วันนี้ วัน ข้อมูล-บทความ กระดานเสวนา สมุดเยื่ยมชม ทีมงาน ติดต่อเรา

  หน้าแรก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


 บริการผ่านเว็บ
ตรวจสลากกินแบ่ง
ค้นหาเบอร์โทรศัพท์
ค้นหารหัสไปรษณีย์
ตารางการเดินรถไฟ
คำนวนระยะทาง


 


สมุนไพร

สมุนไพรในงานสาธารณสุข
1 . กระเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aallium satiuve Linn.
ชื่อท้องถิ่น :หอมเทียม (เหนือ) เทียม หัวเทียม (ใต้) กระเทียมขาว (อุดรธานี)หอมขาว (อุดรธานี)
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : ส่วนที่ใช้เป็นยา หัวใต้ดินเก็บเป็นช่วงที่มีหัวใต้ดินแก่จัดอายุ 100 วันขึ้นไป
รสและสรรพคุณยาไทย : รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้ลาก เกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ปวดฟัน ปวดหู โรคผิวหนัง
วิธีใช้ : การใช้ปกระเทียมรักษาอาหารท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้กระเทียม
สดครั้งละประมาณ 5 – 7 กลีบ หลังอาหารหรือเวลามีอาการ


2. กะเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum tenuiflorum Linn. O sanctum Linn.
ชื่อท้องถิ่น : กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กะเพราแดง
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : กะเพราในประเทศไทยมี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว กะเพราเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นและใบใขนอ่อน ใบมีกลิ่นหอมฉุน ดอกเป็นดอกช่อ ใบและกิ่งก้าน กะเพราขาวมีสีเขียวอ่อน ส่วนใบและกิ่งก้านกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบที่สมบูรณ์เต็มที่ นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว
รสและสรรพคุณยาไทย : รสเผ็ดร้อน เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น จุกเสียดในท้องใช้แต่ง
กลิ่น แต่งรสได้
วิธีใช้ : ใช้ใบกะเพราและยอดกะเพรา 1 กำมือ (สดหนัก 25 กรัม แห้งหนัก 4
กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม เหมาะสำหรับปรุงเป็นอาหารเพื่อช่วยลดอาการท้องอืดเพื่อช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ


3. ข่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia galange (Linn.) Sw. Alpinia officinarum Hance.
ชื่อท้องถิ่น : ข่าตาแดง ข่าหยวก(เหนือ) ข่าหลวง
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : ข่าเป็นไม้ล้มลุก สูง 1.5 – 2 เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับข้างกัน รูปใบหอก รูปใบรีหรือเกือยขอบขนาน กว้าง 7 – 9 ซม. ยาว 20 – 40 ซม. ดอกช่อออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก สีขาวนวล กลีบดอกใหญ่ที่สุดมีสีแดงประอยู่ ผลรูปกลมรี
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าแก่ สดหรือแห้ง
รสและสรรพคุณยาไทย : รสเผ็ดปร่า ขับลม แก้บวม ฟกช้ำ
วิธีใช้ : ใช้เหง้าแก่ สดหรือแห้ง ครั้งละขนาดเท่าหัวแม่มือ (สดหนัก 5 กรัม แห้ง หนัก 2 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม

4. ขี้เหล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia siamea Britt.
ชื่อท้องถิ่น : ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ผักจี้ลี่ (เงี้ยว – แม่ห้องสอน) ยะหา (ปัตตานี) ขี้เหล็กจีหรี่ (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : ขี้เหล็กเป็นไม่ยืนต้นขนาดกลาง ใบเป็นใบประกอบประกอบด้วยมบย่อยประมาณ 10 คู่ ใบเรียว ปลายมนหยักเว้าหาเส้นกลางใบเล็กน้อย โคนใบกลม สีเขียว ใต้ใบซีดกว่า ด้านบนใบ และมีขนเล็กน้อย ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักแบนหนา มีเมล็ดอยู่ข้างใน ใช้เมล็ดเพาะกล้าก่อนแล้วจึงย้ายลงหลุม ควรปลูกในฤดูฝน ปลูกง่ายและทนแล้งได้ดี
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบอ่อนและดอก
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : ช่วงเวลาที่มีใบเพสลาด และดอก
รสและสรรพคุณยาไทย : ดอกตูมและใบอ่อน รสขม ช่วยระบายท้อง ดอกตูมทำให้นอนหลับ เจริญอาหาร และแก่นขี้เหล็กเป็นยาระบาย
วิธีใช้ : เป็นยารักษาอาการท้องผูก โดยใช้ใบขี้เหล็ก 4 – 5 กำมือ ต้มเอาน้ำดื่มก่อนอาหารหรือเวลามีอาการ

5. ข่อย
ชื่อท้องถิ่น : กักไม้ฝอย(เหนือ) สัมพล(เลย – อีสาน) ข่อย ส้มพ่อ ส้มฝอ(หนองคาย – อีสาน) ปรอย ขัดตา ขอย(ใต้) ตองบะแน่(กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี) สะนาย(เขมร)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้นสด
รสและสรรพคุณยาไทย : รสเมาเบื่อ สรรพคุณรักษาพยาธิผิวหนัง หรือต้มใส่เกลือให้เค็มเป็นยาอม รักษารำมะนาด
วิธีใช้ : เปลือกข่อยรักษาอาการปวดฟัน โดยใช้เปลือกต้นสดขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือ สับเป็นชิ้น ต้มกับน้ำพอสมควร และใส่เกลือให้มีรสเค็ม ต้มนาน 10 – 15 นาท เอาน้ำขณะที่ยังอุ่น อมบ่อย ๆ

6. ตะไคร้
ชื่อท้องถิ่น : จะไคร(ภาคเหนือ) ไคร(ใต้) คาหอม(เงี้ยว – แม่อ่องสอน) เชิดกรบ เหลอะเกรย(เขมร – สุรินทร์) หอวอตะโป๊ะ(กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน) หัวขิงไค(เขมร – ปราจีน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้นและเหง้าแก่ สดหรือแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : เก็บเหง้าและลำต้นแก่
รสและสรรพคุณยาไทย : รสปร่ากลิ่นหอม บำรุงไฟธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำ
ให้เจริญอาหาร แก้คาว
วิธีใช้ : ตะไคร้เป็นยารักษาอาการต่าง ๆ ดังนี้ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้ลำต้นแก่สด ๆ ทุบพอแหลก
ประมาณ 1 กำมือ (ราว 40 – 60 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือประเป็นกอบอาหาร


7. พริกไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper nigrum Linn.
ชื่อท้องถิ่น : พริกน้อย
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : พริกไทยเป็นไม้เถ้าเนื้อแข็ง รากฝอย ออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะ ข้อโป่งนูน ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปไข่ เนื้อใบแข็ง กว้าง 5 – 8 ซม. ยาว 8 – 11 ซม.ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยสมบูรณ์เพศ สีขาวแกมเขียว ผลเป้นผลสด กลม จัดเรียงตัวแน่นอยู่บแกน ผลอ่อนสีเขียว สุกมีสีแดง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก นำมาตากแห้ง
รสและสรรพคุณยาไทย : รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลม แก้อาการท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ช่วยแต่งกลิ่นรสและถนอมอาหาร
วิธีใช้ : นำผลแก่แห้ง บดเป็นผงและปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 0.5 – 1 กรัม (ประมาณ 15 – 20) หรือใช้วิธีบดเป็นผงและชงน้ำรับประทานได้

8. มะระขี้นก
ชื่อท้องถิ่น : ผักเหย ผักไห่ มะร้อยรู มะห่วย มะโห่
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : เนื้อผลอ่อน เป็นลูกมะระขี้นกเมื่อลูกยังเป็นสีเขียว
รสและสรรพคุณยาไทย : เนื้อผลมีรสขม สรรพคุณเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี แก้โรคของม้ามและตับขับพยาธิ น้ำค้นจากผลมะระเป็นยาระบายอ่อน ๆ อมแก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย
วิธีใช้ : ผลมะระอ่อนใช้รับประทานเป็นยาเจริญอาหาร โดยการต้มให้สุกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ผสมมะระสุกห้ามรับประทาน เพราะทำให้มีอากาคลื่นไส้ อาเจียน

9. แมงลัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum basilim Linn. f. Var. Citratum. Back.
ชื่อท้องถิ่น : -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : แมงลักเป็นพืชเขตร้อน เป็นพืชลัมลุก ต้นสูงประมาณ 65 ซม. ใบมีขน
อ่อน มีกลิ่นหอม ดอกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่งหรือที่ยอด กลีบดอกสีขาว ดอกเรียงรองก้านช่อเป็นชั้น ชั้นละ 2 ช่อย่อย ช่อย่อยละ 3 ดอก กลีบดอกร่วงง่าย แต่กลีบเลี้ยงจะอยู่คงทน แมงลักเป็นพืชที่ปลูกง่าย ปลูกโดยเมล็ด
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เมล็ดแมงลักแก่ เก็บเมล็ดแก่สีดำเพื่อใช้เป็นยา
รสและสรรพคุณยาไทย : เมล็ดแมงลักเมื่อแช่น้ำแล้วจะพองเป็นเยื่อขาวโตและเป็นเมือก เมื่อรับประทานจะทำให้ถ่านอุจจาระสะดวก เพราะเมือกขาวทำให้ลื่น อุจจาระไม่เกาะลำไส้
วิธีใช้ : ใช้เมล็ดแมงลัก 1 – 2 ช้อนชา ล้างน้ำให้สะอาด แช่น้ำอุ่น 1 แก้ว (250 ซีซี) จนพองตัวเต็มที่รับประทานก่อนนอน
ข้อควรระวัง : ถ้าเมล็ดแมงลักพองตัวไม่เต็มที่ จะทำให้ท้องอืดและอุจจาระแข็ง

10. สะเดา
ชื่อท้องถิ่น : สะเลียม(เหนือ)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ยอดและดอกสะเดา มักออกยอดและดอกในฤดูหนาว
รสและสรรพคุณยาไทย : รสขม
วิธีใช้ : ยอดสะเดาและดอกสะเดาลวกหรือต้ม รับประทานร่วมกับน้ำปลาหวาน จะช่วยเจริญอาหารได้