ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer User)
แบ่งได้หลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามที่
จะศึกษาโปรแกรมในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้งาน โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ นิยมเรียกผู้ใช้กลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (Power User)
ผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ (Computer Professional)
หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะสามารถ
นำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณสมบัติการใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงได้อีก
นักเขียนโปรแกรม (Programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์เท่านั้น เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ๆ ได้
และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
บุคลากร
เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์
ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปเป็นลักษณะงานได้ ดังต่อไปนี้
การดำเนินการกับเครื่องและอุปกรณืต่างๆ
เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวลผล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม
เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม
(System Programmer) เป็นต้น
การวิเคราะห์และออกแบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล
เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ และออกแบบระบบ (System Analysis and Designer)
วิศวกรรมระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Data
Administrator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์
เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)
เป็นต้น
การบริหารงานในหน่วยประมวลผลข้อมูล
เช่นผู้บริหารศูนย์ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีบุคลากรประภทอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยตรง แต่มีหน้าที่เสริมให้การ
ทำงานสะดวกขึ้น เช่น เจ้าหน้าที่ลงรหัส เจ้าหน้าที่ดูแลสื่อบันทึก เจ้าหน้าที่รับส่งงานประมวลผล เป็นต้น
|