..........................................................................................

Cis224 Project

นานเจนวิทย์ นาคเครือ 444372 กลุ่ม 01

นายยุทธพล บังเกิดแสง 451472 กลุ่ม 01

..........................................................................................

 
 


Network Technology
Network Architecture
Standard Organization
Basic Network
Modem
ISDN
ADSL
xDSL
Cable Modem
Wireless Lan
Sattelite
OSI Model
IEEE 802
IEEE and OSI Model
Ethernet
Tokenring
Gigabit Ethernet
FDDI
Frame Relay
ATM
Network Technology
TCP/IP
TCP/IP
มารู้จักกับ TCP/IP
         ทีซีพี/ไอพีเป็นโปรโตคอลที่ใช้งานอย่างแพร่หลายในแทบทุกเครือข่ายไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายเฉพาะที่หรือ
เครือข่ายในบริเวณกว้าง
         ทีซีพี/ไอพีเชื่อมกลุ่มเครือข่ายย่อยเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่หรือ อินเทอร์เน็ต (Internet)
         ทีซีพี/ไอพีผ่านการออกแบบให้เป็นอิสระจากชนิดคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ และระบบปฏิบัติการ กลไกของโปรโตคอลมีความเชื่อถือได้สูงและทำงานได้แม้ในบางภาวะที่การสื่อสารมีความผิดปกติ รวมทั้งสามารถเลือกเส้นทางส่งข้อมูลตามสภาพเครือข่ายได้ในกรณีที่บางเส้นทางชำรุด
         ชื่อทีซีพี/ไอพีมีที่มาจากโปโตคอลสองโปรโตคอลคือ ทีซีพี (TCP : Transmission Control Protocol) และ
(IP : Internet Protocol) ไอพีทำหน้าที่กำหนดแอดเดรส จัดแบ่งขนาดข้อมูลให้เหมาะ และเลือกเส้นทางส่งข้อมูล ส่วนทีซีพีทำหน้าที่รับประกันความถูกต้องใน
การลำเลียงข้อมูล
         ทีซีพีและไอพีไม่ได้เป็นเพียงสองโปโตคอลที่มีอยู่เท่านั้น หากแต่ยังมีโปรโตคอลสนับสนุนอีกเป็นจำนวนมากและจัดรวมกันเป็น
ชุดโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี (TCP/IP protocol suite) รายละเอียด
เบื้องต้นของชุดโปรโตคอลจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป

TCP/IPและอินเทอร์เน็ต
         อินเทอร์เน็ตเป็นทั้ง เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และ เครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเครือข่ายย่อยจำนวนมากต่อเชื่อมกันด้วย
ทีซีพี/ไอพี คอมพิวเตอร์ในอินเทอร์เน็ตทุกเครื่องจึงมีโปรโตคอลทีซีพี/ไอพีเพื่อสื่อสารระหว่างกัน

TCP/IPไคลเอ็นต์-เซอร์ฟเวอร์
         โปรโตคอลในทีซีพี/ไอพีอาศัยหลักการทำงานตามระบบไคลเอ็นต์-เซอร์ฟเวอร์ ซึ่งมีองค์ประกอบ 3ส่วนคือ
         1. โปรเซสไคลเอ็นต์ซึ่งทำหน้าที่ขอบริการ
         2. โปรเซสเซอร์ฟเวอร์ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการ
         3. โปรโตคอลที่ใช้สื่อสารระหว่างไคลเอ็นต์และเซอร์ฟเวอร์
รูปข้างล่างนี้ แสดงการเชื่อมโยงระหว่างไคลเอ็นต์ 3 โปรเซส ซึ่งขอบริการถ่ายโอนแฟ้มจากเซอร์ฟเวอร์ผ่าน
เอฟทีพี โปรเซสเซอร์ไคลเอ็นต์และเซอร์ฟเวอร์ไม่จำเป็นต้องอยู่ต่างเครื่องกัน เนื่องจากระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่ที่ใช้ทีซีพี/ไอพ
ีมักทำงานแบบผู้ใช้หลายคนและพร้อมกันหลายงาน แต่ละไคลเอ็นต์จึงอาจเป็นโปรเซสของผู้ใช้ต่างบุคคลที่ทำงาน
ภายในเครื่องเดียวกันและขอบริการไปยังเซอร์ฟเวอร์ต่าง เครื่องเดียวกันกับไคลเอ็นต์ก็ได้


          แบบจำลองไคลเอ็นต์-เซอร์ฟเวอร์ในทีซีพี/ไอพี นี้แตกต่างไปจากหลักการไคลเอ็นต์-เซอร์ฟเวอร์ในบางระบบปฏิบัติการเครือข่ายซึ่งกำหนดหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์อย่างเจาะจงว่าเครื่อง
ใดเป็นเซอร์ฟเวอร ์และเครื่องใดเป็นไคลเอ็นต์โดยสลับหน้าที่กันไม่ได้
          ในขณะที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องตามแบบของทีซีพี/ไอพีสามารถทำหน้าที่เป็นไคลเอ็นต์เพื่อขอบริการจาก
เครื่องอื่น หรือทำหน้าที่เป็นเซอร์ฟเวอร์เพื่อให้บริการเครื่องอื่นได้พร้อมกันดังรูป


สถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ต
          ทีซีพี/ไอพีเป็นแกนสำคัญในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อาจอยู่ภายในเครือข่ายเดียวกัน
หรือนอกเครือข่าย โครงสร้างของอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยจำนวนมากเชื่อมต่อกันผ่าน
เราเตอร์ (router)
          เราเตอร์เป็นอุปกรณ์เครือข่ายซึ่งมีหน้าที่เลือกเส้นทางเพื่อนำส่งข้อมูลในรูปแพ็กเก็ต หากเปรียบเทียบกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์แล้ว เราเตอร์ทำหน้าที่เสมือนที่ทำการไปรษณีย์ พนักงานไปรษณีย์จะพิจารณาจุดหมายปลายทางของจดหมายและเลือกเส้นทางส่งจดหมายไปยังที่ทำการไปรษณีย์ถัดไปจน
กว่าจดหมายจะถึงมือผู้รับ
          เครือข่ายที่ต่อเชื่อมกันด้วยเราเตอร์ดังรูปข้างล่าง เป็นลักษณะทั่วไปของอินเทอร์เน็ตแต่ละเครือข่ายนิยมเขียนแทนด้วยรูป
กลุ่มเมฆเครือข่าย (network cloud) เพื่อแสดงเครือข่ายโดยไม่กล่าวถึงโทโปโลยีและการจัดการภายใน
          ในยุคต้นของอินเทอร์เน็ตใช้คำว่า เกตเวย์ (gateway) เพื่อสื่อความหมายถึงอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่าย แต่ในปัจจุบันนี้เรา
เตอร์และเกตเวย์เป็นอุปกรณ์ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน คำว่าเกตเวย์ที่ใช้แต่เดิมนั้นในปัจจุบันนิยมใช้คำว่าเราเตอร์แทน หน้าที่หลักของเราเตอร์คือเชื่อมเครือข่ายที่ใช้โปโตคอลเดียวกันและเลือกเส้นทางส่งข้อมูล ขณะที่เกตเวย์หมายถึงฮาร์ดแวร์หรือซอฟแวร์ซึ่งเป็นตัวแปลงระหว่างระบบสองระบบที่มีโปรโตคอล โครงสร้างการจัดข้อมูล หรือสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เกตเวย์จะแปลงแพ็กเก็ตจากระบบต้นทางให้อยู่ในรูปแบบของระบบปลายทางเช่น เกตเวย์ระหว่างทีซีพี/ไอพีและโปรโตคอล เอสเอ็นเอ (SNA Systems network Architecture) หรืออิเล็กทรอนิกส์เมลเกตเวย์ที่แปลงรูปแบบจดหมายของโปรโตคอลใด ๆ ไปสู่ระบบ x.400 ของโอเอสไอ
          ผู้อ่านถึงระว่างการแปลความหมายของเกตเวย์ในเอกสารที่อธิบายถึงทีซีพี/ไอพี และอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
เอกสารอาร์เอฟซีซึ่งยังนิยมใช้คำว่าเกตเวย ์ เพื่อสื่อความหมายถึงทางออกของเครือข่ายหนึ่งไปยังเครือข่ายภายนอกหรือ
สู่อินเทอร์เน็ต คามหมายของเกตเวย์จึงต้องพิจารณาจากบริบทในเอกสารด้วย

องค์กรพัฒนาTCP/IPและอินเทอร์เน็ต
          อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายอิสระที่ไม่อยู่ภายในกำกับหรือควบคุมโดยหน่วยงานใด เครือข่ายในอินเตอร์เน็ตต่างตกลงเชื่อมโยงเข้าหากันและบริหารเครือข่ายของตนเองโดยอิสระแต่ในทางปฏิบัติการเชื่อม
หากันได้จำเป็นต้องมีหน่วยงานทำหน้าที่จัดการและประสานงานหลายด้านเช่น การลงทะเบียน การจัดสรรแอดเดรส
และบริการอื่น ๆ
          ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ อินเทอร์นิก (InterNIC : Internet Network Information Center) เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการดังกล่าวรวมทั้งการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต แต่เดิมแล้วหน้าที่ส่วน
นี้สังกัดอยู่ใน DDN NIC (Defense Data Network NIC) ซึ่งอยู่ในเครือข่ายมิลเน็ตของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ แต่ได้โอน
หน้าที่ให้อินเทอร์นิกมาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ในปัจจุบันมีศูนย์สารสนเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อกระจายบริการได้อย่างทั่วถึง
เช่น ในทวีปยุโรปมีศูนย์ RIPE (Reseaux IP Europeens) และในแถบเอเชีย-แปซิฟิกมีศูนย์
APNIC (Asia Pacific Network Information Centre)

>> Home <<



Webmaster : seeis_224@yahoo.com