จุดเด่นของวิชาวูซู
วิทยายุทธจีนส่วนหนึ่ง
คือ วิชากายบริหารแบบโบราณ ซึ่งมีจุดเด่นป็นลักษณะพิเศษที่ประกอบ ด้วยเหตุผล 6 ประการ ได้แก่
1. แข็ง - อ่อนประสาน
วิชาวูซูนั้น เน้นความแข็งแกร่งและอ่อนผสมประสานกัน
หรือภายนอกดูอ่อนนุ่ม แต่ภายใน แข็งแกร่ง เป็นการใช้ความแข็งในรูปความอ่อน และความอ่อนกลับเป็นความแข็งแกร่ง
หรือเรียกว่า แข็งอ่อนประสานกันเป็นหนึ่ง
2. การประสานของภายใน - ภายนอกเป็นหนึ่งเดียว
ใน หรือ ภายใน หมายถึง การชี้นำพาเพลงยุทธให้เคลื่อนไหวไปตามที่จิตกำหนดโดยผลแห่ง
สมาธินั้น "นอก" หรือ
ภายนอก หมายถึง การเคลื่อนไหวที่แสดงออกผ่านสื่อทางสายตา, ท่าของมือ,
หรือทางสรีรร่างกาย โดยต้องให้ร่างกายส่วนบนล่างผสมประสานกัน ได้แก่ มือและเท้าประสานกัน
ศอกและเข่าประสาน ส่วนไหล่และสะโพก(เอว)ประสานรวมเรียกว่า
3 ประสานภายนอก นอกจากนี้ รูปลักษณ์ทางกายภายนอกที่เคลื่อนไหวอยู่นั้น ต้องประสานกับภายใน(จิต) คือ การให้จิตควบคุมการ
เคลื่อนไหว จิตยิ่งมีสมาธิกระบวนยุทธยิ่งมีความมั่นคง หากจิตฟุ้งซ่าน กระบวนยุทธย่อมสับสน
และ
ที่สำคัญยังต้องมีการประสานจากภายใน 3 ประการ ได้แก่ จิตประสานความรู้สึก, ความรู้สึกประสาน ลมปราณ และลมปราณประสานพลัง
3. การควบคุมความสมดุลของลมปราณ
ลมปราณ หมายถึง ระบบการหายใจที่ส่งผลต่อการควบคุมอวัยวะภายในและความรู้สึกโดย
มีจิตสมาธิเป็นตัวช่วยชี้นำ ซึ่งการขับเคลื่อนเพลงยุทธโดยอาศัยลมปราณอาจทำได้หลายลักษณะ
เช่น
การควบคุมลมปราณไว้ที่ท้องน้อย ด้วยการใช้จิตสมาธิเป็นตัวกำหนด และลักษณะวิธีการใช้พลังจาก
จุดท้องน้อยสู่เป้าหมาย(แขน - ขา) เป็นต้น
4. เน้นพลังภายใน
การฝึกพลังภายในช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง
ๆ ของร่างกายนั้น ได้รับการกระตุ้น ให้เกิดการ พัฒนาความแข็งแกร่งมากขึ้นตามลำดับ
5. รักษาลมปราณให้สมดุลต่อเนื่อง
การควบคุมควาสมดุลของสมปราณให้มีความสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนยุทธ
ซึ่ง
การใช้พลังต่อเนื่องกันนั้น เป็นการแสดงความแข็งแกร่งของพลังในรูปแบบท่ายุทธต่อท่ายุทธ
โดย
มีสภาพเคลื่อนคล้อยไปตามธรรมชาติ และการกำหนดของจิตสมาธิ ต้องกำหนดให้สภาวะของพลัง
ลมปราณแสดงออกทางสายตา ตลอดจนท่าทางต้องมีความกลมกลืนกันอย่างต่อเนื่อง ด้วยการทำให้
ผูกต่อกันดั่งลูกโซ่ตั้งแต่ต้นจนจบ
6. มีความเข้มและหลากหลายในกายาอาวุธประเภทต่างๆ
ยุทธลีลาของวิชาวูซูทุกประเภทล้วนมีรูปแบบการต่อสู้ในลักษณะการรุกรับตอบโต้เป็นส่วน
ประกอบ ซึ่งหลักยุทธวิธีการต่อสู้อาศัยหลัก 4 ประการ ได้แก่
1) การใช้อาวุธเท้า อาทิ
การเตะกระแทกส้น, การถีบ, การดีดเตะ, การเตะตบ, การเตะกวาด
การเตะเท้าตึง, การเตะเสย, การเตะปัด เป็นต้น
2) การใช้อาวุธมือ อาทิ การชก,
หมัดสบัดหรือเหวี่ยง, การตบหมัด
เป็นต้น
3) การเหวี่ยงทุ่ม
4) การคว้าจับหัก
้์