ประเภทเครื่องตี |
ประเภทเครื่องเป่า |
![]() |
ซอด้วง(ภาคกลาง) เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง ทำ ด้วยไม้เนื้อแข็ง ขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่อง เสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อ แข็ง ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลูกบิดขึ้นสาย อยู่ตอนบน ซอด้วงใช้สายไหมฟั่นหรือสาย เอ็น มี ๒ สาย ขนาดต่างกัน คันชักอยู่ระหว่าง สาย ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ซอด้วงมีเสียงแหลม ใช้ เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย | ||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
ซออู้(ภาคกลาง) เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียงอยู่ด้านตรง ข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอนบนมี ลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซอทำด้วยไหมฟั่น มีคันชักอยู่ระหว่างสาย ความยาวของคันซอ ประมาณ ๖๐ เซนติเมตร คันชักประมาณ ๕๐ เซนติมตร ซอ อู้มีเสียงทุ้มต่ำ บรรเลงคู่และสอดสลับกับ ซอด้วงในวงเครื่องสาย | ||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
ซอสามสาย ู้(ภาคกลาง)เป็นเครื่องดนตรีโบราณชนิดหนึ่งของไทยเรา มีชื่อตามลักษณะรูปร่าง คือ มี 3 สาย เหมือนกับเครื่องดนตรีของจีนที่เรียกว่า สานเสียน (Sanhsien) และเครื่องดนตรีของญี่ปุ่นที่เรียกว่า ซามิเส็น (Shamisen) แต่ทั้งสานเสียนของจีนและซามิเส็นของญี่ปุ้น เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด สานเสียนของจีน กะโหลกเป็นรูปสี่เหลี่ยมลบมุมจนเกือบเป็นรูปไข่ ขึ้นหน้ าด้วยหนังงูเหลือม และดีดด้วยนิ้วมือ ส่วนซามิเส็น ของญี่ปุ่น รูปกะโหลกเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยม ด้านข้างโค้งเล็กน้อยทั้งสี่ด้าน ขึ้นหน้าด้วยไม้ และดีดด้วยไม้ดีดรูปร่างคล้ายๆขวาน แต่เครื่องดนตรีทั้งสองชนิดนี้ ก็มีสามสายเช่นเดียวกับซอสามสายเช่นเเดียวกัน | ||||||||||||||||||||||||||||||
![]() ![]() ![]() |
สะล้อ(ภาคเหนือ) อาจเรียกว่า ถะล้อ ธะล้อหรือ ทะร้อ ซึ่งมีรูปศัพท์เดิมจากภาษขอมว่า ทรอ ซึ่งภาษไทยกลางออกเสียงเป็น ซอ แต่ในโคลงนิราศหริภุญชัยว่า ธะล้อ เป็นเครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชักสีลงบนสายที่ขึงผ่านหน้ากล่องเสียงทำด้วยกะลามะพร้าว ซึ่งตัดด้านหนึ่งออกไปเหลือประมาณ ๒ / ๓ ของกะลาทั้งลูก ตรงที่ถูกตัดออกไปนั้นปิดด้วยไม้เรียบบาง ๆ ซึ่งเรียกว่า ตาดสะล้อ คันทวน ของสะล้อเป็นไม้กลมทำจากไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ ๖๔ เซนติเมตร เสียบทะลุกล่องเสียง ใกล้ ๆ ขอบที่ปิดด้วยตาด ปลายคันทวนเสียบลูกบิด ๒ อันในลักษณะทแยงเข้าไปในคันทวน มีไว้สำหรับผูกสายสะล้อและตั้งสาย สายนิยมใช้สายโลหะมากกว่าสายเอ็นเหมือนซอด้วงและซออู้ ส่วนมากทำจากลวดสายห้ามล้อรถจักรยาน คันชักสะล้อทำด้วยไม้ โค้งงอคล้ายคันศร ขึงด้วยหางม้าหรือสายไนลอน ทบไปทบมาหลายสิบทบ ไม่เอาคันชักขัดไว้ระหว่างสายเหมือนกับซออู้และซอด้วง สิ่งที่ใช้เสียดสีกับสายของคันชักเพื่อให้เกิดความฝืดในขณะสี ได้แก่ ยางสนหรือชัน ซึ่งติดไว้บนกะลาตรงจุดที่ใช้สายคันชักสัมผัสให้เกิดเสียง สะล้อมี ๓ ขนาด ได้แก่ ๑ . สะล้อเล็ก มี ๒ สาย ๒ . สะล้อกลาง มี ๒ สาย ๓ . สะล้อใหญ่ มี ๓ สาย มีวิธีการเล่นซอสามสายแต่ไม่เอาคันชักไว้ระหว่างสาย สะล้อที่นิยมบรรเลงคือสะล้อที่มี ๒ สาย ส่วนสะล้อ ๓ สายไม่ค่อยมีผู้นิยมเล่นเพราะเล่นยากกว่าสะล้อ ๒ สาย นอกจากใช้สะล้อบรรเลงเดี่ยวแล้ว ยังนิยมใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีพื้นเมืองสะล้อ ซึง หรือบางแห่งใช้บรรเลงร่วมกับปี่ชุม ประกอบการซอ บทเพลงที่เล่นมักเป็นเพลงพื้นเมืองของล้านนา ผู้ที่ทำสะล้อขายจะเป็นแหล่งเดียวกันกับที่ทำซึงขายและนักดนตรีที่เล่นเป็นส่วนมากก็จะทำไว้เล่นเองด้วยเหมือนกับซึง |
||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
|
||||||||||||||||||||||||||||||
![]() ![]() |
ซอบั้ง (อีสาน )รูปร่างลักษณะเครื่องสายใช้สี ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ ขังข้อทั้ง ๒ ด้าน ปอกเปลือกและเหลาจนบาง ช่องเสียงอยู่ด้านหลังตรงข้ามกับด้านที่ขึงสาย ด้านบนของซอมีลูกบิดขึงสาย ๒ อัน สายทำด้วยลวด ใช้สีด้วยคันชัก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของซอประมาณ ๗ ซม. ยาวปนระมาณ ๔๕ ซม. คันชักทำด้วยไม้เนื้ออ่อนหรือไม้ไผ่ ยาวประมาณ ๔๐ ซม. ขึงหางม้า ประวัติมีเล่นกันมานานแล้ว ไม่อาจกำหนดเวลาได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
|
|