Main Page

Mae Hong Son Big Trip

ประมวลภาพงาน Jazz Concert

Pimai & Panom Rung Historic Park

Chiang Rai trip

Pitsanulok & Pichit trip

Mini Siam trip

Rayong's orchard trip

Phuket trip

Thailand Map & Our Travel routes

About Me

โปรดสละเวลาลงนามในสมุดเยี่ยมชมหน่อยครับ

Email Me

Counter
Since July 12, 2003

Date : November |22| |23| |24| |25| |26| |27| |28| |29| |30|, 2003


November 26, 2003 ... Part |1| |2| |3| |4| |5| |6|
Fifth day ... Leaving Ruam Thai Village(Pang Ung) and go to Rak Thai Village(Mae Or) to taste U-Long tea and some pig's leg. After that we go to Tham Lod or Lod cave and stay at Pai in the end of the day.
วันที่ห้า...ตื่นแต่เช้าเพื่อชมไอหมอก ณ อ่างเก็บน้ำและสวนสน ก่อนที่จะออกจากหมู่บ้านรวมไทย(ปางอุ๋ง)ไปชิมชาอู่หลงและกินขาหมูหมั่นโถวที่หมู่บ้านรักไทย(แม่ออ) หลังจากนั้นแวะเที่ยวถ้ำลอดหรือถ้ำน้ำลอด และไปพักยังรีสอร์ทที่ปาย

 

     
   

นี่ก็อีกดอกหนึ่ง...

     
           
       

อีกห้านาทีแปดโมง...ตรงทางเดินไม่มีผู้คนหลงเหลือแล้ว คงไปทำไร่ทำสวนกันหมด แต่หมอกก็ยังไม่จางหายไปซะทีเดียว นี่แหล่ะเมืองสามหมอก

 
       
           
   
 

บางบ้านเอาพริกที่ตัวเองปลูก มาตากแดดให้แห้งบนแผ่นสังกะสี

   
           
       
ที่นี่แม้เป็นหมู่บ้านเล็กๆ แต่ก็มีการรวมกลุ่มงานฝีมือกันโดยตั้งเป็นกลุ่มทอผ้า บ้านรวมไทย
 
       
           
       
   
นี่แหล่ะครับ CITY 1.5 Exi ยานพาหนะที่พาผมไปไหนต่อไหนโดยไม่งองแงเลย ในภาพจะเห็นน้ำค้างที่เกาะบนรถจากเมื่อคืนอันหนาวเหน็บ
       
           
       
คนยังหนาวเป็นเลย ทำไมเหมียวกับลูกจะหนาวไม่เป็น...."ขอหนูซุกไออุ่นหน่อยนะจ๊ะแม่"
 
       
           
   
 
ดอกหน้าวัวสีแดงสดถูกจัดวางไว้บนโต๊ะรับประทานอาหารของที่นี่
   
           
       

นี่แหล่ะ...กาแฟสดจริงๆ เพราะเพิ่งเก็บมาจากต้นกาแฟพันธุ์อาราบีก้าเพื่อนำมาตากแห้งก่อน

หมู่บ้านรวมไทยแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านที่ปลูกและขายกาแฟพันธุ์อาราบีก้าที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเลยทีเดียว

 
       
   
   
 
ส่วนนี่ก็เมล็ดกาแฟที่กำลังตากแห้ง
   
           
       
น้องซีกับต้นไผ่ที่ดูเหมือนจะสูงและใหญ่ที่สุดในละแวกนี้แล้ว
 
       
           
       

นี่ครับผลผลิตของต้นกาแฟ ตั้งแต่เริ่มขบวนการจนถึงน้ำกาแฟสดร้อนๆให้เราได้ดื่มกิน โดยภาพการจัดเรียงทั้งหมดได้รับความร่วมมือจากคุณลุงปาละโดยเฉพาะเลยนะครับ ดังนั้นผมขอเล่าขบวนการคร่าวๆละกัน เนื่องจากคุณลุงเองต้องการเผยแพร่ความรู้นี้ให้คนทั่วไปได้ทราบเหมือนๆกัน
หมายเลข 1 เป็นต้นกาแฟในที่นี้ปลูกพันธ์อาราบีก้า
หมายเลข 2 เป็นผลกาแฟที่สุกแล้วจะมีสีแดงหรือแดงอมดำ
หมายเลข 3 เป็นเมล็ดกาแฟที่นำเปลือกจาก 2 ออกแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง
หมายเลข 4 เป็นเมล็ดกาแฟที่ตากจนได้ที่แล้ว
หมายเลข 5 เป็นเมล็ดกาแฟที่นำ 4 มาคั่วจนได้ที่ โดยขั้นตอนนี้จะส่งกลิ่นหอมเตะจมูกมาเลยหล่ะครับ (เราอาจจะพบได้บ่อยๆในซุปเปอร์มาเก็ตที่ขายกาแฟแบบชั่งตามน้ำหนัก หรือตามร้านกาแฟสดที่นำเมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่วแล้วไปชงในเครื่องชงกาแฟ)
หมายเลข 6 เป็นเมล็ดกาแฟที่ผ่านการบดหรือตำแล้ว(ที่นี่ไม่มีเครื่องชงกาแฟเลยใช้วิธีการตำให้ละเอียด)
หมายเลข 7 เป็นกาที่ชงกาแฟ โดยนำ 6 มาต้มกับน้ำร้อน
หมายเลข 8 ได้กาแฟสด 1 ถ้วยที่รินจาก 7 ที่ส่งกลิ่นหอมยวนใจเราๆท่านๆ ต่อจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับเราว่าจะเติมครีมเทียมและน้ำตาลอย่างละเท่าไร

   
       
       
หลังจากง่วนจากการฟังคำอธิบายจากลุงปาละ เก้าโมงกว่าพี่ศรีก็ทำกับข้าวเสร็จ โดยมื้อนี้จะมี น้ำพริกอ่องปลากระป๋อง ,ยำปลากระป๋อง และแกงหน่อไม้ดอง โดยเราชวนพี่ศรีและลุงปาละทานด้วยกัน แต่พี่ศรีบอกกับเราว่าที่นี่เขาไม่ทานอาหารมื้อเช้ากัน เริ่มทานกันก็มื้อเที่ยววัน เราสองคนเลยโซ้ยกันเอง
 
       
   
     

หลังจากทานข้าวเสร็จ เราก็เริ่มทะยอยเก็บของออกจากห้องพัก เราถามพี่ศรีว่าหลังจากเรือนเพาะชำแล้วยังสามารถขับเข้าไปอีกได้หรือเปล่า พี่ศรีตอบกับเราว่า ยังมีโครงการเพาะเลี้ยงเขียดอยู่ซึ่งอยู่ไปอีกไม่ไกล และหลังจากนั้นก็ติดชายแดนแล้ว พอเก็บข้าวของเสร็จแล้วเราก็ทำตามธรรมเนียมที่นี่(ผมตั้งขึ้นเองครับ จริงๆมันแล้วแต่ครับ)ซึ่งจะต้องถ่ายรูปเป็นที่ระลึกที่หน้าบ้านพัก ว่าครั้งหนึ่งเราได้มาพักแบบ Home Stay สถานที่อันสุดแสนจะมายากในประเทศไทย นั่นคือปางอุ๋ง

จากนั้นเราจึงขอตัวลากลับ และสัญญาว่ากลับไปแล้วจะส่งรูปกลับมาให้ทางนี้ดู

         
             
         
ก่อนออกจากบ้านรวมไทย เราเลยขับไปดูโครงการเพาะเลี้ยงและขยายพันธ์เขียดแลวแบบธรรมชาติแบบพระราชดำริ ซึ่งอยู่ห่างจากเรือนเพาะชำที่เรามาเมื่อวานไม่ไกลนัก    
         
             
           
      ที่นี่จัดแต่งสวนสวยงามมากครับ ร่มรื่นดี  
           
Continue to Part 3