ประเภทเครื่องตี |
ประเภทเครื่องเป่า |
![]() ขลุ่ยเมือง(ภาคเหนือ) ในการบรรเลงขลุ่ยร่วมกับกับวงดนตรีพื้นเมืองนั้น มักใช้ขลุ่ยหลิบ หรือขลุ่ยพื้นเมือง หรือขลุ่ยที่มีระดับเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ เพื่อให้ได้เสียงที่ตัดกันของเสียงสะล้อ และซึงการเป่าขลุ่ยพื้นเมืองมักมีลูกเล่นที่แพรวพราว ถ้านับเป็นโน๊ตที่จะมีโน๊ตหลายตัวในหนึ่งห้องแต่ก็เป่าได้แต่ผู้ที่ชำนาญแล้ว สำหรับผู้ที่เริ่มเป่าใหม่ ๆ จะเป่าแบบง่าย ๆ ตามทำนองหรือคลอดตามเพลงที่บรรเลงร่วมกัน ก็ได้ พอฝึกเป่าบ่อย ๆ ความชำนาญก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ขลุ่ยพื้นเมืองทำจากท่อพลาสติก, ไผ่รวก หรือประเภทไม้เนื้อแข็งก็ได้ (ต่อ ขวามือ -->> ) |
ขลุ่ยพื้นเมืองเท่าที่พบมีสองชนิดคือ
แบบรูเสียง ๗ รู และรูเสียง ๖ รู แต่แบบ รูเสียง ๖ รู ไม่ค่อยเป็นที่นิยม(
ที่ลำปางมีพ่ออุ้ยอ้วน นามสกุล แปงป้อ บ้านเลขที่ ๘๗หมู่ ๗ ต. ดอนไฟ อ. แม่ทะ จ.
ลำปาง อายุประมาณเก้าสิบกว่าปี ปัจจุบันยังทำขลุ่ย ๖ รูนี้อยู่
พ่ออุ้ยอ้วนบอกเคยเห็น และหัดทำมาแต่เด็ก ๆ แล้ว )
ขลุ่ยพื้นเมืองมีทั้งขนาดเสียงเท่าขลุ่ยหลิบ
และขนาดเสียงต่ำกว่าขลุ่ยหลิบหนึ่งเสียง ขลุ่ยพื้นเมืองแตกต่างจากขลุ่ยหลิบคือ
ขลุ่ยพื้นเมือง ไม่มีรูนิ้วค้ำ ( รูนิ้วหัวแม่มือ ) ในวงดนตรีสะล้อ ซอ ซึง ขลุ่ยหลิบหรือขลุ่ยพื้นเมืองนั้นสามารถกำหนดวิธีการเทียบเสียงได้หลากหลายวิธี เช่น ปิดรูเสียงหมดเป่าเป็นเสียงฟาเสียงซอลหรือเสียงโดก็ได้ ในขั้นต้นนี้ได้กำหนดให้ขลุ่ยหลิบหรือพื้นเมืองเทียบเสียงโดยการปิดรูเสียงทั้งหมดแล้วเป่าเป็นเสียง ฟา ( ปิดรูเสียง ๖ รุ เป่าเป็นเสียงซอล ) เมื่อหัดเป่าเสียงนี้ได้คล่องดีแล้ว ควรจะหัดเป่าโดยปิดรูนิ้วทั้งหมดเป่าเป็นเสียง ซอล และฝึกหัดเป่าโดยปิดรูนิ้วทั้งหมดเป่าเป็นโด ตามแบบวิธีเป่าขลุ่ยเพียงออไปด้วย เพื่อให้สามมารถเป่าได้หลากหลายวิธี |
![]() |
ขลุ่ยอู้
เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่เกิดขึ้นสมัยต้นรัตนโกสินทร์
มีความยาวประมาณ
60
ซ.ม.
กว้าง 4
ซ.ม.
เสียงต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออ
3
เสียง
ใช้ผสมในวงมโหรีเครื่องใหญ่และปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
ขลุ่ยเพียงออ เป็นขลุ่ยหลักที่เกิดขึ้นก่อนขลุ่ยชนิดอื่นและใช้มาแต่สมัยโบราณ มีความยาวประมาณ 45 ซ.ม. กว้าง 2.5 ซ.ม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของไม้ไผ่ ใช้ผสมในวงเครื่องสาย วงมโหรีและวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ขลุ่ยหลีบหรือขลุ่ยหลีก เป็นขลุ่ยขนาดเล็กที่สุด เกิดขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีความยาว ประมาณ 25 ซ.ม. กว้างประมาณ 2 ซ.ม. มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 3 เสียง เป็นขลุ่ยชนิดเดียวที่เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องนำ ใช้ผสมในวงเครื่องสายเครื่องคู่ และวงมโหรีเครื่องใหญ่ |
![]() |
แตรงอน (เป็นเครื่องดนตรีในพระราชพิธี)
น่าจะเข้ามาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากแตรงอนนั้นเป็นแตรของอินเดีย
ซึ่งเลียนแบบมาจากแตรเขาควาย ซึ่งในสมัยโบราณใช้เป่า
เพื่อบอกเหตุร้าย,บอกเวลา,เมื่อนำมาใช้ในพระราชพิธี
แตรเขาควายก็ถูกเปลี่ยนมาทำด้วยโลหะเงินเครื่องประโคมที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของ |
![]() 1. ลูกโหวด ทำจากไม้ไผ่เฮี้ย มีลัษณะผิวบาง ประเภทของโหวด โหวดมี 3 ประเภท คือ 1. โหวดกลม ใช้เป่าเป็นเครื่องดนตรีประกอบวงดนตรีพื้นเมืองอีสาน
นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน 1. ใช้มือซ้ายหรือมือขวาจับโหวด โดยให้หัวแม่มืออยู่ที่ลูกโหวดลูกที่ 1 ลูกใหญ่
นิ้วชี้อยู่ในลูกที่ 4 ลายโหวดหรือทางดนตรีโหวด ประกอบการแสดงส่วนมากเป็นลายที่แต่งขึ้นใหม่ โดยอาศัยทำนองจากลายแคน จากทำนองหมอลำ จากทำนองสรภัญญะบ้าง การเก็บรักษา ควรเก็บรักษาโหวดในที่มีอุณหภูมิต่ำ และปลอดภัยจากแมลงรบกวน ควรเก็บไว้ในกล่อง หรือ ถุงผ้า แหล่งผลิตโหวดคือ อำเภอหนองพอก อำเภอเมืองร้อยเอ็ด วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด (ต้นตำรับในการผลิตโหวดเพื่อใช้ประกอบดนตรีและจำหน่าย) |
โหวด ประวัติความเป็นมาเดิมโหวดเป็นของเล่นของเด็กเลี้ยงควายภาคอีสานทั่วๆไป ใช้เล่นในช่วงปลาย ฤดูฝน ก่อนเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ใช่เล่น 3 กรณี คือ 1. เป่าเล่นเพื่อประโลมใจขณะขี่หลังควาย หรือ พาควายเล็มหญ้าตามทุ่งนา |
![]() |
์สังข ์(เป็นเครื่องดนตรีในพระราชพิธี)
เป็นแตรสมัยดึกดำบรรพ์ นับถือกันว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ทำด้วยเปลือกหอยตัวโตขัดผิวให้เกลี้ยง แล้วเจาะรูที่ก้นหอยเพื่อใช้เป่า |
![]() |
แตรฝรั่งหรือ แตรเดี่ยว และแตรงอน แตรฝรั่ง หรือแตรวิลันดา (Natural Trumpet)
บางครั้งเรียกว่าแตกฟันฟาร์ (Funfare ) ได้นำมาใช้ในพระราชพิธี |
|
วิธีเล่น
ใช้จ้องหน่องวางระหว่างปากของผู้บรรเลง และใช้ลมเป่าจากปาก
หรือสูดลมเข้าพร้อมกับดึงเชือกที่ผูกไว้กับหัวจ้องหน่องเป็นระยะสม่ำเสมอ
โดยให้กระพุ้งแก้มเป็นที่อาศัยให้เกิดเสียงหนักเบาตามที่ต้องการ จ้องหน่องมีลักษณะคล้ายเครื่องดนตรีไทยอีกชนิดที่เรียกว่า "เพลี้ย" ถือเป็นเครื่องเล่นตระกูลเดียวกัน แต่จ้องหน่องมีหางยาว ยาวเลยข้อศอกไปอีกเมตรเศษ เหลาเรียวบาง ไหว สะเทือน เลื้อยเลี้ยวไปมาได้เหมือนงู สันนิษฐานว่า จ้องหน่องและเพลี้ยเป็นวิวัฒนาการทางดนตรีของไทยอย่างหนึ่ง สังเกตและสันนิษฐานได้ว่าเกิดขึ้นภายหลังขลุ่ย เพราะขลุ่ยได้แบบอย่างจากธรรมชาติ ที่เมื่อเกิดพายุแรงจัดพัดผ่านรูไม้ จึงเกิดเป็นเสียงขึ้นมา ส่วนจ้องหน่องเกิดจากฟากไม้ไผ่ที่สับทำเป็นที่รองนอน เมื่อยกขึ้นกวัดแกว่งทั้งฟาก พอลมพัดรอบที่สับไว้ จึงเป็นเสียงสั่นสะเทือนทั้งบัณเฑาะว์และจ้องหน่อง แม้จะเห็นไม่บ่อยแต่ก็เป็นเครื่องดนตรีที่ยังเล่นกันอยู่ ตามชมรมดนตรีไทยในมหาวิทยาลัยต่างๆ โรงเรียนสอนดนตรีไทย หรือกรมนาฏศิลป์ยังน่าจะมีให้เห็น |
|
ขลุ่ยนก เป็นขลุ่ยพิเศษทำขึ้นเพื่อเลียนเสียงสัตว์ต่างๆโดยเฉพาะนก ใช้บรรเลงประกอบในวงดนตรี เพื่อให้เกิดจินตนาการในการฟังเพลงให้ดียิ่งขึ้น บางครั้งยังใช้ลิ้นปี่มาประกอบกับตัวขลุ่ย เพื่อเลียนเสียงไก่ ขลุ่ยพิเศษเหล่านี้ นิยมใช้บรรเลงเพลงตับนกและตับภุมรินทร์ |