|
|
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ
จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีคลอดบุตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือน ภายในระยะเวลา
15 เดือนก่อนวันคลอดบุตร
สิทธิที่ท่านจะได้รับ
1. ค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย
2. เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา
90 วัน
3. มีสิทธิได้รับคนละ 2 ครั้ง
ผู้ประกันตนหญิง
1. ค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 4,000 บาท/ครั้ง
(กรณีที่มีการคลอดตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2547
เป็นต้นไป ค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายเพิ่มเป็น 6,000 บาท/ครั้ง)
2. เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา
90 วัน
ผู้ประกันตนชาย
เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 4,000 บาท/ครั้ง
(กรณีที่มีการคลอดตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2547
เป็นต้นไป ค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายเพิ่มเป็น 6,000 บาท/ครั้ง)
สำหรับภริยาที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายหรือหญิงที่อยู่กินกันฉันสามีภริยาแต่มิได้จดทะเบียนสมรส
ผู้ประกันตนจะไปรับบริการทางการแพทย์ได้ที่ไหน
การขอรับบริการทางการแพทย์กรณีคลอดบุตร สำนักงานประกันสังคมไม่ได้กำหนดสถานพยาบาล
ผู้ประกันตนสามารถเลือกใช้สถานพยาบาลสำหรับการคลอดบุตรได้เองตามความสะดวก
หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร (สปส. 2-01/2)
2. สำเนาสูติบัตรของบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
3. ทะเบียนสมรสพร้อมสำเนา (กรณีภริยาผู้ประกันตนคลอดบุตร) หากไม่มีทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี
(กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) โดยระบุชื่อธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือธนาคารกรุงศรีอยุธยา
จำกัด (มหาชน)
|
|