sub06.gif (6946 bytes)
          ทรงพระเจริญ
     His Majesty Long
      Live The King

                           อาเศียรวาทราชจักรีวงศ์
โคลงสี่สุภาพ 
พระหัตถ์พระแผ่อุ้ม   โอบไทย
                พระเนตรส่องสุขไกล    ทั่วถ้วน
                พระโสต ธ สดับใน        สรรพทุกข์ สุขแฮ  

                พระหทัยดำริล้วน          ราษฎร์ซ้องสุขเกษม

                                  ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม  ขอเดชะ
                                                    ข้าพระพุทธเจ้า
                                        นายวิธันว์   ศรีเมือง  (ประพันธ์ )

สดุดี 3 กวีเอก
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่
UNESCO ประกาศ
      ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก

sub09.jpg (2087 bytes)  sub07.jpg (1642 bytes)  sub11.jpg (1575 bytes) http://www.oocities.org/poetichome

[home][ร้อยกรองไทย][คุยกันฉันท์คนชอบกลอน][สมัครสมาชิก][เกี่ยวกับผู้จัดทำ]

Welcome to my web site ยินดีต้อนรับสู่บ้านสานฝัน สร้างสรรค์บทกวีไทย

 

                        
                               
sub07.jpg (48828 bytes)         
     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
                              (พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๖๘)
@ พระผู้ทรงเป็นกษัตริย์นักรบและนักปราชญ์
@ พระผู้ทรงก่อกำเนิดแสนยานุภาพกองทัพไทย
@ พระผู้ทรงนำทัพไทยสู่สงครามโลกครั้งที่ ๑
         จนประสบชัยชนะร่วมกับกองทัพฝ่ายพันธมิตร
@ พระผู้ทรงให้กำเนิดธงไตรรงค์
@ พระผู้ทรงให้กำเนิดเสือป่าและลูกเสือไทย
@ พระผู้ทรงให้กำเนิด พรบ. โรงเรียนราษฎร์และ
        พรบ.การประถมศึกษา
@ พระผู้ทรงให้กำเนิดนามสกุล   และคำนำหน้าสตรีไทย
@ พระผู้ทรงให้กำเนิดการชลประทาน  การออมสินและการสหกรณ์
@ พระผู้ทรงให้กำเนิดดุสิตธานี ต้นแบบการปกครอง
        แบบประชาธิปไตย์
@ พระผู้ทรงเป็นกวี ทรงให้กำเนิดกรมศิลปากร และวรรณคดีสโมสร
@ พระผู้ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญานาม 
        จากปวงชนชาวไทยว่า
พระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
เอกสารอ้างอิง
       -   พระมหาธีรราชเจ้าราชสดุดี         โดย มหาวิทยาลัยศิลปากร
       -  พระราชประวัติ ๙ รัชกาล              โดย   สุภา  พื้นนาค
       -  วันสำคัญของไทย                         โดย ธนากิต
พระราชประวัติย่อ
               พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า
อยู่หัวทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูก
ยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงเป็นพระราชโอรส
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสม เด็จพระ ศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม
พ.ศ. ๒๔๒๓ 
                เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้
๘ พรรษา ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมขุนเทพ
ทวาราวดี และได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จ
พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร
อันเป็นตำแหน่งรัชทายาทสืบแทน สมเด็จ
พระบรมราชเจ้ามหาวชิรุณหิศ  ผู้เป็นพระ
เชษฐาธิราช ซึ่งสิ้นพระชนม์ไปก่อน
              พระองค์ได้ทรงศึกษาภาษาไทยจน
รอบรู้แล้วจืงได้เสด็จไปศึกษาภาษาอังกฤษ
วิชาประวัติศาสตร์รัฐศาสตร์  เศรษฐศาสตร์
และภูมิศาสตร ์วิชาทหารบก วิชาทหารปืน
ใหญ่  และการช่างทหาร จากประเทศอังกฤษ
นานถึง ๙ ปี จนพระปรีชาสามารถ ทั้งในด้าน
ทฤษฎีและปฎิบัติเป็นอย่างดี  จนกระทั่งพระ
ชนมายุได้ ๒๒ พรรษา จึงเสด็จกลับประเทศไทย
              ในระหว่างที่เสด็จกลับประเทศไทย
ได้ทรงเสด็จเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา
และญี่ปุ่น  เพื่อทอดพระเนตรแบบแผน
ปกครอง การบริหารประเทศชาติบ้านเมือง
จากประเทศทั้ง ๒  ซึ่งได้รับการยอมรับจาก
ประเทศทั่วโลกในขณะนั้น ว่าเป็นประเทศ
มหาอำนาจการเสด็จครั้งนื้นับว่าเป็น
พระมหากษัตริยไทยพระองค์แรกที่ได้
เสด็จประพาสรอบโลก
            ต่อมาในวันที่  ๒๙  มกราคม
พ.ศ. ๒๔๔๕พระบาทสมเด็จพระจุล
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รับราชการ
ในกองทัพบก ตำแหน่งทรงบัญชาการทหาร
มหาดเล็กและได้รับพระราชทานยศเป็น
นายพลเอกราชองครักษ์
ครั้นถืงวัน ที่ ๒๓  ตุลาคม ปี ๒๔๕๓
ขณะทรงมีพระชนมายุไค้ ๓๐ พรรษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จสวรรคต พระองค์จืงเสด็จขื้นครองราช
สมบัติสืบต่อมา ทรงมีพระปรมาภิไธยย่อว่า 
พระบาทสมเค็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเปันพระมหา
กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
             พระองค์ทรงครองราชสมบัตินาน
๑๖ ปี ได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่  ๒๕ พฤศจิ
กายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา
ทรงมีเพียงพระราชธิดาองค์เดียว
เท่านั้นคือ  สมเค็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา
สิริโสภาพรรณวดี ซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระ
นางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี  
              ตลอดพระชนชีพของพระองค์ได้ทรง
บำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันใหญ่หลวงให้กับ
แผ่นดินไทยเป็นอเนกประการ อาทิ.-

การปกครอง
             ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัว้ได้มีการปรับปรุงการปกครอง
ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเพิ่มเติม  ดังนื้
             การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง
              ก. ตั้งกระทรวงทหารเรือ โดยแยก
กรมทหารเรือ ออกกระทรวง
กลาโหม 
              ข.  ตั้งกระทรวงมุรธาธร 
              ค.  ตั้งสภาเผยแพร่พาณิชย์ ต่อมา
เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงพาณิชย์
              ง.  ตั้งกรมศิลปากร
              จ.   ปรับปรุงราชการในกระทรวง
โยธาธิการแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น
กระทรวงคมนาคม
              ฉ. โอนกรมธรรมการไปขึ้นกระทรวง
วังแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวง
ศึกษาธิการ
               ช. รวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระ
ทรวงมหาดไทย
               
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
                 ก. รวมมณฑลเข้าด้วยกันเป็นภาค
แต่ละภาคมีอุปราชทำหน้าที่
ตรวจตรา เหนือสมุหเทศาภิบาล
ในภาคนั้นๆ  และยังทำหน้าที่เป็น
สมุหเทศาภิบาลประจำมณฑล
ทั้งสองตำแหน่งนื้   ขึ้นตรงต่อพระ
มหากษัตริ ์เพื่อความเรียบร้อย
และรวดเร็วในการบริหาร
                ข. ถือว่ากรุงเทพเป็นมณฑล  ๆ  หนี่ง
มีสมุหพระนครบาลเป็นหัวหน้า
ขึ้นตรงต่อมหาดไทย
                ค.  เปลี่ยนจากการเรียกชื่อเมือง
มาเป็นจังหวัค
        นอกจากนี้ ให้มีระเบียบต่อชายฉกรรจ์
ทุกคนที่ต้องเป็นทหาร  ซึ่งแต่เคิมสมัยกรุงศรี
อยุธยาในยามปกติต้องเข้าเวรรับราช การปีละ ๖
เดือนและเปลี่ยนเป็นเข้ารับราชการ ๔ เดือน
ในสมัยกรุงธนบุรี  และลคลงเหลือ  ๓ เดือน
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์   สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการ
เป็นทหารสามารถใช้เงินแทนไดั เรียกว่าเงินค่า
ราชการหรือเงินส่วย ให้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นเงิน
รัชชูปการ โคยกำหนคเก็บจากชายฉกรรจ์ ที่มี
อายุตั้งแต่   ๑๘- ๖๐ ปี รวมทั้งข้าราชการด้วย
ยกเว้นทหาร ตำรวจ กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน พระภิกษุ
สามเณรและผูพิการ
                 หลังจากประกาศใช้ประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ปี  พ.ศ. ๒๔๖๘  ได้เปลี่ยนจาก
การเก็บเงินค่าราชการจากชายฉกรรจ์ ๑๘-๖๐ ปี
เป็น อายุ ๓๐ -๖๐ ปี และการเก็บเงินรัชชูปการ
นื้เลิกไป โดยเปลี่ยนเป็นการเรียกเก็บภาษี
อย่างอื่นแทน

กุศโลบายด้านการปกครอง

กำเนิดเสือป่าและลูกเสือไทย เมืองประชา
ธิปไตย์ดุสิตธานี
                 จากประสบการณ์ที่ทรงศึกษา
และดูงานในประเทศอังกฤษเป็นเวลานาน
ให้ทรงมีพระราชดำริ ในการระดมพลังมวลชน
ไว้เป็นกำลังสำคัญของแผ่นดิน จึงทรงให้
จัดตั้งกองเสือป่าขึ้น เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๔๕๔ และในอีก ๒ เดือนถัดมา
ก็ทรงให้ จัดตั้งกองลูกเสือไทยขึ้น เมื่อ
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๔ นับเป็นประเทศ
ที่ ๓ ของโลกถัดจากอังกฤษ และอเมริกา
           เริ่มปีราชกิจครั้ง       สำคัญ
     เสือป่าลูกเสือสรรค์          เร่งสร้าง
     คือกองทัพประชาอัน       อบอุ่น
     สัมฤทธิ์ผลิตผลกว้าง       แผ่พ้นพรรณนา
             (ลิลิตเฉลิมพระเกียรติ์ฯ   -  วิธันว์)
        
 นอกจากนี้เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน
การปกครองในระบอบประชาธิปไตย์ ทรงให้
สร้างเมืองจำลองขึ้นชื่อว่าดุสิตธานี เพื่อ
ใช้ผึกหัดการปกครองแบบประชาธิปไตย์
           ทรงสานทรงสืบสร้าง     เสรี
      โดยพระชนกาธิบดี             ท่านไท้
       ปูทางแห่งวิธี                     อธิปัตย์ ไว้เฮย
       สร้างดุสิตธานีให้               หัดรู้แนวทางฯ
              (ลิลิตเฉลิมพระเกียรติ์ฯ   -  วิธันว์)

การศึกษา
         เดิมการประถมศึกษาของไทยอาศัยบ้าน
วัด วัง เป็นสถานศึกษา มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  ๕ ทรง
ริเริ่มวางรากฐานการประถมศึกษาของไทยขื้น
โดยได้จัดตั้งโรงเรียนแห่งแรกขื้น ในพระบรม
มหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ และขยายการ
ศึกษาต่อไปตามหัวเมืองต่างๆ
             ต่อมาเมึ่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเสวยราชสมบัติ  พระองค์
ได้ทรงรับภารกิจเกี่ยวกับการจัดการศึกษา
สืบเนื่องจากพระราชบิดา ทรงยกฐานะ
โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกลาเจ้าอยู่หัว ที่ทรงสร้าง
ในปี พ.ศ.๒๔๕๓ ขื้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหา
วิทยาลัย 
           ทรงให้จัดสร้างโรงเรียนเพาะช่างขื้น
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖จัดตั้งโรงเรียนเบญจม
ราชาลัย เพื่อฝึกหัดครูในปีเดียวกันนั้น
ทรงตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นประถมในปี พ.ศ.
๒๔๖๐ ทรงตั้งโรงเรียนพาณิชยการ
เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕
           ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ทรงตราพระราช
บัญญัตีโรงเรียนราษฎร์ขื้น เพื่อบังคับให้เป็น
ระเบียบเรียบร้อย และเพื่อให้เด็กทุกคนรู้
หนังสือ  จึงทรงตราพระราชบัญญัติ
ประถมศึกษาออกบังคับเป็นเขต ๆไป  
          ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๔  ซึ่งเริ่มการศึกษา
ภาคบังคับขึ้นครั้งแรก  โดยบังคับให้เด็กที่มี
อายุ ๗-๑๔ ปีบริบูรณ์ เรียนหนังสืออยู่ใน
โรงเรียนโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน
            นอกจากนี้ยังทรงตั้งโรงเรียนประชาบาล
ขื้นตามท้องที่ในอำเภอ  ตำบลต่าง ๆ โดยให้
กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ดูแล การประถม
ศึกษาของไทยได้เจริญรุดหน้าไปตามลำดับ
 
การศาสนา  
              ก.  ทรงให้ ชำระและจัคพิมพ์พระ
อรรกถาพระวินัยปิฎก พระอรรถกาพระอภิ
ธรรมปิฎกพระสุตตันตปิฎก (บางคัมภีร์ )
เพื่ออุทิศพระราชกุศลแด่สมเค็จพระศรี
พัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง
(พระราชมารคา) ซึ่งเสค็จสวรรคต 
              ข.  ทรงให้พิมพ์พระอรรถกถา
พระสุตตันติปิฎกจนจบ  พระราชทานในพระ
ราชอาณาจักร ๒๐๐ จบและในนานา
ประเทศ ๔๐๐ จบ                                                                       
              ค.  จากการที่ทรงผนวชนานถึง
๓ เดือน จึงทรงพระปรีชานิพนธ์หนังสือ
ที่เกี่ยวกับธรรมะขื้นไว้เป็นจำนวนมาก
เช่น พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เทศนาเสือป่า
พระบรมราโชวาท ประโยชน์ของการ
อยู่ในธรรม  และบทสวดต่าง ๆ
              ง. ทรงจัคระเบียบ พิธีการ
สวคมนต์สำหรับทหารเสือป่า นักเรียน
และลูกเสือ ทรงพระราชอุตสาหะสั่งสอน
ธรรมะแก่ทหาร เสือป่า  ข้าราชการ ลูกเสือ
และนักเรียนค้วยพระองค์เอง   
              ฉ. ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนหนึ่ง
เพื่อนำไปปฎิสังขรณ์วัด ที่ชำรุคทรุดโทรม
เป็นประจำทุกปี เรียกเงินนื้ว่าเงินพระราช
อุทิศสำหรับวัค   ไม่มีการสร้างวัดในรัชกาลนี้
เพราะทรงมีพระราชคำริว่าวัดมีมากอยู่แล้ว
ควรที่จะบูรณะของที่มีอยู่แล้วให้ดีขื้น
และทรงให้มีการสร้างเป็นโรงเรียนแทน
การสร้างวัด

วัฒนธรรม ประเพณี และวรรณคดี
 ๑. วัฒนธรรมและประเพณี
            ก.  ใช้พุทธศักราช เป็นศักราช
ในราชการแทนของเดิมในรัชกาลที่ ๕
ที่ใช้ ร.ศ. เป็นศักราช ซึ่งมีความยุ่งยาก
ในการคำนวนนับ ของใหม่เริ่มการขื้น
ปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน ตามทางสุริยคติ
ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๕๖  เป็นต้นมา
            ข.   ตราพระราชบัญญัตินามสกุล
ขึ้นใช้เพราะทรงเห็นว่า มีประโยชน์ต่อการ
กำหนคเรียกชื่อบุคคลให้ถูกต้องไม่ผิค
พลาค ช่วยสร้างความสามัคคีในผู้ร่วม
สกุลเคียวกัน  และเป็นการผูกมัดคนให้
ประพฤติในสิ่งที่คีงาม เพื่อรักษาชื่อเสียง
ของวงศ์สกุล  เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๔๖๕
             ค.   กำหนคคำนำหน้าสตรี ว่านาง
สาวผู้ที่มีสามี ใช้คำว่านาง ผู้ชายให้คำนำ
หน้าว่านายเด็กให้ใช้คำว่าเด็กชาย  หรือ
เด็กหญิง ส่วนคำนำหน้านามสตรีที่มี
บรรดาศักดิ์ ใช้คำว่าคุณหญิงหรือ
ท่านผู้หญิง
              ง.  เปลี่ยนแปลงการนับเวลา
ซึ่งเคิมกลางวันใช้คำว่าโมง  กลางคืน
ใช้คำว่าทุ่ม ให้เปลี่ยนเป็นนาฬิกา และ
โปรคให้เปลี่ยนการนับเวลาใหม่ โดยถือ
เวลาหลังเที่ยงคืนเป็นเวลาที่เปลี่ยนวันใหม่ 
           นอกจากนื้ยังให์ไช้เวลามาตรฐาน
ตามเวลาที่ตำบลกรีนิชประเทศอังกฤษ
ซึ่งเวลาในประเทศไทยจะเร็วกว่าเวลา
กรีนิช  ๗ ชั่วโมง 
               จ.  ร่างกฎมญเทียรบาลว่าด้วยการสืบ
ราชสันตติวงศ์ โดยกฎมญเทียรบาลนื้ มีราย
ละเอียคในการจัดลำดับชั้นของผู้ที่สมควร
ได้รับพระราชสมบัตี ไว้หลายประการ เป็นต้นว่า
กำหนดให้   เลือกในสายตรงก่อนเสมอ  คือ
สมเด็จพระบรมราชโอรสรพระองค์ใหญ่
ซึ่งประสูติแต่สมเด็จพระอัครมเหสี  เป็นต้น
              ฉ. มีเปลี่ยนแปลงการแต่งกายสตรี
โดยสตรีไทยเริ่มไว้ผมยาวหรือไว้ผมบ๊อบ
แบบชาวตะวันตกมากขื้น และเริ่มนุ่งผ้าถุง
แทนโจงกระเบน
              ช.  เลิกประเพณีโห่ฮิ้ว ให้ใช้ไชโยแทน
กวีและวรรณคดี
              พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า
อยู่หัวนอกจากทรงเป็นนักปกครองแล้ว ยัง
ทรงเป็นมหาปราชญ์ทางด้านอักษรศาสตร์
อีกด้วย ตามที่ชาวประชาทั้งปวง ทูลเกล้า
ถวายพระสมัญญาว่าสมเด็จพระมหาธีร
ราชเจ้า  
             นอกจากจะทรงพระราชนิพนธ์
หนังสือวรรณกรรม ทั้งร้อยแก้วและร้อย
กรองไว้เป็นจำนวนมามากแล้ว ยังทรง
พระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตั้งวรรณคคี
สโมสรขึ้น เพื่อส่งเสริมการกวี ของสยาม
ประเทศ ให้รุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารย
ประเทศ ดังโคลงพระราชนิพนธ์บทหนึ่ง
ที่ทรงไว้ว่า
           นานาประเทศล้วน          นับถือ
      คนที่รู้หนังสือ                       แต่งได้
      คนไป่รู้หนังสือคือ                คนป่า
      คนเยาะกวีไซร้                    แน่แท้คนดง
           
              พรองค์ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ
หลากหลายประเภท ทรงใช้นามปากกาอาทิ
ศรีอยุธยา รามจิตติ แก้ว ขวัญ  ซึ่งบางครั้ง
ก็ทรงเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ โต้ตอบ
กับนักเขียนทั่วไปโดยมิได้ถือพระองค์
              ผลงานพระราชนิพนธ์ส่วนพระองค์                    
                   (ก )  ประเภทวรรณคคี เช่น พระนล
คำหลวงสกุนตลา มัทนะพาธา
                   (ข)  ประเภทบทละคร  เช่นหัวใจนักรบ
พระร่วง ตามใจท่าน เวนิสวานิส โรมิโอและจูเลียต
                   (ค)  ประเภทธรรมมะ  เช่นพระพุทธเจ้า
ตรัสรู้อะไร  เทศนาเสือป่า
                   (ง)  ประเภทประวัคิศาสตร์โบราณคดี
เช่นสันนิษฐานเรื่องท้าวแสนปม  เที่ยวเมืองพระร่วง             
                  (จ) ปร ะเภทปลุกใจ เช่น เมืองไทยจง
ตื่นเถิดลัทธิเอาอย่าง ปลุกใจเสือป่า  โคลนคิดล้อ
                 (ฉ) ปร ะเภทการทหาร  เช่น การ
สงครามป้อมค่าย  ประชิด พันแหลม
                 (ช) ประเภทนิทาน เช่น  นิทานทองอิน
นิทานทหารเสือ
                 (ซ) ประเภทการเมือง  เช่นการจลาจลในรัสเซีย
                  (ถ)  ประเภทสุขวิทยา  เช่น กันป่วย
              นักเขียนและกวีในสมัยของพระองค์ เช่น
                   ๑. พระราชวรวงศ์เธอ  กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
์(พระองค์เจ้ารัชนี  แจ่มจรัส )  ใซ้นามปากกาว่า   น.ม.ส.
มีผลงานอาทิ                     
                (ก)  จดหมายจางวางหร่ำ   (ข)  นิทานเวคาล
                 (ค)  กนกนคร                     (ง)  พระนลาคำฉันท์ 
               ๒.  พระยาอนุมานราชธน และพระสาร
ประเสริฐ ใซ้นามว่า   เสฐียรโกเศศ และนาคะประทีป
ผลงานอาทิ
                (ก)  กามนิตวาสิฏฐี        (ข) ลัทธิของเพื่อน
                (ค) นิทานเบงคลี            (ง) หิโคประเทศ
                ๓. นายชิต บุรทัค มีผลงานอาทิ

                      สามัคคีเภทคำฉันท์
                ๔. พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน  สารลักษฌ์)
                    มีผลงานอาทิอิลราชคำฉันท์
                ๕.  เจ้าพระยาพระเสค็จสุเรนทราธิบคี 
                      (ม.ร.ว.เปีย   มาลากุล) มีผลงานอาทิ
                         (ก ) สมบัตืผู้ดี   (ข) พลเมืองคคี  
                 ๖.  พระยาอุปกิจศิลปสาร (นิ่ม กาญจนชีวะ)
                     ใช้นามปากกาว่า  อ.น.ก .มีผลงานอาทิ
                       แบบเรียนชุดตำราใวยากรณ์ไทย ๔ เล่ม

                        คืออักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์
                         และฉันทลักษณ์

การทหาร   ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
          ทรงพัฒนากองทัพไทย และการเข้าร่วม
สงครามโลกครั้งที่ ๑ เป็นยุคที่ประเทศโลกที่สาม
กำลังตกอยู่ในภัยคุกคาม การล่าอาณานิคม
ของชาติมหาอำนาจต่าง ๆ พระองค์ทรงตระหนัก
ถึงความจำเป็นที่ไทยจะต้องเตรียมการณ์เพื่อปก
ป้องอธิปไตย์ไว้ให้ได้   จึงได้ทรงพัฒนากอง
ทัพอย่างเป็นขั้นตอน

                  จัดสรรค์สินทรัพย์เกื้อ     แรงกาย
           บริจาคถวาย                          พรั่งพร้อม
           อาวุธยุทธภัณฑ์หมาย            ซื้อมอบ
           แก่ทัพบกพรั่งพร้อม               ทัพฟ้านาวี
                  (ลิลิตเฉลิมพระเกียรติ์ฯ   -  วิธันว์)

เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑
             เมื่อเคือนสิงหาคม พ.ศ.  ๒๔๕๗ 
ประเทศทางยุโรปไค้แยกออกเป็น ๒ ฝำย
คือประเทศฝ่ายมหาอำนาจเยอรมนี  ออสเตรีย
ฮังการี  กับอีกฝ่ายหนื่งคือฝ่ายสัมพันธมิตร
มีอังกฤษ ฝรั่งเศส รุสเซีย ไค้ทำสงครามกันขึ้น
            สงครามได้ขยายวงเอาประเทศอื่น ๆ
ในยุโรปเข้าร่วมมากมายหลายประเทศ
จนเกิดสงครามโลกขึ้นขณะนั้น ตรงกับรัชสมัย
ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ทรงมองเห็นผลของการร่วมสงคราม
ที่มีต่อประเทศชาคิ จึงทรงคัคสินพระทัย
นำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งนื้คด้วย
โดยประกาศตัวเป็นฝ่ายเคียวกับประเทศ
พันธมิครเมื่อวันที่  ๒๒ กรกรฎาคม
พ.ศ.๒๔๖๐ โดยทรงให้เหตุผลในการเข้าร่วม
สงครามว่าเพื่อรักษาความชอบธรรม
ทั้งหลายในระหว่างนานาประเทศ
             การเข้าร่วมสงครามครั้งนื้ ไทยได้
ส่งทหารใปช่วยรบ ในสมรภูมิยุโรป ประมาณ
๑,๒๕๐ นายโดยแบ่งออกเป็นกองบิน
ทหารบก ๔๐๐ คน และกองทหารรถยนค์
จำนวน ๘๕๐ คน เริ่มออกเดินทางโดยเรือ
เมื่อวันที่ ๑๙  มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ถึงท่าเรือ
เมืองมาเซลล์ ประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ ๓๐
กรกฎาคมปีเดียวกัน  จากนั้นก็แยกย้ายกัน
ฝึกเพิ่มเติม และเข้าร่วมปฏิบัติการรบใน
สงคราม จนกระทั่งเยอรมันเป็นฝ่าย
ปราชัย เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๑

             ชูธงร่วมรบสู้                    สู่สนาม
        ในขณะสงคราม                   ยืดเยื้อ
        แคล่วคล่องว่องไวยาม         ปฏิยุทธ์
        ชาติเล็กหากอาจเอื้อ            โอบอุ้มคุ้มธรรม
              กรำศึกตราบศึกสิ้น         สุดลง
        ไทยร่วมรบยืนยง                  หยัดสู้
         หนึ่งผู้ชนะในสง-                 ครามโลก
         นาม"พระมงกุฎเกล้า"รู้       ทั่วหล้าสรรเสริญฯ
                (ลิลิตเฉลิมพระเกียรติ์ฯ   -  วิธันว์)

  
          ไทยได้ประโยชน์จากผลของการเข้าร่วมสงคราม
ในครั้งนี้
คือ.-

          
. ประเทศต่าง ๆ ในโลก   รู้จักประเทศไทยดีขึ้น
        ๒.ได้รับสิทธิเท่าเทียมนานาอารยะประเทศ ผู้ชนะสงคราม
        ๓. ได้รับเชิญเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ
     . ได้แก้ไขสัญญาที่ไม่เป็นธรรมบางฉบับ กับประเทศ
             มหาอำนาจ ซึ่งต่อมาไทยสามารถยกเลิกสิทธสภาพ
             นอกอาณาเขตได้โดยสิ้นเชิง

        ๕. ไทยสามารถกำหนดพิกัตอัตราภาษีเข้าออกได้โดยเสรี

            มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ทหารอาสา ที่สนามหลวงและสร้าง
วงเวียน ๒๒ กรกฎา   เพื่อเป็นอนุสรณ์ในครั้งนั้น
      


          พระเกียรติคุณ มหาปราชญ์แห่งแผ่นดินสยาม
          จากพระเกียรติคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ   ที่ทรงพระราช
ทานไว้กับแผ่นดินไทย   รัฐบาลพร้อมทั้งปวงชนชาวไทย ได้ร่วมกัน
จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์   ประดิษฐานเป็นศรีสง่าแก่แผ่นดิน
ณ บริเวณหน้าสวนลุมพินี   และที่ค่ายลูกเสือวชิราวุธ   จังหวัดชลบุรี
เพื่อเป็นอนุสรณ์ รำลึกถึงพระองค์ตลอดกาล

            
นอกจากนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสห   ประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญ
ของโลก เมื่อปี ๑๙๘๑
                  นับเป็นมงคลสมัยวันประสูติครบ ๑๐๐ ปี ซึ่งรัฐบาล ในขณะนั้น ได้จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อเป็นการเฉลิม ฉลองในปี ๒๕๒๔ อาทิการจัด   ประกวดแต่งหนังสือบทกวีเทิดพระเกียรติ์   จัดชุมนุมลูกเสือโลก และ สร้างหอพระสมุดวชิราวุธานุสรณ์  ขึ้นภายในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ   ท่าวาสุกรี   ซึ่งปัจจุบันมีการแสดงหุ่นขี้ผึ้งพระราชประวัติส่วนพระองค์   ให้ผู้สนใจได้เข้าชม ในวันและเวลาราชการ ดังนี้
    พระบรมราชะประทรรศนีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
           หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร และมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์
          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์

                     
  
ห้องแรก : เสวยราชสมบัติ

                      พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธี
ีพระบรมราชภิเษก ๒ ครั้ง ในครั้งแรก ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้จัด การพระราชพิธี บรมราชาภิเษก ตามขัตติยโบราณราชประเพณี เพื่อประ ดิษฐาน ความเป็นพระมหากษัตริย์ โดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๓ แต่งดการแห่เสด็จเลียบพระนคร และการรื่นเริงอื่น ๆ จนกระทั่ง ถวายพระเพลิง พระบรมศพพระราชบิดา คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว และครบกำหนด การไว้ทุกข์แล้ว ๑ ปี นับแต่วันสวรรคต
จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธี บรมราชาภิเษกสมโภช อีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ มีเจ้านาย และอรรคราชฑูต ผู้แทนพระองค์ พระราชาธิบดีและผู้ แทนประธานนาธิบดี จากนานาประเทศมาร่วม งานถึง ๑๔ ประเทศ

                          
ห้องที่ ๒ : ทัดเทียมประเทศอารยะ

        ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้เกิดสงครามขึ้น ในทวีปยุโรป โดยแบ่งออก
เป็นฝ่ายมหาอำนาจอันได้แก่ เยอรมัน และออสเตรีย-ฮังการีกับฝ่าย   สัมพันธมิตร ได้แก่อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และรัสเซีย เป็นต้น ต่อมาสงครามนี้ ได้กลายเป็นมหาสงครามโลก ครั้งที่  ๑
      ในระยะแรก ของสงครามสยามประเทศ ได้ประกาศความเป็นกลาง แต่เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนายทหาร   เก่าแก่แห่งกรมทหารราบเบาเดอรัม พระองค์พระราชทาน พระราช
ทรัพย์ แก่ทายาทของทหาร ในกรมทหารราบเบาเดอรัม ที่เสียชีวิตใน  สงครามและ สมเด็จ พระเจ้ายอร์ชที่ ๕ แห่งอังกฤษ ทรงซาบซึ่งพระทัย ได้ถวายพระยศ นายพลเอกพิเศษแห่งกองทัพบกอังกฤษ และพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ถวายพระยศพลเอกพิเศษแห่ง กอง ทัพบกสยาม เป็นการตอบแทน

ห้องที่ ๓ : นำชัยชนะสู่สยาม

          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ ประกาศสงครามกับ ประเทศเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๖๐ เพื่อรักษาประโยชน์ ของประเทศ และเพื่อรักษา ความ เป็นธรรม ของโลกส่วนรวม พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ
ห้จัดกองทหารอาสามสมัคร ไปร่วมรบกับ ฝ่ายสัมพันธมิตร ณ สมรภูมิ ทวีปยุโรป เมื่อสงครามโลกยุติลง กองทหารอาสาสมัคร เดินทางถึง กรุงเทพมหานครเมื่อ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๒ ทรงโปรดฯ ให้จัดงานฉลองพระราช ทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี แก่ธงไชยเฉลิมพล โดย   ทรงผูกประทับดวงตราที่ยอดคันธงไชย เฉลิมพลนั้น ด้วยพระองค์เองการร่วมกับฝ่ายชนะสงครามนี้ ทำให้เรา สามารถแก้ไข สนธิสัญญาทางการค้า และการศาลกับนานาประเทศ ได้เป็นผลสำเร็จ

ห้องที่ ๔ : ความเป็นไทยรำลึก

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัย เรื่องราวในประวัติศาสตร์ และในวรรณคดีมาแต่ ครั้งยังดำรงพระยศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ก็ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปตรวจพื้นที่ และโบราณสถานด้วยพระองค์เอง โดยเฉพาะ ในคราวเสด็จประพาสสวรรคโลก ได้ทอดพระเนตร เตาทุเรียง ซึ่งเป็นเตาเผา เครื่องถ้วยชามสังคโลก และภาชนะที่ใช้ในบ้าน รวมทั้งกระเบื้องเคลือบบราลี และศีรษะมังกร อันแสดงถึง ความรุ่งเรืองของชาติไทยที่มีนานแล้ว

ห้องที่ ๕ : ซ้อมสู้ศึกศัตรู

การเสียดินแดนในสมัยรัชกาลที่ ๕ และผลของสนธิสัญญาระหว่างประเทศ บางฉบับที่จำกัดการตั้งกอง กำลังทหารในบางพื้นที่ ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงความปลอดภัยของ ประเทศและได้ทรง สถาปนากองเสือป่าขึ้น เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นกอง อาสาสมัคร สำหรับฝึกพลเรือน ให้มีความรู้ ความสามารถ เช่นเดียวกับทหาร เพื่อเป็นกองหนุนของทหาร และตำรวจ ในยามคับขันรักษาดินแดน และพระมหากษัตริย์ เสริมกำลังกาย กำลังสติปัญญา สร้างวินัย และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
      กิจการเสือป่า นอกจากจะได้รับความสนใจ จากนานาประเทศแล้ว ยังเป็นต้นแบบใน การจัดเตรียมกำลังสำรองของไทยในเวลาต่อมา เช่น กรมการรักษาดินแดน ไทยอาสาป้องกันชาติ และลูกเสือชาวบ้าน
เป็นต้น
               
                   

ห้องที่ ๖ : ให้สู้และอดทน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวิจารณญาณรอบคอบ เกี่ยวกับการฝึกคน เพราะนอกจากจะทรงฝึกเสือป่า และลูกเสือให้รู้จัก การใช้อาวุธและยุทธวิธี ในสงครามแล้ว ยังทรงมีพระราชประสงค์ จะฝึกให้มีความอดทน ทั้งด้านจิตใจและร่างกาย ให้สามารถช่วยตนเอง และแก้ไขอุปสรรคทั้งหลายได้ทุกโอกาสด้วย จึงทรงนำเสือป่า ลูกเสือ ทหารและตำรวจ เดินทางไกลรอนแรม ไปตามทุ่งนา ป่าเขา ด้วยพระองค์เองอย่างใกล้ชิด บางครั้ง ในระหว่างรอนแรมไป ดินฟ้าอากาศแปรปรวน พระองค์ทรงห่วงใยลูกเสือ ได้ทรงโปรดฯ ให้เรียกมาพักนอนในเต็นท์ ที่ประทับของพระองค์ และพระองค์เสด็จไปประทับศาลาวัดห่างไปอีก ๒๐ เส้น สะท้อนให้เห็น น้ำพระราชหฤทัยที่เปี่ยมด้วย พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ อย่างหาที่สุดมิได้

ห้องที่ ๗ : อบรมคนแต่เยาว์วัย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนากิจการลูกเสือขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ เพื่อฝึกฝนอบรม เยาวชนของชาติ ให้เป็นพลเมืองดี มีความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีความสามัคคี ในหมู่คณะอัน เป็นรากฐานความมั่นคงของชาติประเทศไทย
       เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเซีย และเป็นประเทศ ที่สามของโลก ที่มีกิจการลูกเสือรอง จากประเทศอังกฤษ และอเมริกา และได้พระราชทานคติพจน์ สำหรับคณะลูกเสือไทยว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์"

ห้องที่ ๘ : ปลูกฝังนิสัยโดยการสอน

ด้วยความที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพุทธศาสนิกชน ที่มีพระราชศรัทธาเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา และโปรดสดับพระธรรมเทศนา อยู่เป็นกิจ ทรงนำประโยชน์ จากพระธรรมคำสอน มาพระราชทาน แก่พสกนิกรด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น บทพระราชนิพนธ์ พระบรมราโชวาท และพระบรม ราชานุศาสนีย์ เป็นต้น
การแสดง พระบรมราชานุศาสนีย์ ครั้งสำคัญ คือ เมื่อเสด็จไปประทับ ณ ค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ ใน พ.ศ.๒๔๖๑ เนื่องในวันวิสาขบูชา ทรงแสดง พระบรมราชานุศาสนีย์ แสดงคุณานุคุณ แห่งพระรัตนตรัยบุพการี ผู้ปกครอง และความรักชาติ แก่ข้าราชการ ทหารและพลเรือน ที่เฝ้าฯ อยู่ในขณะนั้น

ห้องที่ ๙ : ให้ละครช่วยอบรม

ในการทรงใช้ ศิลปะการแสดงละคร เพื่อสื่อความคิดนี้ เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า บทพระราชนิพนธ์ของ พระองค์ มักจะสอดแทรก แนวพระราชดำริ ทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม คติธรรม ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แล้วทรงเลือก บทพระราชนิพนธ์ มาจัดแสดง ให้เหมาะแก่กาละเทศะ ในบางคราวทรง เป็นผู้กำกับการแสดง และทรงแสดงละคร ด้วยพระองค์เอง เช่น ทรงแสดง เป็นนายมั่น ปืนยาว ชาวป่า ในบทพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระร่วง เพื่อปลูกฝังความรักชาติ เป็นต้น

ห้องที่ ๑๐ : เกิดอุดมศึกษา

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัย ในเรื่องการศึกษาของชาติเป็นอย่างยิ่ง ด้วยทรง พระราชดำริว่า "…การศึกษาย่อมเป็นการสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นต้นเหตุแห่งความเจริญของชาติบ้านเมือง ผู้ใดอุดหนุนการศึกษา ผู้นั้นได้ชื่อว่า อุดหนุนชาติบ้านเมือง…" พระองค์ทรงริเริ่ม สร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัด ประจำรัชกาล และพระราชทานการอุดมศึกษาแก่คนไทย โดยทรงโปรดฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกับพระราชทานเงินไว้ เป็นทุนของมหาวิทยาลัย และพระราชทานที่ดิน พระคลังข้างที่ ที่ตำบลสระปทุม เนื้อที่ ๑,๓๐๙ ไร่ ไว้เป็นอาณาเขต ทั้งยังทรงพระกรุณาเสด็จฯ ไปทรงวาง ศิลาพระฤกษ์ ตึกบัญชาการ ซึ่งปัจจุบัน คือ คณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘ อีกด้วย

ห้องที่ ๑๑ : ทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานี เป็นเมืองจำลองเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในบริเวณ พระราชวังดุสิต และภายหลังย้ายมาที่ พระราชวังพญาไท ประกอบด้วย อำเภอ ๖ อำเภอ บ้านเรือน ๓๐๐ หลังคาเรือน ถนน วัด ร้านค้า โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ ประชุม พระราชวัง และสวนสาธารณะ มีนคราภิบาล ทำหน้าที่บริหาร มีพรรคการเมือง ๒ พรรค มีการทดลองการเลือกตั้ง คือแบบเลือกนคราภิบาลโดยตรง และให้เลือก เชษฐบุรุษของอำเภอ แล้วจึงเลือกตั้ง นคราภิบาล จากเชษฐบุรุษเหล่านั้น ฉะนั้น ดุสิตธานีจึงเป็นภาพรวม ของการทดลอง การปกครองระบอบประชาธิปไตย ในระยะแรก อาคารบ้านเรือนต่างๆ พลัดหายไปมาก ที่จัดแสดง มีพระที่นั่งเทวอาสน์จำรูญ พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท พระที่นั่งบรมพิมาน และพระที่นั่งสุทไธสูรย์ปราสาท

ห้องที่ ๑๒ : ทรงนำไทยให้รุ่งเรือง

"ในขั้นต้น กิจกรรมต่าง ๆ คงต้องเดินอย่างช้า ๆ เพราะมีเครื่องกีดขวางอยู่หลายอย่าง ที่ฉันจะต้องข้าม เราอยู่ในสมัยที่ลำบาก เพราะมีขนบธรรมเนียมโบราณ คอยต่อสู้ขัดขวางการเปลี่ยนแปลง แต่ฉันไม่คิด ยอมแพ้ ฉันหวังว่า ฉันจะยังมีชีวิตอยู่นานพอ จะได้เห็น ประเทศสยามได้เข้าร่วมอยู่ ในหมู่ชาติต่าง ๆ โดยได้รับเกียรติและความเสมอภาคอย่างจริง ๆ ตามความหมายของคำนั้นทุกประการ"
       ด้วยพระราชปณิธาน ที่พระราชทานแก่พระอนุชา เมื่อต้นรัชกาลตลอดเวลา ๑๕ ปี ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงนำ รัฐนาวาฝ่าคลื่นแห่งปัญหา ครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อไปให้ถึงจุดหมายที่ทรงวาดหวังไว้
      ด้านการศึกษา ทรงโปรดให้สร้างโรงเรียนแทนวัด ประจำรัชกาลพระราชทาน พระราชบัญญัติประถมศึกษา เพื่อให้เด็กไทยทุกคน ได้รับการศึกษา ตามเกณฑ์บังคับ ทรงทำนุบำรุง วิชาช่างศิลปะ โดยทรงโปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนเพาะช่าง พระราชทานการศึกษา ขั้นอุดมศึกษา ด้วยการพระราชทานกำเนิด จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศ
     ด้านการทหาร ทรงส่งเสริมกิจการต่าง ๆ ของกองทัพบก ทรงโปรดฯ ให้แยกกรมทหารเรือ ออกจาก กระทรวงกลาโหม และพระราชทานที่ดิน บริเวณอ่าวสัตหีบให้กองทัพเรือ ใช้เป็นฐานทัพเรือ ทางด้านการป้องกันทางอากาศ ทรงตั้งแผนการบินขึ้นใน กองทัพบก และต่อมาได้ยกขึ้นเป็นกองบินทหารบก แล้วขยายเป็นกองทัพอากาศในที่สุด //

 


  
(หน้าแรก)                 

                            

       ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม หากท่านประสงค์จะเยี่ยมชม web site อื่น ๆ ต่อไป เชิญได้ตามนี้ Chat ดังเมืองไทย  Pantip.Com แหล่งรวม download
        โปรแกรมฟรี
Sanook.Com  แหล่งรวม links ทั่วโลก 
Hunsa.Com   เวบดังติดอันดับ   Mthai.Com เวบชวัญใจวัยรุ่น  Narak.Com & Jorjae.Com

 Last edited  31-05-2002 Copyrigh (C) 2001 Srimuang  home. All rights reserved