PANZER
หน่วยยานเกราะเยอรมัน
   หน่วยยานเกราะของเยอรมัน เป็นแนวความคิดของนายพล ไฮน์ กูเดเรียน (Heinz Guderian) ของเยอรมันที่ค้นคว้าว่า กำลังรถถังและยานเกราะควรจะใช้เป็นหัวหอก (Spearhead) ของ การรุกแบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg) โดยรถถังและยานเกราะ จะทำการรุกเข้าไปในพื้นที่ของข้าศึก โดยมีเครื่องบิน และปืนใหญ่ยิงนำทาง กำลังยานเกราะ ที่เจาะแนวข้าศึกเข้าไปได้ จะกระจายกันออก โอบล้อมกำลังข้าศึก เพื่อป้องกันการเสริมกำลัง จากนั้นก็ใช้กำลังทหารราบเข้าทำลาย ส่วนของข้าศึกที่ถูกโอบล้อมอยู่
    ความสำเร็จของสงครามสายฟ้าแลบในช่วงแรกๆ เป็นผลมาจากการใช้หน่วยยานเกราะหรือ Panzer เข้าเป็นหน่วยหลักในการรุก  แต่เมื่อสงครามดำเนินไปนานขึ้น เยอรมันเริ่มกลายเป็นฝ่ายตั้งรับ ในทุกแนวรบ Panzer ก็ปรับบทบาทในการตั้งรับได้โดยใช้รถถังรุ่นเก่า มาปรับปรุงเป็นรถถังล่ารถถัง (tank hunter) และผลิตรถถังรุ่นใหม่ออกมา จนกลายเป็นตำนานของยานเกราะสมัยใหม่หลายรุ่น เช่น
Panther, Tiger, Tiger 2 เป็นต้น
รถถัง Panzer V - Panther ติดตั้งปืนใหญ่ 75 มม. ถูกสร้างขึ้นเพื่อสกัดกั้น รถถัง T 34 ของรัสเซียซึ่งติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 76 มม.  รถถังรุ่นนี้กลายเป็นแผนแบบ ของรถถังสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง 
รถถัง Panzer III ทั้งรุ่นติดปืนใหญ่ลำลกล้องยาว ขนาด 50 มม. ใช้เป็นรถถังหลัก ส่วนรุ่นที่ติดลำกล้องสั้นที่ห็นอยู่ด้านหลัง ใช้เป็นรถถังสนับสนุนทหารราบ ทั้งสองคันนี้ เป็นภาพรถถังที่นอรเวย์นำไปใช้ในกองทัพของตน ในระหว่างที่ถูกเยอรมันยึดครอง
ในช่วงแรกๆของสงคราม กองทัพนาซีเยอรมันใช้รถถัง Panzer III เป็นกำลังหลัก รถรุ่นนี้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 50 มม. ซึ่งในขณะนั้น สามารถทำลายรถถังทุกชนิด ของพันธมิตรได้ โดยเฉพาะการรบในยุโรป ปี 1939-1941 แต่ใน ยุทธการบาร์บารอสซ่า (Barbarossa) ที่เยอรมันรุกเข้าไปในรัสเซียในปี 1940 Panzer III ต้องพบกับรถถัง T 34 ของรัสเซีย ทำให้ต้องมีการปรับปรุงรถถังรุ่นนี้ใหม่ บางส่วนถูกถอดป้อมปืนออก ติดตั้งปืนขนาด 155 มม. ในชื่อ Hummel
ในขณะที่การรบดำเนินไป รถถัง Panzer IV ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา พร้อมปืนใหญ่ประจำรถขนาด 75 มม. ที่เห็นในภาพซ้ายมือนี้ เป็นหน่วยยานเกราะ PANZER ของหน่วย GrossDeustland ซึ่งทำการรบในรัสเซีย รถถังรุ่นนี้ด้อยกว่ารถถัง T 34 ของรัสเซีย ในด้านความคล่องตัว เนื่องจากสายพานที่เล็ก แต่ก็ยังดีกว่ารถถัง Panzer III ที่ติดปืนเพียง 50 มม. Panzer IV ถูกใช้เป็นรถถังหลักของเยอรมัน ในแนวหน้ามาตลอด ทั้งนี้เพราะพลประจำรถของเยอรมัน มีความคุ้นเคยกับมัน เป็นอย่างดี แม้ว่าจะมีรถถัง Panzer V - Panther และ Panzer VI -Tiger ออกมาใหม่  ช่วงปลายของสงคราม รถถังรุ่นนี้ถูกปรับปรุงโดยติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 88 มม. ในชื่อใหม่ว่า นาชอร์น (Nashorn)
ในการรบในรัสเซีย รถถังของรัสเซีย มักใช้ความเร็วเข้าประชิดรถถัง ของเยอรมัน เพื่อลดความได้เปรียบเกี่ยวกับความหนาของเกราะ โดยเฉพาะรถถัง Panzer VI หรือ Tiger ที่มีเกราะหนามาก ยากที่จะทำลายได้จากการยิงด้านหน้า  ซึ่งรถถังรัสเซีย ต้องเข้ายิงจากด้านหลัง จึงจะสามารถทำลายรถถังเยอรมันได้  ดังเช่นในภาพทางขวามือ เป็นภาพทหารรัสเซียกำลังสำรวจ ซากของรถถัง Panzer V - Panther ที่ถูกยิงจนป้อมปืนหลุดออกจากตัวถัง มีการประเมินกันว่า พลประจำรถกว่า 90 เปอร์เซนต์ของทั้งสองฝ่าย เสียชีวิตไปพร้อมๆกับรถถัง 
ถึงแม้ว่ารถถังรุ่นใหม่ๆของ PANZER จะถูกผลิตออกมา แต่รถถัง PANZER III ก็ดูเหมือนจะเป็นรถถังแกนหลัก ของกองทัพเยอรมันตลอดช่วงสงคราม ในภาพซ้ายมือนี้จะเห็นรถถัง PANZER III ซึ่งติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 50 มม. ลำกล้องยาว พร้อมทหารราบเยอรมัน กำลังรุกผ่านทุ่งหญ้าของรัสเซีย ในช่วงแรกของยุทธการ บาร์บารอสซ่า ซึ่งเป็นการรุกเข้าสู่รัสเซียครั้งแรก
หน่วยยานเกราะ หรือ PANZER เป็นหน่วยหลักของนาซีเยอรมันนับตั้งแต่เริ่มสงครามจนสิ้นสุดอาณาจักรไรซ์ที่สาม ฮิตเลอร์ได้ใช้หน่วย PANZER ของเขาในการรุก รับและร่นถอย หากแต่เพราะการผลิตรถถังของเยอรมันถูกทำลายลงอย่างมากในช่วงปลายสงคราม PANZER จึงขาดแคลนทั้งอะไหล่ เชื้อเพลิง และรถถังรุ่นใหม่ อันนำไปสู่ความหายนะของอาณาจักรไรซ์ในที่สุด
กลับสู่หน้าหลัก
หน้า 1      หน้า 2      หน้า 3      หน้า 4      หน้า 5      หน้า 6      หน้า 7      หน้า 8    

หน้า 9      หน้า 10     หน้า 11      หน้า 12