ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐
จิตรจบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่วิทยาลัยครูเพชรบุรี
และเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ในขณะเดียวกัน
จิตรเข้าเรียนต่อปริญญาโทที่สถาบันค้นคว้าเรื่องเด็กของยูเนสโก ที่มหาวิทยาลัยประสานมิตร
จากแนวความคิดของจิตร หนังสือรับน้องใหม่ของศิลปากรจึงออกมาแหวกแนวเช่นเดียวกับหนังสือของจุฬาฯ
ในหนังสือเล่มนี้ บทความของจิตร "ศิลปเพื่อชีวิต" ภายใต้นามปากกาว่า
"ทีปกร" ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรก
วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ จิตรถูกจับพร้อมกับบุคคลอื่น
ๆ ที่ต่อสู้เืพื่อประชาชนในข้อหา "มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์"
และ "สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร"
เป็นผลมาจากการยึดอำนาจและการใช้นโยบายปราบปรามของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ จิตร ภูมิศักดิ์ได้ัรับการปล่อยตัว เนื่องจากศาลกลาโหมยกฟ้อง
จิตรถูกคุมขังอยู่นานถึง ๖ ปี โดยไม่มีความผิด ระหว่างที่อยู่ในคุก
จิตรได้ทุ่มเวลาเขียนหนังสือ ผลงานเด่นที่สุดของจิตรขณะที่อยู่ในคุกคือ
"ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ"
ซึ่งเป็นผลงานทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษ
เดือนตุลาคม ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ จิตรได้เดินทางสู่ชนบทอิสาน
เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในนาม "สหายปรีชา"
สหายปรีชาเดินทางมุ่งสู่ที่มั่นกลางดงพระเจ้า สหายปรีชาใช้ชีวิตอยู่ที่ดงพระเจ้าได้ไม่นาน
กองทหารป่าก็ถูกกำลังเจ้าหน้าที่ำตำรวจเข้ากวาดล้าง นับเป็นครั้งแรกที่มีการแตกเสียงปืนในดงพระเจ้า
สหายปรีชาและพวกได้ถอยทัพไปสู่ "ภูผาตั้ง"
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งใหม่ของทัพใหญ่ สหายปรีชาได้ปฏิับัติงานมวลชนที่นี่
และได้แต่งเพลง "ภูผาปฏิวัติ" ซึ่งกลายเป็นเพลงต่อต้านอันโด่งดังของขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ ระหว่างการปฏิบัติงานมวลชน
จิตร ภูมิศักดิ์ได้ถูกล้อมยิงเสียชีวิตที่บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ
อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฎร์
สักพันชาติจักสู้ม้วยด้วยหฤหรรษ์
แม้นชีพใหม่มีเหมือนหวังอีกครั้งครัน
จักน้อมพลีชีพนั้นเพื่อมวลชน
บทกวีของอาเวตีก อีสากยัน กวีประชาชนแห่งอาร์เมเนีย
แปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์ บทกวีนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของจิตร ภูิมิศักดิ์ในที่สุด
|