![]() |
![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
||
![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() |
YEARS
OF VW 1 9 4 9 - 1 9 5 5 Page 2 : 1 9 5 6 - 1 9 6 3 1 9 6 4 - 1 9 7 1 |
![]() ![]() |
|
: 1956 : 1957 : 1958 : 1959 : 1960 : 1961 : 1962 : รถเต่าทองผลิตขึ้นมาขายตั้งแต่สมัยสงครามโลกเป็นต้นมา แต่รถเริ่มมาแพร่หลายตั้งแต่ปี 1 9 5 4 ผู้ที่ไม่คุ้นเคย กับรถโฟล์คจริงๆ แล้วยากที่จะบอกได้ว่าเป็นรถรุ่นไหน รถโฟล์คเป็นรถที่ทนทานเชื่อถือได้อย่างไรก็ตามรถที่ผลิต ออกมาแต่ละรุ่นนั้นยังมีข้อบกพร่องบางประการประจำรุ่น จึงขอเล่าวิวัฒนาการ และ ข้อบกพร่องของรถรุ่นต่างๆ ตั้งแต่ต้น จนมาถึงรุ่นสุดท้าย เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ที่สนใจ จะได้เลือกซื้อรถรุ่นเก่ามาใช้ได้ถูกต้องการสังเกตรูปพรรณ ของรถโฟล์คว่าเป็นรุ่นไหนนั้นไม่มีอะไรเชื่อถือได้ เท่าตรวจดูหมายเลขชัสซีซึ่งพิมพ์ติดอยู่ที่สันกลางใต้เบาะที่นั่งหลัง และที่แผ่นป้ายอลูมิเนียมหลังที่วางยางอะหลั่ยอีกแห่งหนึ่ง รถบางคันใช้ตัวถังเก่าแต่เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ ดังนั้น หมายเลขเครื่องยนต์ที่พิมพ์อยู่ใต้ฐานรองไดนาโมชาร์จ ควรนำมาประกอบการพิจารณาด้วย
|
![]() |
1
9 5 6 เต่าทองปี 1956 ดังที่กล่าวมาแล้ว รถรุ่นนี้เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 1955 เป็นต้นไป รุ่นนี้โรงงานติดปลายท่อไอเสียคู่ชุบโครเมี่ยม ในรถรุ่นก่อนปลายท่อไอเสียมีท่อเดียว กันชนหน้าหลังเริ่มประดับประดาท่อโค้งกลมโก่งเป็นคันศรอยู่เบื้องบนปีนี้โรงงานขายรถในอเมริกาได้ถึง 50,000 คันชัสซีหมายเลข925, 746 ถึง1, 246 ,618 |
||
|
|||
![]() |
1
9 5 8 - 1 9 5 9 เต่าทองปี 1958 และ ปี 1959 ลักษณะส่วนใหญ่จะเหมือนรถปี 1957กระจกหลังขยายใหญ่ขึ้น ไฟสัญญาณเลี้ยวขึ้นมาอยู่ตรงส่วนบนของบังโคลน เบรคทำใหญ่ขึ้นกว้างกว่ารุ่นก่อน คลัชปรับปรุงเเข็งขึ้นรถ 2 ปีนี้เป็นรุ่นที่น่าซื้อใช้ เครื่องยนตร์รุ่นนี้ทนทานมีชื่อมากเจ้าของรถหลายคันใช้ได้ถึง 100,000 ก.ม.โดยไม่ต้องถอดออกมายกเครื่อง จุดที่ต้องเพ่งเล็งตรวจสอบเมื่อจะซื้อเหมือนกับรถรุ่นปี 57เลขชัสซีรุ่นปี 1958หมายเลข 1,600,440 ถึง 2,007,615 สำหรับปี 1959 เริ่มหมายเลข 2,007,616 ถึง 2,528,6679 |
||
|
|||
![]() |
1
9 6 1 เต่าทองปี 1961 เป็นปีแรกที่โรงงานเปลี่ยนเครื่องยนต์ จาก 36 แรงม้า เป็น 40 แรงม้าเคล็ดลับในการสังเกต เครื่องยนต์ทั้ง2รุ่นให้ดูที่ฐานรองรับไดนาโมชาร์จ ของ เครื่องยนต์ท้ายรถรุ่น 36 แรงม้าฐานหล่อเป็นชิ้นเดียว กับเสื้อเครื่อง ( Crankcase )รุ่น 40 แรงม้าฐาน ประดิษฐ์ต่อเข้ากับเสื้อเครื่องโดยยึดน๊อต 4 ตัว การ เปลี่ยนแปลงของรถรุ่นนี้ ปรากฏว่ามีข้อบกพร่อง อยู่หลายประการเริ่มตั้งแต่การผลิตในปีนั้นโรงงานใน เยอรมันต้องสั่งซื้อเหล็กกล้าไปจากอเมริกา เนื้อเหล็ก รุ่นนี้สู้รุ่นก่อนไม่ได้ รุ่นนี้มีเรื่องปวดหัวตรงตีนวาล์ว คือวาล์วดังห้องเกียร์รุ่นนี้ไม่ค่อยทน สืบเนื่องมาจาก เนื้อเหล็กที่ว่ารถรุ่นนี้ทำชื่อเสีย ตรงที่เกียร์ 4 หลุดเก่ง และเฟืองเกียร์ ดังฉะนั้นถ้าซื้อรถรุ่นนี้ควรระวังให้ดี ี รายการเปลี่ยนแปลงของรถรุ่นนี้มีดังนี้ มีปุ่มกดนำยา ล้างกระจก เนื้อที่ใส่ของในรถกว้างขึ้น ขั้วต่อสายไฟ เปลี่ยนมาใช้ขั้วเสียบรูปใบพาย สวิตซ์สตาร์ทมีล็อค กันสตาร์ทรถซ้ำ ชัสซีหมายเลข3,192,507 ถึง 4,010,994 |
||
|
|||
![]() |
1 9 6
3 เต่าทองปี 1963 รถรุ่นนี้มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมกลางปีด้วย ฉะนั้นรถรุ่นนี้ปลายปีจึงมีอะไรบางอย่างแตกต่างไปจากรถที่ออกตรงต้นปี เรียกกันว่า รถหัวมงกุฏท้ายมังกร ผ้าหุ้มเบาะเปลี่ยนใช้วัสดุใหม่ตอนกลางปี แบบใหม่ช่วยให้ล้างทำความสะอาดง่ายพื้นรถมีการบุกระดาษน้ำมัน ช่วยให้เสียงเงียบ ราง ใส่บานกระจกหน้าต่างใช้ในล่อน ติดระบบ Heater ในรถ รุ่นนี้จะดูท่อไออุ่นทำด้วยกระดาษย่น 2 ท่อ จากกรอบพัดลมตรงเครื่องยนต์ท้ายรถชัสซีหมายเลข4,846,836 ถึง 5,677,118 |
||
|
|
||
|