หนุ่มสาวดัดจริต > เรื่องราว around us
Date:  Thu Jul 15, 2004  6:59 pm
Subject:  เรื่องราว around us

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ ที่รักทุกท่าน

ขออภัยที่หายหน้าหายตาไปนาน  มัววุ่นๆ กับกิจกรรมราษฎร์หลวงมากมาย สัปดาห์นี้ กำลังเขียนแผนขอทุนวิจัยเรื่อง ‘การฟ้องคดีสิ่งแวดล้อม” ให้สำนักงานศาลฯ (ใครสนใจจะช่วยมั่งคะ) แล้วก็เตรียมหาทางจัดงานสัมมนาเรื่อง ‘บทบาทสตรีในกระบวนการยุติธรรม’ นอกจากนี้ กำลังจะถูกใช้งานจากปปง.ให้ไปร่างกฎกระทรวงเรื่อง ‘การยึดทรัพย์คดีละเมิดทรัพยากรธรรมชาติ’ กำลังจะถูกจ้างจากกรมทรัพยากรชายฝั่งให้อยู่ในทีมยกร่างกฎหมายใหม่ กำลังตามแก้งานวิจัยเรื่อง ‘ทรัพย์สินของแผ่นดิน’ ที่รับทำให้กฤษฎีกาเมื่อชาติเศษมาแล้ว และกำลังตามล่าชาวบ้านตำบลลาดกระทิงมาช่วยคิดงานวิจัยเรื่อง ‘Community Justice’  ต่อ  อ้อ พรุ่งนี้จะไปประชุมที่ราชบัณฑิตยสถานอีกครั้ง ในฐานะอนุกรรมการชำระ ‘กฎหมายตราสามดวง’ แหะ แหะ เริ่มสงสาร (ชีวิตอันบัดซบและสับสนของ) ‘อำแดงโด่ง’ ไหมคะ  (ขออ้อนหน่อย)

แต่แม้ว่าเรื่องราวของอิฉันจะฟังดูน่าสงสารเพียงใด ก็เชื่อว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คนอื่นคงอยู่ในสภาพไม่ต่างกันสักเท่าไหร่  ใครที่เก่งกว่า (เช่น ยัยด็อกเตอร์สาวๆ หลายท่านแถวนี้) ก็คงต้องรับภาระมากกว่า (ตามเกณฑ์ความสามารถและอายุ) ส่วนพวกที่มีวิญญาณดีเดือดมากกว่า ก็คงจะต้องเดินสายหนักกว่าเรา นะค้า อย่าคิดมาก (แอบเปิดดูปฏิทินพี่ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ของเรา พี่ท่านมีคิวนัดทุกวีคเอนด์แน่นไปถึงปีหน้าแล้ว ... บ้าป่าววะ :P)

แม้จะไม่ได้เขียนมาทักทายกัน แต่ก็เชื่อว่าเพื่อนๆ ทุกท่านมีความสุขกันดี ไม่เจ็บไม่ป่วย  ได้ยินข่าวล่าว่าเมืองไทยกำลังจะได้ดร.ปริญญา (เอก) ที่จะจบปริญญาเอกทางกฎหมายจากเยอรมันกลับมาในสัปดาห์สองสัปดาห์นี้ (Oh! God! มนุษย์ไฮเปอร์จะกลับมาแล้ว แอ่นแอ้น) น้องๆ ท่านอื่นๆ ก็คงจะทยอยกลับมากันเรื่อยๆ สำหรับสมาชิกกลุ่มวงล้อของเรา นอกจากพวกหน้าเก่าๆ เดิมๆ (ที่ยังทนกันอยู่  ไม่ unsubscribe ออกไป) เราก็มีเพื่อนใหม่ๆ พี่ๆ ที่น่าสนใจ ที่เป็นเพื่อนของเพื่อน เพื่อนของพี่ เพื่อนของน้อง เข้ามากันเพิ่มขึ้น ใครว่าง ก็ลองแนะนำตนเอง หรือจะมีข่าวสารอะไรมาแลกเปลี่ยนก็ยินดีนะคะ  เวทีนี้ไม่มีใครเป็นเจ้าของ วงล้อจะหมุนก็ต่อเมื่อมีคนอยากจะเคลื่อนมันหน่ะค่ะ

หลังจากที่เพื่อนๆ หลายท่านได้ช่วยสรุปข่าวสารต่างๆ มากันนั้น อิฉันก็ขออนุญาตเสริมในส่วนที่ได้ไปร่วมหรือได้แยกไปรับรู้มาด้วย หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจบ้าง ไม่มากก็น้อยค่ะ

๑. เรื่องกิจกรรมไดอะล็อกที่ปราจีนบุรีนั้น สนุกสนานกันมากอย่างที่จาได้เล่าให้ฟังแล้ว สถานที่ของสวนแสงอรุณสวยงามเหลือเกิน โดยเฉพาะที่สระบัวและที่หอสูงดูป่า (ที่ออกแบบได้อย่างชาญฉลาด) อยากให้เพื่อนๆ ท่านอื่นได้ไปอยู่กับพวกเราด้วยจริงๆ กิจกรรมสุนทรียสนทนาก็ดำเนินไปอย่างดี โดยการนำของพี่ชัยวัฒน์ที่สละเวลามา (สงสัยพวกเราจะเป็นความหวังของแก แหะแหะ) นอกจากแกนกลุ่มพวกเราประมาณสิบคน เรายังมีพี่ๆ จากสมาคมศิษย์เก่าเยอรมันที่ร่วมจัดกิจกรรมในคราวนี้มาร่วมอีกสิบกว่าคน  มีพี่ๆ ทหารบกและทหารอากาศที่น่ารักมากมาด้วย โดยมีพี่แดงศิริกุลคอยประสานทุกๆ เรื่องทำให้การเดินทางสะดวกสบายและมีคนอุปถัมภ์เรื่องค่าใช้จ่าย โดยทำงานแบบมืออาชีพ อันเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่น้องๆ  ก็ต้องขอขอบพระคุณพี่แดงและสนย. มา ณ ที่นี้อีกครั้งค่ะ (นัดหน้า เรายังจะมีเรื่อง Conflict Management (ประมาณตุลา) และ System Thinking กับพี่ชัยวัฒน์อีกครั้งในเดือนธันวาช่วงคริสมาสต์..ใครกลัวพลาด ก็ต้องรีบจองที่นั่งกันนะคะ)

๒. เรื่องความสนใจใน “กรุงเทพเมืองฟ้าอมร” เป็นรูปธรรมมากขึ้นตามกิจกรรมที่แอ๋มและจาได้แนะนำมานะคะ โดยในวันเสาร์นี้ จะมีการรวมพลคนรักกรุงเทพ จัดกิจกรรมไดอะล็อกยักษ์โดยกลุ่มบางกอกฟอรั่ม  ที่พวกเราหลายคนก็เตรียมการณ์ไปร่วมกันเต็มที่ และในวันเสาร์ถัดไป (๒๔ กค)  นั้น จะเป็นเวทีวิชาการที่รวมประเด็นของวันเสาร์นี้ ไปคุยต่อในแง่ความเป็นไปได้จริง ซึ่งจะมีแกนหลักสองสามฝ่าย เช่น กลุ่มรัฐศาสตร์สังคมวิทยา นำโดยท่านอาจารย์สุริชัย หวันแก้ว จากรัฐศาสตร์ จุฬา และกลุ่มอาจารย์ทางคณะสถาปัตยกรรม รวมทั้งนักกฎหมายจากหลายฝ่าย ฯลฯ ที่จัดโดยเครือข่ายการปฏิรูปกรุงเทพ (วงเล็กสักสามสิบคน)โดยมีการตั้งคำถามหลักที่ว่า “ร้อยแสนผู้ว่าก็แก้ปัญหาไม่ได้ : หากคนกรุงเทพขาดการมีส่วนร่วม” งานเสาร์หน้านี้ จะจัดที่จุฬา ทั้งวันเหมือนกันค่ะ  รายละเอียดจะส่งให้อีกทีค่ะ

อ้อ เนื่องจากในงานวันที่ ๒๔ นี้ ทั่นอาจารย์และพี่ๆ ที่จะจัดที่จุฬาอยากจะเชิญพวกชาวต่างประเทศมาร่วมงานด้วยอยู่แล้ว อิฉันเลยจะขออนุญาตยุบงานที่เราวางแผนไว้ที่จะคุยกับฝรั่งในเรื่องกทม. เดือนหน้าให้มารวมกับงานนี้เสียด้วยเลย (ขอล้มกันดื้อๆ เลย) เพราะเพื่อนฝรั่งบางคนของพวกเราก็จะไม่อยู่เมืองไทยในหน้าร้อนเดือนหน้านี้ เลยคิดว่าจะขอเชิญเขามางานนี้เสียเลย หากเขาว่าง ก็หวังว่าเพื่อนๆ คงไม่ว่านะคะ สำหรับกิจกรรมในเดือนหน้า เชื่อว่าท่านอื่นๆ เช่น ดร. แฟรงค์กับดร.ตี่ อาจจะมีไอเดียอะไร ที่จะมาช่วยแนะนำค่ะ (แอบได้ยินว่ากำลังไอเดียกระฉูดกันอยู่..แม่นบ่)

๓. จริงๆ กิจกรรมนึง ที่ตี่ ดร.จงรักษ์ จากเภสัชมหิดล ได้แนะนำมา คือเรื่องการเป็น Watchdog ตั้งทีมศึกษาเรื่องสำคัญๆ ที่เกิดขึ้น (หรือกำลังจะเกิดขึ้น) แล้วมาวิเคราะห์ในมุมวิชาการที่หลากหลาย เช่น เรื่องหวัดนก ฯลฯ ก็ไม่รู้ว่าเพื่อนๆ ท่านอื่นๆ คิดยังไง เรื่องนี้ ขอรบกวนตี่ช่วยแนะนำเพิ่มนะคะ คิดว่าหลายคนคงสนใจแน่นอน อิฉันลองหยิบจดหมายที่ตี่เขียนถึงนักวิชาการท่านหนึ่งในต่างประเทศ สมัยหวัดนกหนึ่งเพิ่งเริ่มระบาด ก็เห็นว่ามีอะไรที่เป็นประโยชน์มากค่ะ หากได้มีการระดมกันในแต่ละเรื่องอย่างจริงจัง ทุกอย่างแก้ได้ค่ะ (พวกเราจะเจ๋งกว่าคุณทักษิณอีก ขอบอก..ฮิฮิ)

๔. อย่างเรื่องปักษ์ใต้ ที่พวกเราสนใจกันอยู่นั้น บัดนี้ ก็มีความตื่นตัวจากผู้รู้หลายทางอย่างน่าสนใจ ดังที่จาและยูได้เคยเล่า คิดว่า กิจกรรมที่ทางจุฬา และทางศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร จะจัดในช่วงกลางและปลายเดือนนี้ คงจะมีเพื่อนเราไปร่วมกิจกรรมและแชร์ไอเดียกับเขาด้วยค่ะ มีอะไรดีๆ ก็คงได้มาเล่าสู่กันฟังกันต่อไปค่ะ

๕. เมื่อได้ทำกิจกรรมหลากหลายมากมาย ในที่สุด เราอาจจะได้ยินคำถามสำคัญสองสามคำถามนี้จากคนรอบข้างอยู่เสมอค่ะ “ไปยุ่งอะไรกับเขาคะ” “ทำงานในหน้าที่ให้ดีก่อนไม่ดีหรือครับ” (น้องๆ ที่เยอรมันก็กำลังโดนถามอยู่ตอนนี้ http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=tsvd&topic=2073) ก็หวังว่าแต่ละคน คงมีหาคำตอบที่เหมาะสมได้เอง  และจะได้ยิ้มได้กับทุกคำถามที่เจอ

เมื่อสองวันก่อน ได้มีโอกาสไปดูหนังเรื่อง AIDS :The Woman’s Story ที่สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน เกี่ยวกับชีวิตภรรยาในบราซิล อัฟริกาและไทยแลนด์ที่ติดเอดส์มาจากสามี แต่หาความลงตัวให้ชีวิตได้ (ตามโปรแกรมที่พี่จุ๋ง สุทธิชลและคุณ Eckstein ผอ.เกอเต้ได้เคยส่งมาให้พวกเรานั่นแหล่ะค่ะ หลังหนังสารคดีๆ เรื่องดีๆ ภาพสวยๆ จากไดเร็คเตอร์สาวชาวฮอลแลนด์ที่มาร่วมงานด้วยฉายจบ ก็ได้มีเสวนาวงเล็กๆ ต่อโดยนักกิจกรรมหญิงหลายท่าน เช่น อดีตอาจารย์ฉัตรสุมาลย์ (ตอนนี้เป็นพระ) อาจารย์ชลิดาภรณ์ ฯลฯ ก็น่าสนใจดี ได้เห็นอีกแง่มุมเกี่ยวกับเอดส์และผู้หญิง ประเด็นสำคัญที่หลายคนเห็นตรงกัน ก็คือ เรื่องเอดส์เป็นเรื่องของสังคม มิใช่แค่เรื่องของคนป่วยกับญาติ ผู้ป่วยกับหมอ (Analog: เรื่องปักษ์ใต้ ก็มิใช่เรื่องของพวกเบอร์ซาตูกับคนใต้) แต่เป็นเรื่องของโลกที่ทุกคนควรตระหนักและ engaged ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง (อย่างน้อยสุดก็คงเป็น mental support.. loving kindness) ซึ่งข้อสรุปในคอนเสิร์ทใหญ่ 46664 กับคำอภิปรายของลุงแมนเดลาที่อิมแพ็คเมืองทองที่ฉายในทีวีวันนี้  ก็ไม่ได้แตกต่างกันไปเลย  ซึ่งก็เหมือนกับที่คุณวิลเลี่ยม เจฟเฟอร์สัน คลินตั้น ของอิฉัน กล่าวไว้เมื่อสองปีก่อนที่ว่า

‘I knew about the problem, I cared about it, I thought I had not done as much as I wanted when I was President and I thought we could make a difference. So for me it was kind of a personal crusade. I just knew we had to do something about it.”

เอาเป็นว่าใครอยากทำอะไร อยากอยู่ไหน อยากเป็นยังไง ก็เป็นกันไป ทำกันไปนะคะ อิฉันเชื่อมั่นในตัวพวกท่านเสมอ และขอเป็นกำลังใจให้เต็มร้อย Don’t worry ค่ะ

บั๊บบาย แล้วเจอกันวันใกล้ๆ นี้นะคะ

โด่ง (สุนทรียเพื่อน)

ปล. จดหมายฉบับหน้าว่าด้วยเรื่อง “สุนทรียาจะออกเรือน” โปรดติดตาม ห้ามกระพริบตา ;)

 

 

Dear Prof. Laver

This is the first letter that I write you. I am a university lecturer in Thailand. I thought you have already know that there is an avian flu out break in Thailand and other countries in south east asia.  As the consequence, the flu cause a decline chicken and egg-related business. On the day I write this letter, several producers have started to give chicken and egg product free of charge directly to consumers in our country to encourage the consumption of poultry products. The activity seemed to be not under the surveillance of our authority.  I am not quite sure if it is a good idea to do so in this situation. As I am not an expertise in the avian flu, I will greatly appreciate if you can give me the answers or comments on following questions.  Your comments will be used as a reference as a suggestion to our government if any precautionary measure would be necessary. 1. What is/are the possible route of transmission of avian flu? Is it transmissible via the ingestion of the contaminated poultry product? 2. Is the human to human transmission possible for the avain flu? 3. Our Food and Drug Administration have announced that ingestion of the cook poultry product is safe since the virus will be destroy at the temperature of 80 C.  Are there any studies or publication that support this claim? 4. May I have your comments on the above issue on the freely distribution of poultry product? I am looking forward to your reply and am grateful to any answers or comments.

Yours sincerely, Jongrak  KITTIWORAKARN

--------------------------------------------

Dear   Dr. Jongrakk Kittiworakarn,                                                               

 I will try to answer your questions as best I can.

1.  Yes, uncooked contaminated poultry products can indeed spread avian influenza, among birds and possibly to people.

2,  There have been no confirmed  reports of  the H5N1 virus  being transmitted from person to person.   But if the virus mutates, or re-assorts its genes with those of  a human influenza virus, then a new transmissable influenza virus might be formed which would spread through the human population.  If this "new" virus killed people as well as it kills chickens you can imagine what a world disaster this would be.      The last two influenza pandemics,  H2N2 Asian flu in 1957 and H3N2 Hong Kong flu in 1968 were both caused by re-assortant viruses which had genes from both   bird flu and human flu so the same event could easily happen again.

3.  Yes, cooked chicken will be safe, if the cooking process is thorough. Influenza viruses are heat labile.

4.  Any distribution of poultry products, free or otherwise, should not be allowed to happen if they come from an infected area.        I have attached a copy of a Review on the Origin and Control of Pandemic influenza, in case  you might find this useful.                                                       

 

Best wishes,

Graeme Laver



หน้าแรก
| ปัญญาชนสยาม | หนุ่มสาวดัดจริต | กังวานเกี่ยวข้อง | ข้าวตอกดอกมะเขือ | กลับสู่ด้านบน

เว็บไซต์นี้จัดทำด้วยความกระตือรือล้นของใครหลายคนนั้น
ก้อนหิน และหรือดอกไม้ กรุณาหารือกับนักการ
พยายามปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุด เมื่อวันที่
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘