ประเภทเครื่องตี |
ประเภทเครื่องเป่า |
|
ระนาดที่ทำด้วยโลหะแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ(ภาคกลาง) 1.ระนาดเอกเหล็ก
เป็นเครื่องดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
รางระนาดเอกเหล็กทำด้วยไม้
มีลักษณะแนวขนานตรงกับพื้นตัวรางอาจจะแกะสลักปิดทองหรือไม่ก็ได้
ลูกระนาดเอกเหล็กทำด้วยโลหะจำพวกเหล็ก หรือบางครั้งใช้อลูมิเนียม มีทั้งสิ้น ๒๐ -
๒๑ ลูก ไม้ที่ใช้ตีเป็นไม้แข็ง คล้ายไม้ของระนาดเอกไม้ หน้าที่ของระนาดเอกเหล็ก คล้ายผู้ช่วยพระเอก
ลักษณะการบรรเลงคล้ายกันกับระนาดเอกไม้ 2.ระนาดทุ้มเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระอนุชาธิราช ในรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงประดิษฐ์ขึ้น โดยยึดหลักจากกล่องเพลงที่ฝรั่งนำมาขายในสมัยนั้น กล่องเพลงนี้ภายในมีลักษณะคล้ายรูปหวี มีขนาดสั้นไปหายาวเรียงกัน เมื่อไขลาน จะมีแท่งโลหะรูปทรงกระบอกหมุน บนผิวทรงกระบอกนั้น มีปุ่มโลหะซึ่งจัดไว้ให้หมุนไปสะกิดหวีโลหะนั้น เหมือนเราใช้เล็บกรีดหวีเล่น ก็จะเกิดเป็นเสียงออกมา กล่องเพลงที่กล่าวถึงนี้ ปัจจุบันก็ยังมีขาย ด้วยยังนิยมใช้กันอยู่สำหรับวางหูโทรศัพท์ เพื่อรอคนมารับสายจากการบันทึกของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทำให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง ประการแรกคือ ระนาดทุ้มเหล็กนี้ ช่วยให้วงดนตรีของไทยขยายขาดขึ้น โดยที่เมื่อนำระนาดเหล็กนี้เข้าประสมกับวงดนตรีไทยด้วยแล้ว จะทำให้ "วงดนตรีปี่พาทย์เครื่องคู่" เปลี่ยนไปเป็น "วงดนตรีปี่พาทย์เครื่องใหญ่" ทันที ซึ่งทำให้เกิดเสียงประสานดังไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้นระนาดเหล็กนี้ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้นำมาประสมเป็นวง "ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์" ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และในปัจจุบันก็มีวงดนตรีไทยหลายวงที่นำระนาดเอกเหล็กไปประสมกับวงเครื่องสาย เกิดเป็นวงดนตรีที่เรียกกันว่า "เครื่องสายผสมระนาดทอง" ขึ้นมาอีก เช่น วงดนตรีของคณะ สำเนียง ไพเราะ ของคุณสำเนียง พักภู่ลักษณะของระนาดทุ้มเหล็ก ตัวรางระนาดทำด้วยไม้ อาจแกะสลักปิดทองหรือไม่ก็ได้ ส่วนลูกระนาดทุ้มทำด้วยโลหะจำพวกเหล็กหรืออลูมิเนียม เช่นเดียวกับระนาดเอกเหล็ก แต่ระนาดเอกเหล็กมีขนาดที่ใหญ่กว่าหน้าที่ของระนาดทุ้มเหล็ก บรรเลงทำนองหลักของเพลง เสียงของระนาดทุ้มเหล็กดังก้องกังวานกระหึ่ม จึงต้องตีห่าง เฉพาะเสียงตกในแต่ละจังหวะ ดังนั้นผู้ที่จะบรรเลงระนาดทุ้มเหล็กได้ดีต้องเป็นคนที่แม่นเพลงพอสมควร |
||
![]() |
ระนาดทองหรือระนาดเอกเหล็ก (ภาคกลาง) เป็นเครื่องโลหะที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเลียนแบบระนาดเอก(ไม้) และใช้ในลักษณะเดียวกัน ระนาดชนิดนี้ ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่เดิมลูกระนาดทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกว่า ระนาดทอง สำหรับการเล่นหรือวิธีบรรเลง มีวิธีเช่นเดียวกับระนาดเอก แต่ในทางเก็บ ทางขยี้มีน้อยกว่า ระนาดเอก ปัจจุบัน ใช้บรรเลงในวงมโหรีและวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ โดยบรรเลงคู่กับระนาดทุ้มเหล็ก | ||
|
ฆ้องมอญ (ภาคกลาง)เป็นฆ้องวงที่ตั้งโค้งขึ้นไปทั้งสองข้าง ไม่วางราบไปกับพื้นเหมือนกับฆ้องไทย วงฆ้องส่วนที่โค้ง ขึ้นไปนั้น แกะสลักเป็นลวดลายปิดทองประดับกระจกอย่างงดงาม ส่วนมากมักแกะเป็นรูปกินนร เรียกกันว่าหน้าพระ ตอนกลางโค้งแกะเป็นกระหนกใบเทศปิดทองประดับกระจกเช่นกัน มีเท้ารองตรงกลางเหมือนกับเท้าของระนาดเอก ฆ้องมอญวงหนึ่งๆมีจำนวน 15 ลูก สำหรับใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ รามัญ หรือปี่พาทย์มอญ วงฆ้องมอญมี 2 ชนิดเช่นเดียวกับฆ้องไทย คือมีฆ้องมอญใหญ่ และ ฆ้องมอญเล็ก |
||
|
ฆ้องวงใหญ่ (ภาคกลาง) เป็นเครื่องดนตรีที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมาจากฆ้องเดี่ยว ฆ้องคู่ และฆ้องราว
วงฆ้องใช้ต้นหวายโป่งทำเป็นร้าน สูงประมาณ 24 ซม
ระหว่างหวายเส้นนอกกับหวายเส้นในห่างกันประมาณ 14 17 ซม
ดัดให้โค้งเป็นวงรอบตัวคนนั่งตี เปิดช่องด้านหลังคนตีเป็น |
||
|
ฆ้องวงเล็ก (ภาคกลาง) เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีขนาดย่อมกว่าฆ้องวงใหญ่ วัดจากขอบวงในด้านซ้ายมือ ถึงของวงในด้านขวา กว้างประมาณ 80 ซม เรือนฆ้องสูง 20 ซม ฆ้องวงเล็กมีทั้งหมด 18 ลูก ลูกต้นวัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 13 ซม ลูกยอดมีขนาดประมาณ 9.5 ซม ใช้บรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์ ในวงปี่พาทย์วงหนึ่งๆนั้น จะใช้ฆ้อง 2 วง คือ ฆ้องวงใหญ่ และ ฆ้องวงเล็ก |
||
|
ฉิ่ง (ภาคกลาง) เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทตี ทำด้วยทองเหลือง หล่อหนา ปากผายกลม 1 ชุด |
||
|
ฉาบ เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ทำด้วยโลหะเมือนกันคล้ายฉิ่ง แต่หล่อให้บางกว่า ฉาบมี 2 ชนิดคือฉาบเล็ก และ ฉาบใหญ่ฉาบเล็กมีขนาด ที่วัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 14 ซมส่วนฉาบใหญ่มีขนาดที่วัดผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 24 26 ซม เวลาบรรเลงใช้ 2ฝามาตีกระทบกัน ให้เกิดเสียงตามจังหวะ เมื่อฉาบทั้งสองข้างกระทบกันขณะตีประกบกันก็ จะเกิดเสียง ฉาบ แต่ถ้าตีแล้วเปิดเสียงก็จะได้ยินเป็น แฉ่ง แฉ่ง แฉ่งเป็นต้น |
||
|
ขิมเหล็ก |
||
|
ฆ้องชัย รูปร่างเหมือนโหม่ง แต่ขนาดใหญ่กว่า มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80 เซนติเมตร เวลาตีเสียงดังกระหึ่มกังวานก้องไปไกล เรียกชื่อตามเสียง ที่ได้ยินว่า ฆ้องหมุ่ย นิยมใช้ตีในงานมงคลต่างๆเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย จึงเรียกชื่อฆ้องชนิดนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ฆ้องชัย |
||
|
ฆ้องเหม่ง เป็นฆ้องขนาดเล็ก หล่อด้วยโลหะหนาเกือบ 1 เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 19 เซนติเมตร สมัยก่อนใช้ตีเดี่ยวในการบรรเลง วงบัวลอย ปัจจุบันไม่ได้ใช้ในวงดนตรี |
||
|
ฆ้องโหม่งหรือ โหม่ง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30-45 เซนติเมตร เวลาตีเสียงดัง โหม่งๆ เดิมใช้ตีบอกเวลาในเวลากลางวัน เราจึงเรียกหน่วยของเวลา ในตอนกลางวันว่า โมง หรือ ชั่วโมง และใช้กลองตีบอกเวลาในตอนกลางคืน ปกติเสียงกลองจะดัง ตุ้มๆ จึงเรียกหน่วยเวลาในตอนกลางคืนว่า ทุ่ม มาจนทุกวันนี้ |
||
![]() |
ฆ้องวงชัย(ฆ้องดึกดำบรรพ์) เมื่อรัชกาลที่ ๕ กรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงปรับปรุงวงปี่พาทย์สำหรับประกอบการแสดงละคอน ณ โรงละคอนที่ทรงตั้งชื่อโรงว่า "ดึกดำบรรพ์" ได้ทรงนำเอาฆ้องหุ่ย หรือฆ้องชัย ๗ ลูก มาปรับเสียงใหม่ให้มีสำเนียงเป็น ๗ เสียง แล้วทำที่แขวนเรียงรอบตัวคนตีสำหรับตีเป็นจังหวะห่าง ๆ ตามเสียงของทำนองเพลง ประกอบในวงปี่พาทย์สำหรับกับละคอนโรงนั้น คนทั้งหลายจึงเรียกละคอนอย่างที่แสดง ณ โรงนั้นว่า "ละคอนดึกดำบรรพ์" และเลยเรียกวงปี่พาทย์ที่ทรงปรับปรุงขึ้นสำหรับละคอนนั้นว่า "ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์" ไปด้วยจึงเกิดมีวงฆ้องชัยขึ้นอีกอย่างหนึ่งด้วยเหตุนี้ ฆ้องเดี่ยวก็ดี ฆ้องคู่ก็ดี ฆ้องราวหรือฆ้องระเบงก็ดี เป็นเครื่องตีให้จังหวะแต่การประดิษฐ์ฆ้องรางและฆ้องวงขึ้นเป็นเหตุให้สามารถเล่นเป็นทำนองได้ และฆ้องทุกชนิดถ้าตีแล้วยังเกิดเสียงไม่ได้ที่ เขาใช้ขี้ผึ้งผสมกับตะกั่วติดตรงกับปุ่มกลางด้านในเป็นการถ่วงให้ได้เสียงตามแต่จะต้องการ |
||
![]() |
ขิม แต่เดิมแล้วนั้นเครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นของประเทศจีน ขิมเริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยชาวจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดนนำมารวมอยู่ในวงเครื่องสายจีน ซึ่งนำมาใช้ในการประกอบการแสดงงิ้วและนำมาบรรเลงในงานเทศกาลต่าง ๆ จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 6 นักดนตรีของไทยได้มาขิมของจีนแต่เดิมมาบรรเลง และได้ดัดแปลงแก้ไขบางอย่าง คือ เปลี่ยนจากสายลวดมาเป็นสายทองเหลืองให้มีขนาดโตขึ้น เทียบเสียงเรียงลำดับไปตลอดถึงสายต่ำสุด เสียงคู่แปดมือซ้ายและมือขวามีระดับเกือบจะตรงกัน เปลี่ยนไม้ตีให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและก้านแข็งขึ้น หย่องที่หนุนสายมีความหนากว่าเดิมเพื่อให้เกิดความสมดุลและเพื่อเพิ่มเสียงให้มีความดังมากยิ่งขึ้น และไม่ให้เสียงที่ออกมามีความแกร่งกร้าวจนเกินไป ให้ทาบหนังหรือสักหลาดตรงปลายไม้ตี ส่วนที่กระทบกับสายทำให้เกิดความนุ่นนวล และได้รับความนิยมบรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายผสมของไทยในปัจจุบัน |
||
![]() |
ฆ้องคู่ ฆ้องขนาดเล็กสองใบ ใบหนึ่งเสียงต่ำ ใบหนึ่งเสียงสูง ใช้ผูกคว่ำไว้บนราง มีลักษณะเป็นหีบไม้ เวลาตีเกิดเสียงดัง โหม้ง-เม้ง หรือ โหน้ง-เนง ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ชาตรี ประกอบการแสดงโนรา และละครชาตรี ประดิษฐ์ขึ้นพร้อมกับการแสดงโนราชาตรี นิยมเล่นกับแถบจังหวัดภาคใต้มาก่อน นิยมเล่นประกอบการแสดงหนังตะลุง |
||
![]() |
ฆ้องราง มีรางสำหรับแขวนลูกฆ้อง จำนวน 7-8 ลูก เทียบเสียงสูง-ต่ำลดหลั่นกันครบ 7-8 เสียง ใช้บรรเลงทำนองได้ ปัจจุบันไม่มีใช้ในวงดนตรีไทย |
||
|
ฆ้องราว ใช้ฆ้องสามใบ ขนาดลดหลั่นกัน ใหญ่ กลาง เล็ก แขวนเรียงกันตามขนาด ใช้บรรเลงประกอบการแสดงมหรสพโบราณ เรียกว่า ระเบง จึงเรียกชื่อฆ้องชนิดนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ฆ้องระเบง |