การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเทคโนโลยีเอทีเอ็ม

            เพื่อให้เห็นภาพของการเชื่อมต่อและการขยายขอบเขตการทำงานของเอทีเอ็มสวิตชิ่งในเครือข่ายขององค์กร จึงนำเสนอวิธีการสร้างเครือข่ายเอทีเอ็มในองค์กรตามรูปแบบความต้องการ และการขยายตัวแต่ละขั้นตอน เครือข่ายเริ่มต้น กรณีที่องค์กรยังไม่มีเครือข่ายเดิมอยู่ และต้องการสร้างเครือข่ายภายในองค์กร เมื่อเลือกเอทีเอ็มจะใช้หลักการเชื่อต่อเข้าสู่เครือข่ายในระดับที่แยกเป็นเวอร์กกรุ๊ป และเอ็นเตอร์ไพรซ์ได้ รูปแบบของเครือข่ายเอทีเอ็มที่สนับสนุนเวอร์กกรุ๊ป เราเรียกว่า แอกเซสสวิตช์ ที่เชื่อมต่อเข้าสู่เมนสวิตช์ การแบ่งแยกเป็นเวอร์กกรุ๊ปนี้ มีระบบสวิตช์จำพวกที่เรียกว่า แอกเซสสวิตช์ ที่ทำให้การเชื่อมต่อของผู้ใช้ในเวอร์กกรุ๊ปเข้าหากัน ระบบที่เชื่อมโยงเป็นได้ทั้งแบบเดิมคือ อีเทอร์เน็ต หรือใช้เอทีเอ็มที่ความเร็วต่ำลง เช่น ความเร็ว 25 Mbit ความเร็ว 55 หรือใช้ 155 Mbit ก็ได้ อย่างไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องให้ ATM เมนสวิตช์มีการสนับสนุนการหาเส้นทางและการหาแอดเดรสในระดับ IP เดิมได้
 
 


รูปที่ 8

การเปลี่ยนแบคโบนเดิมเข้าสู่เอทีเอ็ม ในบางองค์กรได้มีการสร้างเครือข่ายของตนเองแล้ว เช่น ใช้เราเตอร์ในการกำหนดเส้นทาง และแบคโบนใช้ความเร็วสูง 100 Mbit เป็น FDDI ระบบเครือข่ายนี้สามารถปรับปรุงมาใช้เป็นเครือข่ายเอทีเอ็ม หรือองค์กรใหม่ก็ออกแบบใช้เอทีเอ็มเป็นแบคโบนได้เช่นกัน เอทีเอ็มแบคโบนสามารถเพิ่มแถบกว้างสัญญาณได้สูงกว่า FDDI โดยที่ใช้จำนวนสายใยแก้วนำแสงน้อยกว่า เพราะสามารถใช้เพียงสองลำแสง ดังนั้นถ้าใช้ 2 พอร์ตเต็มที่เป็น 4 ลำแสง จะได้แถบกว้างเป็น 30 เมกะบิต ซึ่งมีแถบกว้างกว่า FDDI ถึง 3 เท่า


รูปที่ 9

ขั้นตอนการเปลี่ยนจากเวอร์กกรุ๊ปเดิมเข้าสู่เครือข่ายเอทีเอ็ม แน่นอนอย่างยิ่ง สิ่งที่ลงทุนไปแล้วจะต้องใช้งานต่อไปและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า ดังนั้นในองค์กรที่มีการสร้างเครือข่ายไว้แล้ว และต้องการขยายเครือข่ายเพิ่มเวอร์กกรุ๊ปและแบคโบนเพิ่มเติม เพื่อเข้าสู่เครือข่ายเอทีเอ็ม จำเป็นต้องมีขั้นตอนการขยายเครือข่ายตามขั้นตอน ลองดูลำดับขั้นตอน


รูปที่ 10


 

เริ่มต้น จากการที่มีเครือข่ายเดิมที่ใช้เราเตอร์และฮับเป็นหลัก สถานีงานส่วนใหญ่ต่อผ่านฮับในระบบ 10 BASET เมื่อต้องการขยายเพิ่มเวอร์กกรุ๊ปใหม่ เมื่อองค์กรขยายตัวและต้องการเพิ่มเวอร์กกรุ๊ปใหม่ จำเป็นต้องกระจายการเพิ่มด้วยวิธีใหม่ที่กระทำได้คือ การขยายเอทีเอ็มสวิตช์ที่เป็นเมนสวิตช์ และแอเซสฮับเป็นสวิตช์เอทีเอ็มที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ ขยายเข้าสู่แบคโบนแบบ ATM เมื่อองค์กรขยายตัวเข้าสู่เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้นอาจจำเป็นต้องเพิ่มขยายเมนสวิตช์มากกว่าหนึ่งตัว และสร้างเวอร์กกรุ๊ปใหม่ ๆ ขึ้น การดำเนินการในลักษณะนี้ทำให้เครือข่ายกลายเป็นเครือข่ายแบบ ATM ไปในที่สุด
 
 


รูปที่ 11


 

            เครือข่ายเอทีเอ็มเป็นเครือข่ายที่จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีของกาพัฒนาอีกก้าวหนึ่ง เพื่อรองรับการขยายตัวในการใช้งานแบบมัลติมีเดีย และการผสมข้อมูลหลายแบบในองค์กร อย่างไรก็ดี การออกแบบและจัดการเอทีเอ็ม จะต้องคำนึงถึงเงื่อนไขและสถานการณ์หลายอย่าง โดยเฉพาะการลงทุนที่จัดว่ายังมีราคาสูงอยู่ ดังนั้นการออกแบบหรือเปลี่ยนแปลงเข้าสู่เครือข่ายเอทีเอ็ม ต้องทำความเข้าใจในหลักการ มาตรฐาร และวิธีการเชื่อมต่อตลอดจนปัญหาและการดูแลจัดการเครือข่าย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ยังคงสับสนในระดับผู้เลือกใช้อยู่มาก
 
 


รูปที่ 12


รูปที่ 13



หน้า 1 | 2 | 3 |
| home | menu | เทคโนโลยี |

1 : 08 : 2541