นางเคลื่อน
พานิช ทำพินัยกรรมมอบเงินเป็นทุนต้นตระกูลพานิช ใช้ดอกผลในการทำนุบำรุงสวนโมกข์และคณะธรรมทาน
งานหลักของพระเงื่อมนั้น
ประกอบด้วย การก่อตั้งสวนโมกขพลาราม คณะธรรมทาน และการเผยแพร่พระพุทธศาสนา
สวนโมกขพลารามนั้น เป็นรูปแบบของวัดตามแบบพุทธกาล เน้นการอยู่กับธรรมชาติ
ปฏิเสธการสร้างถาวรวัตถุขนาดใหญ่ ในปี
พ.ศ. ๒๔๘๖ ก็ได้ซื้อที่บริเวณวัดธารน้ำไหล ถึงแม้จะมิได้สร้างอุโบสถหรือเจดีย์
แต่ก็สร้างเรือนพัก หอประชุม เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีผู้สนใจมาปฏิบัติธรรมมากขึ้น
โรงมหรสพทางวิญญานก็เป็นที่รวมพุทธศิลป์ ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ตามแบบโบราณ
ดังเช่นภาพพุทธประวัติจากหินสลัก หรือธรรมจักรของอินเดีย และภาพปริศนาธรรมของทิเบตและจีน
รูปแบบของสวนโมกข์นั้น พุทธศาสนิกชนทางเชียงใหม่ก็นำไปจัดตั้งพุทธนิคม
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐
ตลอดเวลาที่อยู่สวนโมกขพลาราม
ก็ทำงานศึกษาธรรมะ และเผยแพร่พุทธศาสนา โดยปฏิเสธพิธีกรรม และวัตถุนิยม
เนื่องจากมีความสนใจหลายด้าน รวมถึงพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ได้นำหลักคำสอนเรื่อง
ความว่าง มาสอนในสังคมไทยเป็นคนแรก ๆ ทั้งยังยกเรื่องปฏิจจสมุปบาท
และอิทัปปจจยตา มาสอนอย่างจริงจัง ทั้งที่ครูบาอาจารย์โบราณไม่นิยมเทศนาเพราะเห็นเป็นเรื่องยาก
ตีความเรื่องอิทัปปจจยตา
ด้วยกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ทำให้ขัดแย้งกับครูอาจารย์รุ่นเก่าหลายท่าน
ทั้งยังเขียนเรื่อง ธัมมิกสังคมนิยม ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงหลักธรรมในศาสนาเข้ากับสังคม
แต่ก็ทำให้ถูกจับตามองว่าเป็นพวกหัวเอียงซ้าย
มีงานเขียนมาก
ทั้งที่เป็นหนังสือ บทความ ซึ่งส่วนใหญ่รวบรวมและเรียบเรียงจากคำเทศนา
จัดระเบียบไว้เป็นหมวดหมู่ แม้กระทั่งจดหมายที่พิมพ์ติดต่อกับบุคคลร่วมสมัย
ก็มีสำเนาเก็บไว้ครบถ้วน วารสาร "พุทธสาสนา" รายสามเดือนก็เริ่มจัดทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๔๗๖ มีงานเขียนของทางมหายาน เซน กฤษณมูรติ และปัญญาชนไทยร่วมสมัย
มานำเสนออย่างสม่ำเสมอ
ผลงานทางพุทธศาสนาของท่านได้รับความสนใจมาก
โดยเฉพาะจากปัญญาชนร่วมสมัย และชาวตะวันตกที่มีความสนใจพุทธศาสนานิกายเถรวาท
ได้รับเชิญไปแสดงปาฐกถาหลายแห่ง ได้เลื่อนสมณศักดิ์ตำลำดับจนเป็นพระเทพวิสุทธิเมธี
แต่ก็ไม่เคยเปลี่ยนนามตนเองที่ตั้งไว้ว่า "พุทธทาส" เพื่อทำตามปณิธานที่ตั้งใจไว้
คือเป็นทาสรับใช้แห่งพระพุทธเจ้าตลอดชีวิต
มรณภาพเมื่อวันที่
๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ สิริรวมอายุได้ ๗๖ ปี
|