู่ด้านบน

เว็บไซต์นี้จัดทำด้วยความกระตือรือล้นของใครหลายคน
ก้อนหิน และหรือดอกไม้ กรุณาหารือกับนักการ
พยายามปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗