ทำไมต้องการความเร็วสูงขนาดนั้น
พีซีเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อพีซีก้าวล้ำมาจนถึงขีดความสามารถที่ใช้งานมัลติมีเดียได้ผล
ความต้องการที่จะผสมและประยุกต์สื่อหลายประเภทเข้าหากัน มีทั้งวีดีโอ โทรศัพท์
และข้อมูล พัฒนาการทางด้านมัลติมีเดียเป็นไปอย่างรวดเร็วเหลือเกิน ผู้ใช้พีซีคงเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า
พัฒนาการส่วนนี้ใช้ขีดความสามารถของซีพียูที่ดีขึ้น ใช้ซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อนขึ้น
หากจะดูสิ่งที่พัฒนามาอย่างเด่นชัดในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา เริ่มจากไมโครซอฟต์พัฒนาวินโดวส์
95 ขณะเดียวกันอินเทอร์เน็ตก็เติบโตเร็วมาก มีการใช้บราวเซอร์แพร่หลาย บราวเซอร์รับข้อมูลแบบมัลติมีเดียได้
ส่วนการพัฒนาทางด้านฮาร์ดแวร์ทำให้มีชิพรุ่นใหม่ หลายตัวที่น่าสนใจ ได้แก่
การประมวลผลกราฟิกแบบใหม่ และยังมีมาตรฐานวีดีโอ ที่มีการลดขนาดข้อมูล เช่น
MPEG-1 และซอฟต์แวร์ MPEG การใช้มัลติมีเดียทำให้ต้องการแถบกว้างขวางความถี่สูงขึ้น
มีการรับส่งที่มีคุณภาพมากขึ้น
อินเทอร์เน็ต
- อินทราเน็ต
อินเทอร์เน็ตเริ่มมาตั้งแต่ปี
ค.ศ.1969 แต่เติบโตอย่างช้า ๆ ในยุคแรก ครั้นเทคโนโลยีเครือข่ายได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น
อินเทอร์เน็ตก็เติบใหญ่อย่างรวดเร็ว และเชื่อมโยงเครือข่ายเข้ากับทั่วโลกเป็นเครือข่ายเดียวกัน
ขณะเดียวกันพัฒนาการได้เน้นให้องค์กรพัฒนาเครือข่ายภายในองค์กรของตนเอง โดยเฉพาะที่ใช้ในงานภายใน
และเรียกเครือข่ายนี้ว่า Enterprise Network หรือเครือข่ายขององค์กร แต่เมื่ออินเทอร์เน็ตมีสถาปัตยกรรมเป็นแบบระบบเปิดและมีโปรแกรมประยุกต์อยู่มากมาย
จึงมีการประยุกต์ใช้ในเครือข่ายสำหรับองค์กร และเรียกเครือข่ายที่ประยุกต์ในองค์กรว่า
อินทราเน็ต อินทราเน็ตจึงได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมใช้ในองค์กรอย่างรวดเร็ว
ด้วยเหตุที่การประยุกต์แบบมัลติมีเดียบนเครือข่ายได้เริ่มต้นขึ้นและกระจายไปทั่ว
ทำให้ความต้องการเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานเหล่านี้จึงตามมา
อินทราเน็ต เครือข่ายที่ใช้ในองค์กร ต้องใช้อุปกรณ์ที่รองรับการทำงานแบบสื่อประสม
และเป็นเหตุให้พัฒนาการเทคโนโลยีแลน จึงมีโปรโตคอลระดับล่างรองรับมากมาย เช่น
อีเทอร์เน็ต โทเก้นริง FDDI เพราะมีอุปกรณ์จำพวกเราเตอร์และสวิตชิ่งเข้ามาช่วยการทำงานของเครือข่าย
รุปที่
1
ทำไมต้องพัฒนามาเป็น
ATM
เครือข่ายคอมพิวเตอร์พัฒนามาจากแลน มีการวางเทคโนโลยีระดับแลนหลายรูปแบบ
แลนที่พัฒนามีขอบเขตจำกัด เช่น เป็นอีเทอร์เน็ต การส่งรับข้อมูลจะกระจายในเซกเมนต์ของตนเอง
ดังนั้นเมื่อมีการเชื่อมต่อแลนเข้ากับแลน หรือเรียกว่า Internetwork จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่อ
เพื่อกำหนดเส้นทางอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เกิดขึ้นจึงมีผู้พัฒนา เช่น บริดจ์ เราเตอร์
รูปที่
2
การเชื่อมต่อแลนเข้ากับแลนในยุคแรก มีจุดมุ่งหมายที่ 80/20 หมายความว่า ผู้ใช้งานส่วนใหญ่คือ
ราว 80 % ใช้ข้อมูลภายในเครือข่ายของตนเอง และอีก 20 % เป็นการใช้ข้อมูลต่างเซกเมนต์
หรือต่างเครือข่ายกัน อุปกรณ์เราเตอร์ที่ออกแบบมาจึงเป็นตัวเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกัน
เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากันและแยกข้อมูลระหว่างเซกเมนต์ออกจากกัน เราเตอร์มีขีดความสามารถในเชิงความเร็วไม่สูงนัก
เมื่อความต้องการในยุคมัลติมีเดียเกิดขึ้น ทำให้การใช้ข้อมูลมากขึ้น ประจวบกับแนวคิดในเรื่องอินทราเน็ต
มีการวางเซอร์ฟเวอร์ เพื่อให้ผู้อยู่ในองค์กรเรียกใช้ได้ การเรียกข้อมูลในเครือข่ายอื่นจึงมีมาก
การทำงานภายในเครือข่าย จึงสวนทิศทางกลับเป็น 20/80 หมายความว่า ใช้งานภายในเครือข่ายเพียง
20 % และใช้งานระหว่างเครือข่ายถึง 80 % เมื่อเป็นเช่นนี้ ความต้องการในการพัฒนาอุปกรณ์ใหม่ที่สวิตซ์ระหว่างเครือข่ายด้วยความเร็วสูงจึงเกิดขึ้น
และต้องการให้การรับส่งข้อมูลมีคุณภาพดีขึ้น โดยเฉพาะความต้องการในเรื่องมัลติมีเดียมีสูงขึ้น
ATM จึงเป็นทางออกทางหนึ่ง
โครงสร้างขององค์กรได้เปลี่ยนไป
การแข่งขันระหว่างองค์กรเป็นไปอย่างน่าดู
ระบบสารสนเทศได้มีบทบาทและสำคัญยิ่งในยุคของการแข่งขันนี้ ข้อมูลข่าวสารเป็นเรื่องของกลยุทธ์ที่เข้ามาแทนที่อำนาจแบบอื่น
การทำงานภายในองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบที่เป็นบุคคล เป็นกลุ่มและ Enterprise
มาทำงานในลักษณะช่วยกันทำเป็นโครงงาน โครงสร้างองค์กรเริ่มแบนลง เมื่อเป็นเช่นนี้เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นกำลังสำคัญ
โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้งานมีลักษณะกระจาย
เพื่อการทำงานร่วมกันการติดต่อประชุมปรึกษาหารือ การดำเนินงานในรูปธรรมที่มองเห็นผ่านทางเครือข่าย
ภาวะการณ์สิ่งแวดล้อมในองค์กรทำให้มีความต้องการถนนข้อมูลข่าวสารที่ความเร็วสูงขึ้น
คุณภาพของการส่งรับข้อมูลดี และต้องการรูปแบบของสื่อหลายชนิด ทั้งข้อมูล ภาพ
เสียง และวีดีโอ
นอกจากนี้องค์กรยังต้องการการลงทุนแบบจำกัด เน้นการได้ประโยชน์ที่คุ้มค่า
ขยายตัวได้ง่าย เครือข่ายสารสนเทศที่ดำเนินการจึงต้องมีคุณสมบัติปรับเปลี่ยนได้ง่าย
( Flexibility ) และขยายความต้องการขององค์กร ( Scalable ) การจัดการในเรื่องเครือข่ายจึงต้องเหมาะสมกับสถานะความต้องการ
( Rightsize ) และการลงทุนจะต้องไม่ผูกมัดกับยี่ห้อใด คุ้มค่ากับการลงทุน
ลดความเสี่ยงในอนาคต ( Investment Protection ) จากสภาพการเปลี่ยนแปลงขององค์กรในลักษณะทำให้ข้อมูลข่าวสารวิ่งผ่านเครือข่ายแลน
และข้ามโยงระหว่างเครือข่ายมากขึ้น แนวโน้มการใช้งานรูปแบบที่มีเราเตอร์เป็นตัวแยกข้อมูล
และนำส่งข้อมูลระหว่างเซกเมนต์ จึงไม่สามารถรองรับความเร็วได้ทัน ผนวกกับเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีเวลาหน่วงในเรื่องของการ
Sroer Forward ซึ่งทำให้การทำงานบางงานมีปัญหา สิ่งที่ต้องการคือ การเดินทางของสัญญาณข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางต้องถึงได้รวดเร็ว
ความรวดเร็วนี้คือการใช้เวลาน้อย เรามีวิธีการวัดความเร็วนี้ และเรียกว่า
Latentcy Time ปกติค่าเวลานี้ยิ่งต่ำยิ่งดี เช่น การสวิตช์ของเอทีเอ็มแต่ละโหนดอาจใช้เวลาเพียง
10 ไมโครวินาที ซึ่งถ้าหากผ่านเอทีเอ็มสวิตช์ 3 ตัว ก็จะใช้เวลาเพียง 30 ไมโครวินาที
ค่าเวลานี้ทำให้งานประยุกต์ทางด้านสัญญาณที่มีการตอบโต้จึงปรากฏผลได้รวดเร็ว
เช่น ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ระบบอินเตอร์แอคทีฟวิดีโอ หรือการโต้ตอบในรูปแบบข้อมูลก็ต้องการเวลาต่ำด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้องค์กรยังมีการประยุกต์แบบรวม การประยุกต์แบบรวมจึงหมายถึงการนำงานหลายรูปแบบหลายระบบเข้ามาวิ่งในเครือข่ายเดียวกัน
เกิดการทำงานรวมที่ส่งกระจายไปยังผู้ใช้ได้มากมาย
รูปที่
3
จากโครงสร้างในรูป เป็นสภาพเครือข่ายที่ใช้ในองค์กรทั่วไป อุปกรณ์หลักจึงใช้เราเตอร์แยกเวอร์กกรุ๊ปต่าง
ๆ ในองค์กร สภาพการทำงานแบบเวอร์กกรุ๊ปเป็นที่นิยมและเชื่อมโยงผ่านเราเตอร์จำนวนมากหลายตัว
ทำการแยกเวอร์กกรุ๊ปและเชื่อมโยงเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน อุปกรณ์เราเตอร์มีประโยชน์
และเสริมสร้างให้เครือข่ายในองค์กรสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น พัฒนาการของเราเตอร์จึงได้คงทนและยืนหยัดให้ใช้งานได้อย่างดี
ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ได้พัฒนาและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางแล้วมีหลายเทคโนโลยี
เช่น อีเทอร์เน็ต โทเก้นริง และ FDDI เทคโนโลยีเหล่านี้ได้รับการพัฒนามาจนมีการสร้างอุปกรณ์ประกอบที่เอื้ออำนวยต่อการออกแบบสร้างเครือข่ายได้มาก
เช่น บริดจ์ เราเตอร์ ฮับ ผู้ออกแบบเครือข่ายคุ้นเคยกับอุปกรณ์เหล่านี้จนสามารถเลือกหาอุปกรณ์ต่าง
ๆ มาใช้งานได้สะดวก การออกแบบตามสภาพการทำงานจึงเน้นการแบ่งเครือข่าย และสร้างเวอร์กกรุ๊ป
แล้วใช้บริดจ์ หรือเราเตอร์แยกการทำงานแต่ละเวอร์กกรุ๊ป อุปกรณ์เหล่านี้เมื่อเชื่อมต่อกันทำให้มีช่วงเวลาหน่วงสูงขึ้นจนไม่สามารถรองรับการทำงานในระบบมัลติมีเดียที่เป็นความต้องการในปัจจุนได้
การแบ่งแยกเครือข่ายเป็นเครือข่ายย่อยตามซับเน็ตที่ต้องการ เป็นวิธีที่ออกแบบได้ง่าย
ทำให้ในองค์กรมีเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมาก และสร้างปัญหาในการดูแลการจัดการเครือข่าย
เครือข่ายที่มีการขยายขนาดมากขึ้นก็มีการดูแลได้ยากตาม และที่สำคัญ การลงทุนอุปกรณ์จะเข้ามามีส่วนช่วยในการทำให้เครื่อข่ายมีการเชื่อมโยงหรือทำงานร่วมกันทั้งเครือข่ายก็พลอยยุ่งยากตามไปด้วย