สำนักงาน ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง
ประวัติ , ผังการจัด
ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
กฎ ระเบียบ แบบธรรมเนียมทหาร
ส.ค.ส. 2541 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
มาร์ชสี่เหล่า และเพลงปลุกใจ
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการ สห.
โครงการ สขว.ทอ.

โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161



 Supreme Command Headqurters, Royal Thai Armed Forces"


 กรมช่างโยธาทหารอากาศ
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
โรงพยาบาลจันทรุเบกษา
กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง

สารบัญ
หมวด ๑ กล่าวทั่วไป
หมวด ๒ การรักษาการณ์ด้วยทหารอากาศโยธิน
หมวด ๓ การรักษาการณ์ ด้วยสารวัตรทหาร
หมวด ๔ การรักษาการณ์ ด้วยหน่วยรักษาการณ์
หมวด ๕ รก. ด้วยเวรยามประจำส่วนราชการ
หมวด ๖ ว่าด้วย น.เวรอำนวยการ ทอ.
หมวด ๗ เบ็ดเตล็ด
|
ระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยการรักษาการณ์ พ.ศ.๒๕๒๐ (ต่อ)
หมวด ๓ การรักษาการณ์ ด้วยสารวัตรทหาร
ข้อ ๒๗ การจัดกำลัง ให้ที่ตั้งหน่วยทหารซึ่งมีกำลังสารวัตรทหารประจำอยู่ จัดทหารสารวัตร
รักษาการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบตามความจำเป็น
การรักษาการณ์ด้วยสารวัตรทหารตามความในวรรคแรก อาจจัดตั้งขึ้นเป็นศูนย์ควบคุมการ
รักษาการณ์ของหน่วย และให้ศูนย์นี้เป็นศูนย์รองของศูนย์ควบคุมการรักษาการณ์ของหน่วยรักษาการณ์ อากาศโยธินด้วย
สำหรับที่ตั้งกองทัพอากาศดอนเมือง ให้สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง รับผิดชอบการ
จัดกำลังทหารสารวัตรในการรักษาการณ์ด้วยสารวัตรทหาร
ข้อ ๒๘ เจ้าหน้าที่รักษาการณ์ของสารวัตรทหาร โดยปกติให้จัดดังนี้
- ๒๘.๑ นายทหารเวร
- ๒๘.๒ ผู้ช่วยนายทหารเวร
- ๒๘.๓ จ่าเวร
- ๒๘.๔ ผู้ช่วยจ่าเวร
- ๒๘.๕ ยามประจำช่องทาง
- ๒๘.๖ ยามประจำจุดรักษาการณ์
- ๒๘.๗ ยามเฝ้าอากาศยาน
- ๒๘.๘ ยามเฝ้าสถานที่ ทรัพย์สิน และอารักขาบุคคลสำคัญ
- ๒๘.๙ ยามสายตรวจ
- ๒๘.๑๐ เวรเตรียมพร้อม
ข้อ ๒๙ นายทหารเวร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
- ๒๙.๑ บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่รักษาการณ์ ตามข้อ ๒๘.๒ ถึงข้อ ๒๘.๑๐
- ๒๙.๒ รวบรวมเจ้าหน้าที่รักษาการณ์ก่อนจะเข้ารักษาการณ์ ไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง เพื่ออบรม
ชี้แจงระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ที่เวรยามแต่ละแห่งจะต้องปฏิบัติ และข้อบกพร่องต่าง ๆ ในเรื่อง
ที่เกี่ยวกับหน้าที่รักษาการณ์ ตลอดจนตรวจเครื่องแต่งกาย อาวุธ กระสุน ให้เรียบร้อย
- ๒๙.๓ ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
- ๒๙.๔ จะเพิ่ม ลด หรือย้ายหน้าที่เวรยามโดยพลการไม่ได้
- ๒๙.๕ ต้องประจำอยู่ ณ ที่ทำการรักษาการณ์ตลอดเวลา เว้นแต่ไปปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ๒๙.๕.๑ ตรวจการรักษาการณ์
- ๒๙.๕.๒ สอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่
- ๒๙.๕.๓ เมื่อได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา
- ๒๙.๕.๔ จับกุมผู้กระทำความผิด
- ๒๙.๕.๕ รับตัวทหารซึ่งถูกจับกุม
- ๒๙.๕.๖ รายงานเหตุการณ์รีบด่วน
- ๒๙.๖ สั่งเจ้าหน้าที่รักษาการณ์ใช้อาวุธได้ตามสมควรแก่เหตุ จากเบาไปหาหนักและถูกต้อง
ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยสารวัตรทหาร ในกรณีต่อไปนี้
- ๒๙.๖.๑ เพื่อป้องกันรักษาบุคคล สถานที่ หรือสิ่งซึ่งได้รับมอบให้รักษา
- ๒๙.๖.๒ เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุ และอันตรายร้ายแรงขึ้นในเขตรับผิดชอบ
- ๒๙.๖.๓ เพื่อบังคับผู้ต้องขังซึ่งก่อการกำเริบ ทำการขัดขวางเจ้าหน้าที่รักษาการณ์
หนี หรือพยายามหนีจากที่คุมขัง
- ๒๙.๖.๔ เมื่อได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา
- ๒๙.๗ เมื่อได้รับการติดต่อร้องขอจากเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตามข้อตกลงระหว่าง
กระทรวงกลาโหม กับกระทรวงมหาดไทย ให้ส่งกำลังไปช่วยเหลือได้ตามความจำเป็น แต่ต้องไม่ กระทบกระเทือนหน้าที่รักษาการณ์
- ๒๙.๘ เมื่อมีบุคคลต้องบาดเจ็บหรือป่วย ณ บริเวณที่ทำการรักษาการณ์ ให้ช่วยเหลือตาม
สมควร ถ้าได้รับแจ้งอุปัทวเหตุ ให้รีบดำเนินการโดยด่วน
- ๒๙.๙ เมื่อมีเจ้าหน้าที่รักษาการณ์ผู้ใดไม่มาปฏิบัติหน้าที่ หรือเกิดเจ็บป่วย ไม่สามารถปฏิบัติ
หน้าที่ได้ ให้รีบรายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อจัดผู้อื่นแทนโดยด่วน
- ๒๙.๑๐ หากมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย หรือความสงบเรียบร้อย
เกิดขึ้น ให้พิจารณาดำเนินการตามสมควรแก่กรณี
- ๒๙.๑๑ ตรวจตรา ควบคุม การปฏิบัติหน้าที่เวรยามให้เป็นไปตามระเบียบแบบธรรมเนียม
ของทางราชการที่กำหนดไว้
- ๒๙.๑๒ สอบสวนและดำเนินการต่อผู้กระทำผิด ตามระเบียบ และขอบเขตอำนาจหน้าที่
- ๒๙.๑๓ เมื่อมีผู้ต้องขังในที่ทำการของสารวัตรทหาร ให้ปฏิบัติดังนี้
- ๒๙.๑๓.๑ จัดการควบคุมให้เป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบของหน่วย
- ๒๙.๑๓.๒ ระวังป้องกันมิให้ผู้ต้องขังหนีเป็นอันขาด
- ๒๙.๑๓.๓ ให้ผู้ต้องขังได้รับความสะดวกในการรับประทานอาหารตามเวลา
- ๒๙.๑๓.๔ เวลารับส่งหน้าที่ทุกครั้ง ให้ตรวจสอบจำนวนผู้ต้องขังให้ครบถ้วน
- ๒๙.๑๓.๕ ตรวจสถานที่คุมขัง ถ้าปรากฏว่าชำรุด หรือไม่มั่นคงพอ ให้จัดการ
แก้ไข หรือรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ เพื่อจัดการแก้ไขต่อไป
- ๒๙.๑๓.๖ รับคำร้องทุกข์ของผู้ต้องขัง ในเรื่องที่เกี่ยวกับการคุมขังและพิจารณา
แก้ไขตามสมควร หากเกินอำนาจให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบ
- ๒๙.๑๓.๗ การรับ การปล่อย และการย้ายผู้ต้องขัง จะต้องมีหลักฐานและคำสั่ง
ของ ผู้บังคับบัญชา และต้องเป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบ และแบบธรรมเนียมของ ทางราชการ
- ๒๙.๑๓.๘ ถ้าผู้ต้องขังหนี ต้องรีบรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยด่วน
- ๒๙.๑๔ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ที่ทำการของสารวัตรทหาร ให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๑.๑๐ โดยอนุโลม
- ๒๙.๑๕ ประสานการปฏิบัติกับศูนย์ควบคุมการรักษาการณ์ ของหน่วยรักษาการณ์อากาศ
โยธิน และส่วนราชการที่สารวัตรทหารไปรักษาการณ์
- ๒๙.๑๖ ในกรณีที่มีการจัดตั้งเป็นศูนย์ควบคุมการรักษาการณ์ ของหน่วยสารวัตรทหารขึ้น
ให้นายทหารเวรปฏิบัติตามคำสั่งของนายทหารเวรศูนย์ควบคุมการรักษาการณ์ ของหน่วย
รักษาการณ์อากาศโยธิน ในเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาการณ์
ข้อ ๓๐ ผู้ช่วยนายทหารเวร มีหน้าที่ดังนี้
- ๓๐.๑ ช่วยเหลือนายทหารเวร และปฏิบัติตามที่นายทหารเวรมอบหมาย
- ๓๐.๒ ทำหน้าที่แทนเมื่อนายทหารเวรไม่อยู่
- ๓๐.๓ ทำหน้าที่เป็นจ่าอากาศยุทธการ ในกรณีที่ได้จัดตั้งเป็นศูนย์ควบคุมการรักษาการณ์
ของสารวัตรทหารขึ้น หน้าที่คงเป็นไปตามข้อ ๑๒ โดยอนุโลม
ข้อ ๓๑ จ่าเวร มีหน้าที่ดังนี้
- ๓๑.๑ รับแจ้งเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรักษาการณ์ และหน้าที่ของสารวัตรทหาร
- ๓๑.๒ ทำบันทึกรายงานเหตุการณ์ประจำวันที่เกิดขึ้น เสนอผู้บังคับบัญชา
- ๓๑.๓ ทำหลักฐานการรับตัวทหารจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสารวัตรทหารต่างเหล่าทัพ
- ๓๑.๔ ควบคุมดูแลเอกสารต่าง ๆ และสิ่งของเครื่องใช้ ณ ที่ทำการรักษาการณ์ของ
สารวัตรทหาร
- ๓๑.๕ ปฏิบัติตามคำสั่งนายทหารเวร
- ๓๑.๖ ทำหน้าที่เสมียนเวร ในกรณีที่ได้จัดตั้งเป็นศูนย์ควบคุมการรักษาการณ์ของ
สารวัตรทหารขึ้น หน้าที่คงเป็นไปตามข้อ ๑๔ โดยอนุโลม
ข้อ ๓๒ ผู้ช่วยจ่าเวร มีหน้าที่ดังนี้
- ๓๒.๑ ช่วยเหลือจ่าเวร และปฏิบัติตามที่จ่าเวรมอบหมาย
- ๓๒.๒ ทำหน้าที่จ่าอากาศแผนที่ ในกรณีที่ได้จัดตั้งเป็นศูนย์ควบคุมการรักษาการณ์ของ
สารวัตรทหารขึ้น หน้าที่คงเป็นไปตามข้อ ๑๓ โดยอนุโลม
ข้อ ๓๓ ยามประจำช่องทาง และยามประจำจุดรักษาการณ์ มีหน้าที่ดังนี้
- ๓๓.๑ ตรวจยานพาหนะและบุคคล ที่ผ่านเข้าออกช่องทาง หรือจุดรักษาการณ์ ให้ถูกต้อง
ตามระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยการผ่านเข้าออกบริเวณที่ตั้งส่วนราชการ และที่พักอาศัยของ
ทางราชการกองทัพอากาศ และที่พักอาศัยของทางราชการกองทัพอากาศ และระเบียบปฏิบัติของ สถานที่นั้น ๆ
- ๓๓.๒ แนะนำและชี้แจงผู้มาติดต่อขอผ่านเข้าออกช่องทาง หรือจุดรักษาการณ์ ให้ปฏิบัติ
ตามระเบียบกองทัพอากาศ ตามข้อ ๓๓.๑
- ๓๓.๓ รักษาความสะอาดเรียบร้อยของตู้ยาม และบริเวณรอบ ๆ ตลอดจนดูแลรับผิดชอบ
ทรัพย์สินของทางราชการประจำตู้ยาม ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและใช้การได้
- ๓๓.๔ ควบคุมการจราจรบริเวณช่องทาง และจุดรักษาการณ์
- ๓๓.๕ สังเกตบุคคลและยานพาหนะ หากมีพิรุธหรือข้อสงสัยให้รีบรายงานให้นายทหารเวร
ทราบทันที
- ๓๓.๖ รีบแจ้งเหตุการณ์ หรือพฤติการณ์ที่น่าสงสัยให้นายทหารเวรทราบทันที
- ๓๓.๗ ปฏิบัติตามหน้าที่ของยาม ตามข้อ ๒๐ โดยอนุโลม
- ๓๓.๘ เมื่อมีผู้มาติดต่อขอพบบุคคลในสถานที่ราชการ หรือบ้านพักอาศัยของทางราชการ
ต้องติดต่อกับบุคคลนั้นก่อน หากบุคคลนั้นอนุญาตแล้ว จึงยอมให้ผู้มาติดต่อเข้าพบได้
ข้อ ๓๔ ยามเฝ้าอากาศยาน มีหน้าที่ดังนี้
- ๓๔.๑ ตรวจตรา ดูแล ให้ความปลอดภัยกับอากาศยานที่ได้รับมอบหมาย
- ๓๔.๒ ห้ามบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปบริเวณที่จอดอากาศยาน ที่ได้กำหนดเป็น
เขตหวงห้ามไว้
- ๓๔.๓ เมื่อมีผู้ฝ่าฝืนตามข้อ ๓๔.๒ ให้ทำการจับกุม และรายงานให้นายทหารเวรทราบ
เพื่อนำตัวไปสอบสวน
ข้อ ๓๕ ยามเฝ้าสถานที่ ทรัพย์สิน และอารักขาบุคคล มีหน้าที่ดังนี้
- ๓๕.๑ ห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่ตนรับผิดชอบ
- ๓๕.๒ ปฏิบัติตามระเบียบรักษาการณ์ของสถานที่ที่ตนไปรักษาการณ์
- ๓๕.๓ กวดขัน ตรวจตรา ดูแล ตรวจกุญแจประจำสถานที่ หรือทรัพย์สิน ให้อยู่ในสภาพ
เรียบร้อยตลอดเวลา
- ๓๕.๔ ตรวจตรา ป้องกัน มิให้บุคคลผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าพบบุคคลที่ตนอารักขา
- ๓๕.๕ หากมีผู้ใดขอพบบุคคลที่ตนอารักขา ให้ปฏิบัติตามคำสั่งกองทัพอากาศ (เฉพาะ)
ที่ ๕๓/๒๔๙๙ ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๔๙๙ เรื่อง การนำบุคคลเข้าพบผู้บังคับบัญชา โดยอนุโลม
- ๓๕.๖ เมื่อมีบุคคลที่มีพฤติการณ์น่าสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัย ให้ตรวจบัตรแสดงตัว
- ๓๕.๗ เมื่อมีเหตุการณ์ไม่สงบเรียบร้อย หรือไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นภายในเขตรับผิดชอบ
ให้เข้าระงับเหตุทันที แล้วรีบรายงานให้นายทหารเวรทราบ
- ๓๕.๘ เมื่อมีเหตุการณ์ตามข้อ ๓๕.๗ เกิดขึ้นบริเวณใกล้เคียง ให้รีบรายงานนายทหารเวร
ทราบ
ข้อ ๓๖ ยามสายตรวจ มีหน้าที่ดังนี้
- ๓๖.๑ ตรวจตรา ดูแล ในด้านความปลอดภัย และความสงบเรียบร้อยให้ทั่วบริเวณที่ได้รับ
มอบหมาย อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
- ๓๖.๒ เมื่อพบบุคคลที่น่าสงสัย หรืออาจจะแปลกปลอมเข้ามาภายในบริเวณที่รับผิดชอบ
ให้ตรวจบัตรแสดงตัว
- ๓๖.๓ เมื่อพบหรือมีผู้แจ้งเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น ให้เข้าแก้ไขหรือเข้าระงับเหตุทันที
แล้วรายงานให้นายทหารเวรทราบ
- ๓๖.๔ เมื่อจับตัวคนร้ายหรือผู้ต้องสงสัยได้ ให้ควบคุมไว้ แล้วรายงานให้นายทหารเวร
ทราบ
ข้อ ๓๗ เวรเตรียมพร้อม มีหน้าที่ดังนี้
- ๓๗.๑ ต้องอยู่ภายในบริเวณที่ทำการรักษาการณ์ หรือที่ซึ่งผูบังคับบัญชากำหนด ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
- ๓๗.๒ ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทหารเวร
ข้อ ๓๙ ข้อห้ามของยาม ให้ปฏิบัติตามข้อ ๒๒ โดยอนุโลม
ข้อ ๔๐ การติดต่อสื่อสารของสารวัตรทหาร ให้เป็นไปตามแผนป้องกันที่ตั้งหน่วย และตามคำสั่ง
ของผู้มีอำนาจบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่รักษาการณ์
|
หมวด ๑ กล่าวทั่วไป
หมวด ๒ การรักษาการณ์ด้วยทหารอากาศโยธิน
หมวด ๓ การรักษาการณ์ ด้วยสารวัตรทหาร
หมวด ๔ การรักษาการณ์ ด้วยหน่วยรักษาการณ์
หมวด ๕ การรักษาการณ์ ด้วยเวรยามประจำส่วนราชการ
หมวด ๖ ว่าด้วยนายทหารเวรอำนวยการกองทัพอากาศ
หมวด ๗ เบ็ดเตล็ด
|
เหตุด่วน, เหตุร้าย แจ้ง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail:dmbc4@ksc.th.com
|
|