หน้าแรก ประวัติ วีรกรรม ภารกิจ สิ่งที่น่าสนใจ สมุดเยี่ยม

วีรกรรม ๘ ธ.ค. ๒๔๘๔
                สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ วันที่ ๘ ธ.ค. ๒๔๘๔ เวลาประมาณ ๐๔๐๐ น. กองทัพเรือญี่ปุ่นซึ่งมีกำลัง ๑ กรมผสม พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยเต็มกำลังรบ ได้ลำเลียงกำลังพลจากเรือรบ ซึ่งจอดแอบอยู่ด้านหลังเขาล้อมหมวก ติดกองบินน้อยที่ ๕ (กองบิน ๕๓ กองพลบินที่ ๔ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ ในปัจจุบัน) ยกพลขึ้นบกที่บริเวณตัวเมืองประจวบ และกองบินน้อยที่ ๕ เพื่อเป็นเส้นทางเดินทัพผ่านเข้าประเทศพม่าทางช่องทางด่านสิงขร และได้ปะทะกับกองกำลังทหารอากาศ กองบินน้อยที่ ๕ อย่างดุเดือด เป็นเวลาเกือบ ๓๓ ชั่วโมง ถึงขั้นตะลุมบอนประชิดตัว รัฐบาลไทยยในสมัยนั้นได้เจรจาตกลงกับบรัฐบาลญี่ปุ่น จับมือเป็นพันธมิตรกัน และได้มีคำสั่งให้นนักรบผู้กล้าหาญทั้งหลาย    ซึ่งประกอบด้วย ทหารอากาศกองบินน้อยที่ ๕ ข้าราชการตำรวจ พลเรือนและพี่น้องชาวประจวบ ยุติการสู้รบ

            ฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งมีกำลังมากกว่าฝ่ายเราประมาณ ๑๐ เท่า เสียชีวิตที่สนามรบ บริเวณกองบินน้อยที่ ๕ ประมาณ ๔๐๐ กว่าคน ในขณะที่ฝ่ายเราเสียชีวิต เท่าที่ทราบจำนวน เป็นทหารอากาศ ๓๘ คนข้าราชการตำรวจ ๑๕ คน ยุวชนทหาร ๑ คน ครอบครัว ๒ คนและประชาชนชาวจังหวัดประจวบอีกจำนวนหนึ่ง

            เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติประวัติแห่งการต่อสู้อันกล้าหาญ ของนักรบแห่งกองบินน้อยที่ ๕ ซึ่งยอมสละชีวิตเป็นชาติพลีปกป้องผืนแผ่นดินไทย ทางราชการจึงได้สร้างอนุสาวรีย์ วีรกรรม ๘ ธ.ค. ๒๔๘๔ ประดิษฐาน ณ บริเวณที่ตั้งกองบินน้อยที่ ๕ โดยสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๓ และกองทัพอากาศได้พัฒนาปรับปรุงให้มีความสง่างามยิ่งขึ้นในพื้นที่เดิม เสร็จเรียบร้อยเมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๒ โดยมี ผบ.ทอ. เป็นประธานประกอบพิธีเปิด อนุสาวรีย์ พร้อมทั้งได้ประกอบพิธีบรรจุอัฐิวีรชน ซึ่งอัญเชิญมาจากอนุสาวรีย์ ทอ. ในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย และในวันที่ ๘ ธันวาคมของทุกปี ทางราชการกองทัพอากาศ ได้กำหนดให้ประกอบพิธีวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ วีรกรรม ๘ ธ.ค. ๒๔๘๔ และบำเพ็ญกุศลแด่วีรชนที่ล่วงลับไปแล้ว

 
รายชื่อผู้เสียชีวิต ๘ ธ.ค. ๒๔๘๔
     ข้าราชการทหารอากาศ
ร.ท.พรม  ชูวงศ์
ร.ท.ทบ  แก้วมรกฏ
ร.ท.จำเนียร  วารียกุล
ร.ท.สถิตย์  โลหิตโยธิน
ร.ท.นาค  ปานยิ้ม
ร.ท.ดาบ  สมจิตร
ร.ท.บุญมั่น  สิโลปมา
ร.ต.หาญ  เจริญสัตย์
ร.ต.สถาน  วัฒนกุล
ร.ต.นรชาติ  ศิริโสภา
ร.ต.มณฑล  บุษยกนิษฐ์
ร.ต.ก่อเกื้อ  ยอดมิ่ง
ร.ต.บุญเชิด  จรรยาพงษ์
พ.อ.อ.เอื้อน  คีรีศรี
พ.อ.อ.เชย  สาดสาร
พ.อ.อ.พงษ์  คงกลิ่น
พ.อ.อ.ครอง  เกตุทอง
พ.อ.อ.ผิว  เทียนถม
พ.อ.อ.ชู  แก้วอ่วม
พ.อ.อ.ไสว  หยงเฮง
พ.อ.อ.เซ้ง  แซ่ห่อ
พ.อ.อ.เอื่อน  เจริญยศ
พ.อ.อ.พิว  นาเมือง

 

พ.อ.อ.จอเซียว  รบอาจ
พ.อ.อ.พูล  แก้วมรกฏ
พ.อ.อ.กง  อยู่คง
พ.อ.อ.หย่อน  ไกรสี
พ.อ.อ.สะอิ้ง  ทองสุข
พ.อ.อ.ย้อย  ชูชื่น
พ.อ.อ.จรูญ  จาบทอง
พ.อ.อ.ไสว  เกิดมั้ง
พ.อ.อ.สนิท  นิลงาม
พ.อ.อ.ประสิทธิ์  สุขประไพ
พ.อ.อ.ผล  ห่วงมาก
พ.อ.อ.อิ้น  เจริญจิตต์
พ.อ.อ.มณี  นาคพวง
พ.อ.อ.ช่อ  หนูสุวรรณ
พ.อ.อ.สมบุญ  แซ้ซึ้ง
พ.อ.อ.บุญยิ่ง  ศิริเสถียร  (ยุวชนทหาร)

      ครอบครัวทหารอากาศ
คุณพรรณี  วัฒนางกูร  (ภริยา ร.อ.เฉลิมเกียรติ   วัฒนางกูร ยศในขณะนั้น)
คุณทองม้วน  จงรักษ์  (คนรับใช้)

      ข้าราชการตำรวจ(ที่ปรากฏนาม)
ร.ต.อ.สงบ  ภุมมรานนท์