รูปที่ 4
ในบรรดาอุปกรณ์สวิตชิ่ง มีเอทีเอ็มที่จัดว่าเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจ จุดสำคัญที่ทำให้เอทีเอ็มโดดเด่นเพราะเอทีเอ็มสวิตชิ่งได้ด้วยความเร็วสูงมาก จึงทำให้การส่งข้อมูลในเครือข่ายได้คุณภาพและแถบกว้างตามที่ต้องการ การติดตั้งระบบและการเชื่อมโยงทำได้ง่าย มีความอ่อนตัวในการออกแบบเครือข่ายให้ตรงกับที่ต้องการ ลดปัญหาและทำให้การดูแลเครื่อข่ายได้ง่าย เครือข่ายเอทีเอ็มเป็นเครือข่ายที่มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก ลองดูจากอดีตจนปัจจุบันของเทคโนโลยีการสวิตช์ข้อมูลข่าวสาร
เริ่มจากการใช้
เซอร์กิตสวิตช์
เช่นวงจรโทรศัพท์
เป็นการสวิตช์แบบวงจร เมื่อเชื่อมต่อได้แล้วก็ส่งสัญญาณระหว่างกัน ลักษณะการเชื่อมโยงจึงเป็นแบบ
Connection Protocol คือต้องสถาปนาการเชื่อมต่อก่อนจึงจะรับส่งข้อมูลได้ พัฒนามาเป็น
แพคเก็ตสวิตชิ่ง
ที่ใช้ในระบบแลนและแวน ในรุ่นแรกและใช้กันต่อมา ระบบแพคเก็ตสวิตชิ่งมีการรับส่งข้อมูลเป็นชุดที่เรียกว่าแพคเก็ต
ภายในแพคเก็ตมีข้อมูลและแอดเดรสของต้นทางปลายทาง แอดเดรสนี้จึงเป็นที่กำหนดให้รับส่งข้อมูลระหว่างกัน
รูปแบบการส่งจึงมีทั้งแบบที่เรียกว่า Connection Protocol และ Connectionless
Protocol ระบบการับส่งใน LAN เช่น อีเทอร์เน็ต เป็นการส่งโดยไม่ต้องสถาปนาการเชื่อมต่อก่อน
แต่จะส่งข้อมูลได้ ระบบแพคเก็ตมีเวลาหน่วงในการรับส่งได้สูง จึงมีผู้พัฒนาต่อเป็น
เฟรมสวิตช์
หรือเรียกว่าเฟรมรีเลย์ คืออุปกรณ์การสวิตช์ทำการอ่านและส่งข้อมูลทันที ทำให้การส่งข้อมูลเป็นเฟรมทำได้เร็วขึ้น
และรวดเร็วในเรื่องของการรับส่งข้อมูล ปัจจุบันมีวิธีการสวิตช์แบบเซลที่มีความยางคงที่
และให้รูปแบบการรับส่งสวิตช์เป็นแบบ
เซลสวิตชิ่ง
เอทีเอ็ม เป็นระบบที่ใช้เซลสวิตช์ มีการส่งข้อมูลแบบเซล ขนาดของเซลคงที่
53 ไบต์ โดยมีตัวข้อมูล 48 ไบต์ การสวิตช์ที่เฟรมคงที่ทำให้สวิตช์ได้เร็ว
มีช่วงเวลาหน่วงในการสวิตช์ต่ำมาก จนสามารถสวิตช์การทำงานแบบสัญญาณต่อเนื่องได้
การประยุกต์ในรูปแบบข้อมูลมัลติมีเดีย เช่นวิดีโอ จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้
และมีแนวทางที่ชัดเจนมาก เอทีเอ็มจึงเป็นเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนา และเป็นเทคโนโลยที่จะเข้ามามีบทบาทในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โดยเฉพาะในยุคสารสนเทศมัลติมีเดีย
เอทีเอ็มสวิตช์
เน้นการสร้างวงจรจำลอง
จากการที่เอทีเอ็มทำงานได้เร็วมาก ดังนั้นการสวิตช์ของเอทีเอ็มจึงต้องกระทำให้ข้อมูลไหลอย่างต่อเนื่อง
การไหลอย่างต่อเนื่องจำเป็นต้องรู้เส้นทางการทำงานก่อน โปรโตคอลนี้จึงต้องกำหนดเส้นทางและสร้างวงจรเทียมเราเรียกวงจรเทียมว่า
Virtual Circuit วงจรเทียมจึงได้รับการสถาปนาก่อน แต่อย่างไรก็ดี ในการทำงานของเอทีเอ็มมีขั้นตอนการทำงานหลายรูปแบบและหลายชั้น
จึงจัดเลียนแบบการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ
รูปที่ 5
สถาปัตยกรรมของเอทีเอ็ม
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีการแบ่งเป็นชั้น
และวางมาตรฐานการแบ่งชั้นอย่างชัดเจน ระบบชั้นตามมาตรฐานสถาปัตยกรรมแบบเปิด
มีทั้งหมด 7 ชั้น สถาปัตยกรรมของเอทีเอ็มอยู่ในระดับล่าง และเน้นเพียงสองชั้นแรกเพื่อให้กลไกการเชื่อมต่อของเครือข่ายเป็นไปในรูปแบบที่เชื่อมโยงการประยุกต์ได้กว้างขวาง
ลักษณะของเอทีเอ็มเมื่อเทียบกับ OSI หรือมาตรฐานของ ISO ในการเชื่อมต่อกับชั้นบนขึ้นไปนั้น
เอทีเอ็มได้กำหนดการเชื่อมต่อเป็นชั้นที่เรียกว่าอเแดปเตชันเลเยอร์ หรือ AAL
โดยแบ่งเป็นชนิดของ AAL ตั้งแต่ชนิด 1 ถึง 5 โดยแบ่งเป็น AAL1, AAL2, AAL3/4
และ AAL5 โดยเน้นแต่ละการเชื่อมต่อเพื่อใช้ในการประยุกต์ที่ต่างกัน
AAL1
เป็นวิธีการกำหนดให้มีการส่งรับข้อมูลด้วยอัตราคงที่
โดยการจำลองวงจรการเชื่อมโยงระหว่างตัวรับตัวส่ง ข้อมูลที่ส่งมีลักษณะเป็นสายธารได้
การประยุกต์ใช้กับงานประยุกต์ที่มีการส่งสัญญาณแบบจุดไปจุดที่ต่อเนื่อง
AAL2
เป็นวิธีการรับส่งแบบปรับค่าความเร็วของการรับส่งได้ตามที่ต้องการ
โดยเน้นการใช้อัตราความเร็วตามที่ต้องการ จึงนำมาใช้กับการรับส่งสัญญาณเสียงวิดีโอได้
AAL3/4
หรือ AAL5 เป็นการรับส่งที่แบ่งแยกเป็นสองแบบคือ
แบบสถาปนาการเชื่อต่อก่อน และแบบไม่ต้องสถาปนาการเชื่อมต่อ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เช่น
TCP/IP จะส่งผ่านทางส่วนนี้
รูปที่ 6
เนื่องจากเอทีเอ็มดำเนินการอยู่ในระดับล่าง ไม่เกินสองระดับล่าง แต่การใช้งานหลายอย่างต้องเกี่ยวข้องกับระดับการกำหนดเส้นทาง
ซึ่งอยู่ในระดับ 3 ที่เรียกว่า เน็ตเวอร์ก และอาจทำงานให้สูงขึ้นจากระดับ
3 ได้ ดังนั้นผู้ผลิต ATM จึงพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ ของตนเองเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายให้เกิดการทำงานตามลำดับชั้นได้เหมือนเดิม
ในการดำเนินการจึงต้องเชื่อมต่อจากโปรแกรมประยุกต์เข้ามาสู่ระดับล่างได้ ระบบการดำเนินการของซอฟต์แวร์จึงมีการจัดลำดับเป็นชั้น
ๆ จะเห็นว่าด้วยแนวคิดที่ ATM ดำเนินการจากระดับล่างขึ้นมา จึงต้องเชื่อมต่อเข้าสู่ระดับการประยุกต์ได้
การประยุกต์ของเอทีเอ็มเพื่อเข้าทดแทนระดับการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์
จึงต้องใช้ซอฟต์แวร์จำลองการทำงานเพิ่มเติม เช่นในระดับที่สอง ซอฟต์แวร์ช่วยทำให้
ATM จำลองตัวเองเป็นแลนสมมติ หรือ VLAN ส่วนระดับ 3 เป็นระดับการหาเส้นทางหรือที่เรียกว่า
Routing ซึ่งในระดับนี้จะเน้นให้การหาเส้นทางที่เกิดขึ้นในเครือข่ายเป็นไปได้
การกำหนดเส้นทางจึงเป็นฟังก์ชันเดิมของเราเตอร์ที่ช่วยดำเนินการ