หน้าแรก ประวัติ วีรกรรม ภารกิจ สิ่งที่น่าสนใจ สมุดเยี่ยม

ความเป็นมาของ บ.จธ.๒

           นับตั้งแต่วันเสียงปืนแตก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นต้นมาประเทศไทยต้องประสพกับภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิตส์ในประเทศไทยและการแทรกซึมบ่อนทำลายตามแนวชายแดนจากกองกำลังติดอาวุธของต่างชาต ิรัฐบาลจำต้องกำหนดนโยบายและวางมาตรการในการปราบปรามการก่อความไม่สงบต่างๆนี้อย่างเปิดเผยโดยใช้กำลังทหารจากเหล่าทัพต่างๆและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประสานการปฏิบัติร่วมกัน   เมื่อสถานการณ์รุนแรงขึ้นเป็นลำดับกองทัพอากาศได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการใช้กำลังทางอากาศเพื่อปฏิบัติภารกิจสนับสนุนหน่วยกำลังภาคพื้นดินปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิตส์ โดยเฉพาะภารกิจสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด (Close Air Support) ต่อหน่วยภาคพื้นดิน ในการนี้กองทัพอากาศได้ทำการพิจารณาคัดเลือก และจัดหา บ.ที่เหมาะสมกับภารกิจดังกล่าวเข้าประจำการ โดยต้องมีคุณลักษณะพิเศษหลายประการ อาทิ เช่น ต้องเป็น บ. ที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้หลายอย่างทั้งการโจมตีทางอากาศ สนับสนุนภาคพื้นดิน การบินคุ้มกัน การบินลาดตระเวณทางอากาศ การควบคุมการโจมตีทางอากาศ การถ่ายภาพทางอากาศและการปฏิบัติการจิตวิทยาทางอากาศ(การทิ้งใบปลิวและการกระจายเสียง) นอกจากนั้นยังต้องสามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั้งกลางวันและกลางคืน สามารถบินอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานาน การซ่อมบำรุงไม่ยุ่งยากและมีความต้องการด้านบริภัณฑ์ภาคพื้นน้อย โดย บ. มีค่าใช้จ่ายความสิ้นเปลืองต่อ ช.ม.บิน ต่ำ จนในที่สุดกองทัพอากาศได้เลือก บ.แบบ Peacemaker (AU-23A) ของบริษัท Fairchild บรรจุเข้าประจำการใน กองบิน ๒ ฝูงบิน ๒๒ ฐานบินโคกกระเทียม เมือ่ พ.ศ. ๒๕๑๕ และมีการจัดหาเพิ่มเติมจนครบ ๓๓ เครื่อง ในปีพ.ศ. ๒๕๑๙ โดยได้รับชื่ออย่างเป็นทางการว่า "บ.จธ.๒" ซึ่งเป็น บ.ที่สามารถปฏิบัติภารกิจตอบสนองวัตถุประสงค์ของทางราชการได้อย่างครบถ้วนโดยแท้และไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยว่าจะมี บ. แบบใดในกองทัพอากาศที่ถูกกำหนดภารกิจขึ้นก่อนที่จะมีการจัดหาเขาประจำการ เหมือนดังเช่น "บ.จธ.๒" Peacemaker
          ๒๑ ธ.ค. ๒๕๑๕ เป็นวันแรกที่ บ.จธ.๒ จำนวน ๔ เครื่องบินเดินทางมาลงอย่างเป็นทางการณ.ฐานบินโคกกระเทียม เพื่อบรรจุเข้าประจำการใน ฝูงบิน ๒๒ โดยมี ร.อ.ถาวร   บุรีรัตน์ เป็นหัวหน้าหมู่บิน
                เม.ย. ๒๕๓๓ กองทัพอากาศได้ย้ายโอน บ.จธ.๒ จำนวน ๑๒ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ จากกองบิน ๒ ให้กับกองบิน ๕๓ เพื่อทดแทน บ.ต.๒
(O-1A) ที่ปลดประจำการ                 
                พ.ศ.๒๕๓๘ กองทัพอากาศได้ย้ายโอน บ.จธ.๒ ทั้งหมด ตามโครงการปรับการวางกำลังของ ทอ.ให้กับ กองบิน ๕๓
                จนกระทั่งปัจจุบัน บ.จธ.๒ ก็ยังคงปฏิบัติภารกิจอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องโดยไม่หวั่นต่อความยากลำบากใดๆ และเราชาว
Peacemaker ทุกคนขอยืนยันว่าจะปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถที่เราสามารถทำได้



สมรรถนะ บ.จธ.๒ (AU-23A Peacemaker)
       ประเภท         โจมตี-ธุรการ ๒ ที่นั่งเคียงกัน
       ผู้สร้าง           บริษัท Fairchild
       มิติ               กางปีก ๔๙.๘๓ ฟุต  สูง ๑๐.๕ ฟุต
                          แพนหางระดับ ๑๖.๘ ฟุต  ยาว ๓๕.๗๕ ฟุต
       เครื่องยนต์      Turboprop Garrette TPE 331-1-101F
                        จำนวน ๑ เครื่องยนต์ กำลังขับ ๖๖๕ แรงม้า
                       อัตราเร็วสูงสุด           ๑๕๑ ไมล์/ชั่วโมง
                       อัตราเร็วเดินทาง       ๑๑๐ - ๑๒๐ ไมล์/ชั่วโมง
                       นน.ตัวปล่าว              ๓๖๘๐ ปอนด์
                       นน.รวมสูงสุด           ๖๑๐๐ ปอนด์
                       นน.บรรทุกอาวุธ       ๑๒๒๕ ปอนด์
                       พิสัยบิน                     ๓๕๐ ไมล์
                       เพดานบิน                  ๒๖,๔๐๐ ฟุต
                       บินได้นาน                 ๔ ชั่วโมง
                       อาวุธที่ใช้                   ปืนใหญ่อากาศขนาด ๒๐ มม.
                                                        ปืนกลอากาศขนาด ๐.๕๐ นิ้ว
                                                       จรวด ๒.๗๕ นิ้ว ๒๘ นัด
                                                       พลุส่องสว่าง ๑๖ นัด
                                                       เครื่องกระจายเสียงขนาด ๑๐๐๐ วัตต์
 



สิงห์ร้ายชายแดน
            นับตั้งแต่บรรจุเข้าประจำการ จนถึงทุกวันนี้ เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า Peacemaker ปฏิบัติภารกิจ อย่างได้ผลสำเร็จคุ้มค่าตลอดมา ได้รับคำชมเชย จากหน่วยข้างเคียง ที่ปฏิบัติราชการร่วมกันอยู่เสมอ และเป็นที่หวั่นเกรงของอริราชศัตรู ทั้งผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิตส์ หรือโจรจีนคอมมิวนิตส์ หรือแม้กระทั่ง กองกำลังต่างชาติที่รุกลำอธิปไตย ตามแนวชายแดนประเทศไทย จากากรบที่ผ่านมา Peacemaker หรือในนามของ สิงห์ร้ายชายแดน ได้สร้างเกียรติประวัติ และวีรกรรมไว้อย่างห้าวหาญ โดยเข้าร่วมรบ เคียงบ่าเคียงไหล่ กับกำลังภาคพื้นทุกครั้งที่ได้รับการร้องขอ ในสมรภูมิสำคัญครั้งแล้วครั้งเล่า ทั่วทุก ภูมิภาคของประเทศ อาทิ เช่น

          สมรภูมิหินร่องกล้า เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ปี ๒๕๑๗ - ๒๕๒๕
          ยุทธภูมิห้วยโกร๋น ทุ่งช้าง จ.น่าน ปี ๒๕๒๑
           ผาจิ ผาวัว จ.น่าน ปี ๒๕๒๕
            ผาตั้ง จ.เชียงราย ปี ๒๕๒๒ - ๒๕๒๔
           ยุทธภูมิกุงชิง เขาช่องช้าง จ.นครศรีธรรมราช ปี ๒๕๒๓ - ๒๕๒๕
           บ้านโนหมากมุ่น จ.ปราจีนบุรี ปี ๒๕๒๓
           ยุทธการสุริยพงศ์ ๑,๒,๓,๔ จ.น่าน ปี ๒๕๒๖ - ๒๕๒๗

           การปักหลักเขตชายแดนไทย - มาเลเซีย ปี ๒๕๒๖ - ๒๕๒๘
          ยุทธการบ้านชำราก,บ้านสุขสันต์ จ.ตราด ปี ๒๕๒๘
           ยุทธการบ้านร่มเกล้า อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก ปี ๒๕๓๑

 

เกียรติประวัตินักรบ บ.จธ.๒
ประกาศหน่วยรบเฉพาะกิจกองพลที่ ๔ 
แจ้งความกองทัพอากาศ
แจ้งความกองทัพภาคที่สามส่วนหน้า
ชมเชยการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ทอ.
ลง ๑๕ ก.ย. ๑๘
ลง ๑๙ ส.ค. ๒๔
ลง ๓ ก.ย. ๒๔
ลง ๑ ก.ค. ๒๘
โดย พลตรีสีมา   ปาณิกบุตร
โดย พลอากาศเอกอัมพร  คอนดี
โดย พลตรีเทียบ   กรมสุริศักดิ์
โดย พลเรือโทประเสริฐ   น้อยคำศิริ

กองบินกับประชาชน
        หลังจากสิ้นยุคสงครามเย็นสถานการณ์การสู้รบโดยใช้กำลังทหารอย่างเต็นรูปแบบ ได้ลดลงจนแทบจะหมดไป กองบิน ๕๓ ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยกำลังรบหลักของกองทัพอากาศ ได้ปรับภารกิจมาร่วมพัฒนาประเทศ และช่วยเหลือประชาชน ให้มากขึ้น โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น จัดเครื่องบินเข้าร่วมปฏิบัติการฝนหลวงตามโครงการพระราชดำริ กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร การบินถ่ายภาพทางอากาศเพื่อวางแผนการแก้ปัญหาจราจร หรือปฏิบัติการอื่นใดที่จะเป็นการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวไทย ให้ได้รับความสะดวกสบาย หรือได้รับความยากลำบากให้น้อยที่สุด นอกจากากรใช้กำลังทางอากาศเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนแล้ว กองบิน ๕๓ ยังได้จัดกำลังภาคพื้นโดยมีกำลังอากาศโยธินเป็นหลักร่วมกับข้าราชการของกองบิน ๕๓ ทุกหน่วย เข้าช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทุกครั้งที่ได้รับทราบ ว่ามีความเดือดร้อนเกิดขึ้นหรือได้รับการร้องขอ เช่นช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย จัดหน่วยปฏิบัตการจิตวิทยาออกบริการพี่น้องประชาชนในพื้นที่ทุรกันดารรอบๆฐานบิน และยังมีภารกิจอื่นที่มิได้กล่าวถึงอีกมากมาย    หากท่านใดต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานกิจการพลเรือนกองบิน ๕๓

        ในรัศมี ๑๖ กิโลเมตร รอบกองบินเป็นพื้นที่เป้าหมายหลัก ของกองบินในการเข้าถึงพี่น้องประชาชน แต่กองบิน ๕๓ มิได้หยุดนิ่งเพียงแค่นั้น หากในพื้นที่ใดที่ได้รับความเดือดร้อนและกองบิน ๕๓ มีขีดความสามารถในการให้ความช่วยเหลือได้แล้ว จะไม่มีการรีรอจากกองบิน ๕๓ เป็นอันขาด ข้าราชการกองบิน ๕๓ ทุกคน พร้อมจะให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องประชาชนที่ไดรับความเดือดร้อน อย่างเต็มความสามารถ ดังจะเห็นได้จากการเกิด วาตภัยพายุเกย์ ในพื้นที่ตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดชุมพร การเกิดอุทกภัยในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กองบิน ๕๓ ได้จัดกำลังพล พร้อมทั้งอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างเข้าร่วมกับหน่วยราชการอื่นๆ เข้าช่วยเหลือพี่น้องประชาชน อย่างเต็มที่

        ในภาวะปกติ กองบิน ๕๓ ก็มิได้หยุดนิ่งในการเข้าถึงพี่น้องประชาชน ด้วยการจัดหน่วยปฏิบัติการจิตวิทยาออกช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ต่างๆ ตามวงรอบเวลาที่เหมาะสม โดยสม่ำเสมอ ซึ่งบางครั้งเป็นการจัดหน่วยออกไปร่วมกับจังหวัดในการให้บริการพี่น้องประชาชน บางครั้งเป็นหน่วยมิตรประชา ทอ. จากส่วนกลางมาร่วมกับหน่วยในพื้นที่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นครั้งใด ล้วมแต่ได้รับการต้อนรับจากพี่น้องประชาชนเป็นอย่างดียิ่ง
        ภายในที่ตั้งของกองบิน ๕๓ ยังมีโรงพยาบาลกองบิน ซึ่งมีแพทย์ พยาบาล และบุคคลากรต่าง ที่พร้อมให้บริการแก่พี่น้องประชาชนด้วยความเต็มใจ นอกจากนั้น แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยังอยู่ในกองบิน ๕๓ นั่นคืออ่าวมะนาว ที่พร้อมต้อนรับ พี่น้องประชาชนทุกท่าน ที่ต้องการเข้ามาเยี่ยมชม