สารสนเทศห้องสมุดมีหลายรูปแบบ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1. สิ่งตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค
2. สื่อโสตทัศน์ เช่น รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ แถบวิดีทัศน์ วัสดุย่อส่วน เช่น
ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นจานแม่เหล็ก แถบแม่เหล็ก จานเสียง ซีดีรอม
หนังสือ
หนังสือเป็นสิ่งพิมพ์ที่เกิดจากความรู้ ความคิดสติปัญญา และประสบการณ์ของมนุษย์จัดทำเป็นรูปเล่มหนังสือ แบ่งตามลักษณะเนื้อหาได้ 5 ประการ คือ
1. ประเภทสารคดี (non fiction) ได้แก่ หนังสือบันเทิงคดี (fiction) ตำรา (textbook) หนังสืออ้างอิง (reference book )
2. หนังสือบันเทิงคดี ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น
ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ โดยทั่วไปอาจแบ่งเป็น 4 ส่วน
1. ส่วนปก (binding)
ใบหุ้มปกหนังสือ (book jacket)
ปกหนังสือ (cover)
ใบรองปก (fly leaf)
2. ส่วนเริ่มต้น (preliminary)
หน้าชื่อเรื่อง (half title page)
หน้าปกใน (title page)
หน้าลิขสิทธิ์ (copy right page)
หน้าคำอุทิศ (dedication page)
หน้าคำนิยม (foreward)
สารบาญหรือสารบัญ (contents or table of contents)
หน้าคำนำ (preface)
หน้าประกาศคุณูปการ (ackowledgement)
สารบาญภาพประกอบหรือบัญชีภาพประกอบ (list of illustrations, tables, maps, etc.)
3. ส่วนเนื้อหา (text or body of the book)
4. ส่วนท้ายหรือส่วนเสริมเนื้อหา (auxiliary pages)
เชิงอรรถ (footnotes)
อภิธานศัพท์ (glossary)
ภาคผนวก (appendix)
บรรณานุกรม (bibliography)
ดรรชนี (index)
วารสารและหนังสือพิมพ์ (Periodical)
เป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกเป็นตอนๆ ต่อเนื่องกัน มีกำหนดระยะเวลาที่ออกแน่นอนสม่ำเสมอและติดต่อกันไปตามลำดับ เช่น รายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน และรายสามเดือนวารสารและหนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่เสนอ เนื้อหาสาระในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะมีการจัดทำวารสารหลายลักษณะซึ่งแต่ละลักษณะมีชื่อเรียกดังนี้
นิตยสาร (Magazine) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้ความบันเทิงและความรู้ทั่วไปไม่เน้นหนักทางวิชาการ
วารสารทางวิชาการ (Journal ) เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์โดยสมาคมทางวิชาการ สถาบันหรือหน่วยงานวิชาการ สาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ขอบเขตของเนื้อเรื่องประกอบด้วยบทความ รายงาน และข่าวความเคลื่อนไหวทางวิชาการ
วารสารวิเคราะห์และวิจารณ์ข่าว (review journal) เป็นสิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าวในรูปของการวิเคราะห์ วิจารณ์ ข่าวที่นำมาเสนอส่วนใหญ่ ได้แก่ข่าวเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม
ส่วนประกอบของวารสาร
- ปกวารสาร (cover)
- สารบัญ (contents)
- คอลัมน์ต่าง ๆ (columns)
ส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์
- พาดหัวข่าว (headline)
- ความนำ (lead)
- ภาพถ่าย (photographs)
จุลสาร และ กฤตภาค
จุลสาร(pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งส่วนมากเป็นสารสนเทศ ที่ทันสมัยอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไป
กฤตภาค(clipping) เป็นบทความเหตุการณ์สำคัญเรื่องราวต่างๆ รูปภาพรูปบุคคลที่มีชื่อเสียงแผนที่หรือสารสนเทศอื่นๆ
สื่อโสตทัศน์
สื่อโสตทัศน์ (audio-visual materials) โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์ (nonbook materials หรือ (nonprint materials)
1. โสตวัสดุ (audio materials) หมายถึง วัสดุที่สื่อสารโดยผ่านประสาทหู หรือ การฟังโดยแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
- แผ่นเสียงหรือจานเสียง
- แถบบันทึกเสียง
- ซีดีออดิโอ
2. ทัศนวัสดุ (visual materials)หมายถึง วัสดุที่สื่อสารโดยผ่านประสาทตาหรือการเห็น ทัศนวัสดุแบ่งเป็น 9 ชนิด
- รูปภาพ (picture)
- แผนที่ (map)
- ลูกโลก (globe)
- วัสดุกราฟฟิก (graphic materials)
- ภาพเลื่อน (filmstrip)
- ภาพนิ่ง (slide)
- แผ่นโปร่งใส (transparency)
- หุ่นจำลอง (model)
- ของตัวอย่าง (specimen)
สื่อโสตทัศน์ (audio-visual materials) หมายถึง วัสดุที่สื่อสารโดยผ่านทั้งประสาทหูและตาสื่อโสตทัศน์ แบ่งเป็น
3 ชนิด คือ
1. ภาพยนตร์ (motion picture or films)
2. แถบวิดีทัศน์ (video tape)
3. ภาพนิ่งหรือภาพเลื่อนที่มีเครื่องบันทึกเสียงติดตั้งประกอบ (tape-slide/filmstrip presentation)
วัสดุย่อส่วน
วัสดุย่อส่วน(micrographic หรือ microforms) หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศจากสิ่งพิมพ์ที่เป็น หนังสือวารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ จดหมายโต้ตอบ หนังสือ หายาก ต้นฉบับ โดยการถ่ายในลักษณะย่อส่วนลงบน แผ่นฟิล์มขนาดเล็กเพื่อประหยัด เนื้อที่ในการเก็บ และป้องกัน การฉีกขาด ทำลายแบ่งได้ 2 ประเภทคือฟิล์มโปร่งแสง และ บัตรทึบแสง
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (electronic media) หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วย วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อาจอยู่ในรูปของ
สื่อบันทึกข้อมูลประเภทสารแม่เหล็ก เช่น แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (floppy disk) และสื่อประเภทจานแสง (optical disk) บันทึกอักขระแบบดิจิตอลไม่สามารถอ่านได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บันทึกและอ่านข้อมูล
หนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิง เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดทุกประเภทจัดแยกไว้ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อสะดวกในการศึกษา ค้นคว้า หนังสืออ้างอิงจะมีสัญลักษณ์พิเศษ กำกับอาจเป็นตัวอักษร อ. (ย่อมาจาก อ้างอิง) หรือ R (ย่อมาจาก Reference) อยู่เหนือเลขหนังสือ
หนังสืออ้างอิง คือ หนังสือที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับค้นคว้าข้อเท็จจริงบางประการมากกว่าที่จะอ่านตลอดเล่ม
ประเภทของหนังสืออ้างอิง
แบ่งตามลักษณะเนื้อหาได้ 2 ประเภท
1. หนังสืออ้างอิงที่ให้สารสนเทศ เช่นพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรมชีวประวัติ นามานุกรมหรือ ทำเนียบนาม หนังสือคู่มือ หนังสือรายปี และหนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์
2. หนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศ ทำหน้าที่ชี้แนะหรือบอกตำแหน่งเรื่องราวที่ผู้อ่านต้องการว่าอยู่ที่ใด ประกอบด้วย ดรรชนีสาระสังเขป และบรรณานุกรม
พจนานุกรม ( Dictionary )
พจนานุกรม คือ หนังสือที่รวมคำในภาษา มีการเรียงลำดับตามอักษร ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวสะกดวิธีการออกเสียง
ชนิดของคำ ให้ความหมายของคำ
ประเภทของพจนานุกรม
1. พจนานุกรมทางภาษาทั่วไป คือ พจนานุกรมภาษาเดียวหรือหลายภาษา มีตัวอย่างประโยคแสดงการใช้คำเพื่อประกอบ คำอธิบายด้วย
2. พจนานุกรมเฉพาะวิชา คือ พจนานุกรมสำหรับค้นความหมาย ของคำที่ใช้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
สารานุกรม ( Encyclopedia )
สารานุกรม คือ หนังสือที่รวบรวมความรู้ในแขนงวิชาต่างๆ โดยผู้ชำนาญในแต่ละสาขาวิชา ใช้ค้นคว้าเรื่องราว ที่ต้องการในเรื่องนั้นๆ สารานุกรมอาจมีเล่มเดียวจบ หรือ หลายเล่มจบที่เรียกว่าหนังสือชุด มีดรรชนีค้นเรื่องซึ่งอยู่ในตอนสุดท้ายของเล่ม
ประเภทของสารานุกรม
1.สารานุกรมทั่วไป คือ สารานุกรมที่ให้ความรู้เบื้องต้นในวิชาต่างๆ ไม่จำกัดสาขาได้แก่ สารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก
2. สารานุกรมเฉพาะวิชา คือ ให้ความรู้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งอย่างละเอียดลึกซึ้งกว่าสารานุกรมทั่วไป
อักขรานุกรมชีวประวัติ ( Biographical dictionary )
อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสำคัญให้รายละเอียดเกี่ยวกับ เชื้อชาติ สถานที่ เกิด วัน เดือน ปี เกิด หรือ ตาย ระดับการศึกษา ผลงานดีเด่น เป็นต้น
ประเภทของอักขรานุกรมชีวประวัติ
1. อักขรานุกรมชีวประวัติของบุคคลทั่วไป (International biography) รวบรวมเรื่องราวของบุคคลที่มีชื่อเสียง โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ อาชีพหรือศาสนา โดยครอบคลุมเฉพาะประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น หรือสิ้นชีวิตไปแล้ว เท่านั้น
2. อักขรานุกรมชีวประวัติของบุคคลเฉพาะเชื้อชาติ (National / Regional biography) ให้เรื่องราวของบุคคล ที่เกิด หรืออยู่ในแต่ละประเทศโดยเฉพาะ
3. อักขรานุกรมชีวประวัติของบุคคลเฉพาะอาชีพ (Professional or subject biography) รวบรวมชีวประวัติ ของบุคคลที่มีชื่อเสียงอาชีพเดียวกันไว้ด้วยกัน
นามานุกรม หรือ ทำเนียบนาม (Directory )
นามานุกรม คือ หนังสือที่รวบรวมรายชื่อบุคคลองค์กรต่างๆ ที่อยู่ในเมือง ภาค ประเทศ หรือที่ใดที่หนึ่ง จัดเรียง ตามลำดับอักษร
ประเภทของนามานุกรม
1.นามานุกรมท้องถิ่น (Local directory) เป็นนามานุกรมที่จัดทำขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ
2.นามานุกรมของรัฐ (Goverment directory) เป็นนามานุกรมที่หน่วยงานรัฐ จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูล เกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐบาล
3. นามานุกรมสถาบัน (Institutional directory ) เป็นนามานุกรมที่รวบรวมชื่อสถาบันต่างๆ
หนังสือรายปี
หนังสือรายปี คือ หนังสือที่พิมพ์ออกเป็นรายปี ให้ข่าวสาร ข้อมูล ภายในรอบปีที่ผ่านมา เสนอในรูปของการพรรณนา
อย่างสั้นๆ โดยมีตัวเลขสถิติประกอบ
หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์์ (Geographical sources)
หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ คือ หนังสือที่ให้ความรู้อย่างสั้นๆ เกี่ยวกับชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์
ประเภทของหนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์
1. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์
2.หนังสือนำเที่ยว
3. หนังสือแผนที่
หนังสือบรรณานุกรม (Bibliography )
หนังสือบรรณานุกรม คือ หนังสือที่ให้รายชื่อทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ว่ามีการผลิตออกมาในแต่ละสาขา ที่ต้องการบ้าง จะค้นหาได้จากที่ใด
ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Computerized database) เป็นระเบียบข้อมูลทางบรรณานุกรม ข้อมูลเนื้อหา หรือข้อมูลตัวเลข ที่มีการจัดเก็บอย่างมีระบบ ลงในสื่อที่คอมพิวเตอร์อ่านได้เช่น แผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก และ ซีดีรอม เป็นต้น
ประเภทของฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
1. ฐานข้อมูลอ้างอิง (Reference database)
2. ฐานข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic database)
3. ฐานข้อมูลชี้แนะแหล่ง (Referral or directory database )
4. ฐานข้อมูลที่ให้สารสนเทศฉบับเต็ม (Sourece database)
5. ฐานข้อมูลเนื้อหาฉบับเต็ม (Full text database ) 7. ฐานข้อมูลพจนานุกรม (Dictionary database )
6. ฐานข้อมูลพจนานุกรม (Dictionary database )


ประเภทของข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ
หน้าถัดไป

ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ (30001601)

 

Friday 23-Sep-2005 2:26 PM

บทนำ
ห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ
ข้อมูลสารสนเทศ
ระบบการจัดหมู่
เครื่องมือสืบค้น1
เครื่องมือสืบค้น2
สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
การเลือกใช้และการบันทึกข้อมูล
การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
ลิงค์ฐานข้อมูล
แบบทดสอบ
ใบความรู้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
tanawanpong@yahoo.com