วันนี้ วัน ข้อมูล-บทความ กระดานเสวนา สมุดเยื่ยมชม ทีมงาน ติดต่อเรา

  หน้าแรก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


 บริการผ่านเว็บ
ตรวจสลากกินแบ่ง
ค้นหาเบอร์โทรศัพท์
ค้นหารหัสไปรษณีย์
ตารางการเดินรถไฟ
คำนวนระยะทาง


 


กดจุดหยุดโรค

กดจุดคืออะไร กดจุด เป็นวิธีการบำบัดรักษา และบรรเทาอาการเจ็บป่วยภายในร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวจีนเชื่อถือ และปฏิบัติกันมาหลายพันปี และยังแพร่หลายไปทั่สโลกทั้งยุโรปและอเมริกา
การกดจุดมีวิธีการที่ง่าย ๆ คือ “การนวดจุด” ต่าง ๆ บนร่างกายโดยใช้นิ้ใมือ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีผู้คิดค้นเครื่องมือสำหรับช่วยนวดจุด (กดจุด) ต่อมาได้มีการใช้เข็มปักลงไปยัง

จุดต่าง ๆ เหล่นนี้ ซึ่งเราเรียกวิธีนี้ว่า “การฝังเข็ม” นอกจากนี้ใช้เข็มแล้ว ยังมีวิธีใช้ความร้อน, คลื่อนอัลตราดซนิก, และแสงเลเซอร์

ประโยชน์ของการกดจุด
1. ลดความรู้สึกไม่สบายทั้งหลายที่เกิดขึ้น จากความผิดปกติของอวัยวะภายในร่างกาย
2. ลดความรู้สึกเจ็บปวดระหว่างที่รอรับการรักษาจากแพทย์
3. ป้องกันการกำเริบของโรคที่เคยเป็นอยู่ก่อน
4. เสริมวิธีการรักษาของแพทย์ ให้อาการต่าง ๆ หายเร็วขึ้น
5. ช่วยให้ร่างกายกระฉับกระเฉง
6. เป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉิน

คลื่นไส้ เมารถ เมาเรือ แพ้ท้อง
การกดจุดจะช่วยบรรเทาอาการ คลื่นไส้ เมารถ เมาเรือ หรืออาการแพ้ท้องได้เป็นอย่างดี แต่ถ้ารู้สึกคลื่นไส้จากการดื่มและรับประทนอาหารมากจนเกินไป หรือจากอาหารเป็นพิษ ท่านไม่ควรจะใช้วิธีกดจุดเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้ ท่านควรจะใช้นิ้วมือที่สะอาดล้วงคอทำให้อาเจียน วิะนี้จะช่วยบรรเทาอาการ และในไม่ช้าอาการจะดีขึ้น
อาการ
เริ่มแรกจะรู้สึกคลื่นไส้ ต่อมาจะมีอาเจียนโดยเฉพาะท่านที่เดินทางโดยทางรถ ทางเรือ ทางอากาศ จะพบได้บ่อยที่สุด
สาเหตุ
เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน เกดจากประสาทการทรงตัวเสียดุลในระหว่างที่มีการเคลื่อนไหว

ส่วนอาการแพ้ท้อง เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย และภาวะจิตใจ
อาการแพ้ท้อง เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบินนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนทุกคน แต่จะเป็นนิสัยของคนบาง

คนเท่านั้น ถ้าท่านเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนติดต่อมานาน อาจมีสหเหตุจากโรคตับหรือไตก็ได้ ท่านควรจะไปให้แพทย์ตรวจสุขภาพของท่านให้ละเอียด และควรปรึกษาแพทย์ก่อนกดจุด


ตำแหน่งที่กดจุด
จุดที่ร่างกาย
1. ชื่อจุด : จุดจางเหมิน

ตำแหน่ง : อยู่ตรงใต้ชายโครงซี่ที่ 11 ประมาณ 0.3 ซม. (วิธีหาจุดให้งอข้อ
ศอกแนบที่ข้างลำตัว จุดนี้จะอยู่ใต้ข้อศอกพอดี)
วิธีนวด : นวดทแยงขึ้นบน


2. ชื่อจุด : จุดฉีเหมิน

ตำแหน่ง : จุดจะอยู่ใต้ราวนม (ประมาณซี่โครงอันที่ 6 – 7) ในแนวเดียวกันกับหัวนม
วิธีนวด : นวดขึ้นบน


3. ชื่อจุด : จุดเหลียงเหมิน

ตำแหน่ง : จุดจะอยู่บริเวณเหนือเอวเล็กน้อย ห่างจากจุดกึ่งกลางของลำตัวไปทาง
ด้านข้างประมาณ 3 นิ้วมือ จุดจะอยู่สูงกว่าระดับสะดือประมาณ 5 –6 นิ้วมือ
วิธีนวด : นวลลงล่าง


4. ชื่อจุด : จุดฉี่ไห่

ตำแหน่ง : จุดอยู่ต่ำกว่าสะดือประมาณ 2 – 3 นิ้วมือ (ประะมาณ 4 – 5 นิ้วมือในคน
อ้วน)
วิธีนวด : นวดขึ้นบน

จุดที่ใบหู
หูขวา
จุดที่ 1. อยู่บริเวณด้านหลังของใบหู ห่างจากขอบใบหูประมาณ ? นิ้วมือ จุดตรงนี้กับจุดคอ และ

กระเพาะอาหาร
วิธีนวด นวดขึ้นบน

จุดที่ 2. อยู่ที่สันกลางหู ส่วนที่โผล่มาจากแอ่งหู มีหลายจุด ให้นวดตามเข็มนาฬิกา จุดนี้เป็นที่รวมของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกระเพาอาหารและช่องท้อง
วิธีนวด นวดขึ้นบน และเอียงไปด้าน
หูซ้าย ไม่มีการกดจุด

การรักษา
สำหรับอาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน จะดีขึ้นเมื่อได้กดจุดที่ใบหู ส่วนอาการแพ้ท้องที่เป็นอยู่นาน และหลังจากให้แพทย์ตรวจแล้ว ท่านสามารถใช้วิธีกดจุดที่ร่างกายและใบหูสลับวันก็ได้ การกดจุดในกรณีนี้ควรจะทำในเวลาเช้าตรู่ และอาจจะกดจุดอีกครั้งก่อนกินอาหารประมาณ ?- 1 ชั่วโมงก็จะดีให้กดจุดนานครั้งละ 5 – 10 นาท

ปวดส่วนล่าง (ปวดบั้นเอว)
กระดูกสัยหลังส่วนล่าง (ส่วนบั้นท้าย) ประกอบด้วยกระดูกสันหลัง 5 ชิ้น หมอนรองกระดูก เส้นประสาท

กล้ามเนื้อ และเอ็น เป็นส่วนที่ต่อจากกระดูกหลังส่วนอกชิ้นที่ 12 ลงมา กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกส่วนบั้นเอวเป็นส่วนที่รับน้ำหนักมากที่สุดของร่างกาย ดังนั้นหลังที่แข็งแรงจะต้องมีกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อหน้าท้องที่แข็งแรง
อาชีพที่เป็นโรคปวดบั้นเอวมาก ได้แก่ ชาวนา กรรมการ หรือผู้มีอาชีพแบกหามของหนัก ๆ เป็นประจำ หรือในพวกที่มีอิริยาบถหรือท่า ยืน นั่ง นอน ยกของ ไม่ถูกวิธี
อาการปวดหลัง (ปวดบั้นเอว) ที่ห้ามกดจุดรักษา ก็คือ กระดูกส่วนหลังเคลือนหรือหัก หรือหมอนกระดูกแตกกดทับรากประสาท อาการปวดหลังจากสาเหตุเหล่านี้ต้องพบศัลแพทย์ทางกระดูกเพื่อการรักษษที่ถูกต้องเท่านั้น
อาการ
จะรู้สึกปวดหลังส่วนล่างหรือปวดบั้นเอว ถ้ากระดูกสันหลังส่วนล่างได้รับอันตรายหัก เคลื่อน รากประสาท

ถูกกด ผู้ปวยจะมีอาการเจ็บปวดมากและอาการจะร้าวลงไปตามขา อาจจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งร่วมกับอาการปวดหลัง
สาเหตุ
1. เกิดจากอิริยาบถหรือท่าต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง ดังได้กล่าวไว้แล้วเรื่องปวดหลังส่วนบน
2. ได้รับอุบัติเหตุ เช่น หกล้มกระแทก ทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อน หัก หรือ รากประสาทถูกกดทับ
3. เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูก ทำให้แคบลง มีหินปูนไปเกาะที่ขอบของกระดูกสันหลัง อาจทำให้กดทับถูกเส้นประสาทได้ มักพบในวัยกลางคนซึ่งมักมีน้ำหนุกตัวมาก การเปลี่ยนแปลงกระดูกสามารถเห็นได้ในภาพถ่ายเอกเรย์



ตำแหน่งที่กดจุด
จุดที่ร่างกาย
1. กดที่ปวดบริเวณหลังและนวดจุดนั้น ๆ ในทิศทางดังรูป
2. ชื่อจุด หยางเหลิงเฉีวยน จุดอยู่ที่แอ่งเล็ก ๆ อยู่ด้านน้า และต่ำกว่ายอดของกระดูกขาด้านนอก
วิธีนวด นวดลงล่าง
3. ชื่อจุด จุดคุนหลุน
ตำแหน่ง จุดอยู่ที่แอ่งเล็ก ๆ ระหว่างกระดูกข้อเท้าด้านนอก (ตาตุ่มนอก) กับเอ็น
ร้อยหวาย (บริเวณเหนือส้นเท้าเล็กน้อย) ดูรูปประกอบ
วิธีนวด นวดลงล่าง
จุดที่ใบหู
หูขวา
จุดที่ 1. จุดสำหรับกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง
ตำแหน่ง จุดจะอยู่เหนือแอ่งหู
วิธีนวด นวดขึ้นบนและเอียงไปด้านหน้า
จุดที่ 2. จุดพลังงาน
ตำแหน่ง อยู่ที่สันกลางหูส่วนที่โผล่ออกมาจากแอ่งหู
วิธีนวด นวดขึ้นบนเอียงไปด้านหน้า
หูซ้าย
นวดเช่นเดียวกับหูขวา ให้ทิศทางตรงข้าม


การรักษา
กดจุดที่ใบหูและร่างกายสลับวันกัน นวดนานครั้งละ 5 – 10 นาที นอกจากนี้ยังใช้วิธีการบริหารที่ช่วยแก้อาการปวดหลัง และการนอนที่นอนที่ไม่นุ่มจนเกินไปจะช่วยได้มาก


วิงเวียนศีรษะเนื่องจากความผิดปกติภายในหู
เป็นอาการวิงเวียนที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะภายใน เนื่องจากระบบหมุนเวียนภายในหูไม่ดี หรือมีการอักเสบ หรือเกิดการติดเชื้อที่อวัยวะการทรงตัวภายในหูชั้นใน และจากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ ก่อนที่ท่านจะกดจุดควรจะปรึกษากับแพทย์ก่อน
อาการ
รู้สึกวิงเวียน เห็นพื้นหรือเพดานหมุน การได้ยินไม่ดี หูอื้อ เสียงแว่ว ดังในหู ตากระตุก
สาเหตุ
การติดเชื่อที่อวัยวะการทรงตัวภายในหูชั้นใน (มักเกิดจากไวรัสและหายได้เอง) และอาจจะเกิดจาก

สาเหตุอื่นๆ ก็ได้ เช่น โรคของสมองขาดเลือดหรือเนื้องอกในสมอง ดังนั้นถ้าเกิดอาการดังกล่าวควรจะพบแพทย์เพื่อตวรจดูว่าอาการที่ท่านเป็นไม่ใช้อาการของโรคเนื้อ

งอกในสมอง หรือโรคร้ายแรงอย่างอื่น ๆ และท่านควรปรึกษาแพทย์ก่อนกดจุด
จุดที่ใบหู
หูขวา
จุดของหูชั้นในเกี่ยวกับการทรงตัว (labyrinth)
ตำแหน่ง อยู่ด้านหลังของใบหู จุดอยู่บริเวณที่สูงที่สุดของซอกหู
วิธีนวด นวดขึ้นบน

หูซ้าย
นวดในตำแหน่งเดียวกัน แต่ทิศทางตรงข้าม
การรักษา
นวดให้แรงทั้งสองหู นวดวันเว้นวัน เพื่อกระตุ้นหน้าที่ของหู