ถึงแม้โรงเรียนจะเปิดสอนถึงชั้นมัธยมหก
เด็กชายยงก็ต้องออกจากโรงเรียนหลังจากขึ้นมัธยมห้าได้ไม่นาน เพราะทางบ้านฐานะไม่ดี
มีลูกหลานมาก จึงออกมาไปฝึกงานผสมยากับโอสถสภา กลางคืนไปเรียนภาษาอังกฤษ
แต่เมื่อไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยง จึงลาออกไปทำงานที่โรงแรมโอเรียนเต็ล
ขณะนั้นอายุได้ ๑๗ ปี ทำงานได้สักปีก็ลาออกไปทำงานที่กรมศุลกากรในตำแหน่งเสมียน
ซึ่งได้รับการยกเว้น การเกณฑ์ทหาร และมีโอกาสได้เรียนภาษาอังกฤษกับนายนอร์แมน
แมกซ์เวล ผู้เป็นหัวหน้า
รับราชการก้าวหน้ามาโดยตลอด
และได้เลื่อนตำแหน่งจากขุน เป็นหลวง เป็นพระ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเมื่ออายุได้
๓๖ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีเหตุต้องออกจากราชการในปี พ.ศ.
๒๔๗๖ ขณะนั้น ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดี แต่สองปีถัดมา หลวงวิจิตรวาทการ
อธิบดีกรมศิลปากร ก็ชวนให้กลับมารับราชการในตำแหน่งหัวหน้ากองศิลปาการ
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ต่ำกว่าเดิม อย่างไรก็ตามพระยาอนุมานราชธนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถมาก
จึงได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นตามลำดับ และได้เป็นอธิบดีกรมศิลปากรในที่สุด
ซึ่งภายหลังการเกษียณอายุราชการและการต่ออายุราชการหลายครั้ง จึงออกจากราชการมารับบำนาญ
และถึงแม้จะเกษียณอายุแล้วก็ยังมิได้หยุดการศึกษาเรียนรู้และการทำงาน
ยังคงเขียนหนังสือและตำราออกมาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะงานเขียนร่วมกับพระสารประเสริฐ
(ตรี นาคะประทีป) ซึ่งทำงานคู่กันโดยใช้นามปากกาคู่แฝดว่า เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
ผลิตหนังสือ ตำรา และวรรณกรรมออกมาจำนวนมาก
พระยาอนุมานราชธนได้ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์
และมีใจสัตย์ซื่อ แม้ในยุคที่จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีฯ
มีนโยบายแบ่งที่ดินให้กับข้าราชการ ท่านก็ปฏิเสธมิได้รับ และส่งคืน
แม้แนะนำผู้หญิงให้ ท่านก็มิได้รับ ถึงแม้ว่ายุคนั้นการมีภริยาหลายคนจะเป็นเรื่องปรกติก็ตาม
พระยาอนุมานราชธนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่
๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒
|