ะบบการจัดหมู่หนังสือการจัดหมู่หนังสือ หมายถึง การจัดหนังสือให้เป็นระบบโดยพิจารณาเนื้อหาของหนังสือที่มีเนื้อหาเหมือนกันหรือเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันไว้ด้วยกันโดย มีการกำหนด สัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ สัญลักษณ์ใกล้เคียงกันวางอยู่ในตำแหน่ง ที่ใกล้เคียงกัน
ประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือ
1. - ทำให้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดมีสัญลักษณ์ และตำแหน่งที่แน่นอน
2. - ทำให้หนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกัน รวมอยู่ในที่เดียวกัน
3. - ช่วยให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดจัดเก็บหนังสือคืนที่ได้ง่ายขึ้น
4. - ทำให้หนังสือที่มีเนื้อเรื่องสัมพันธ์กันอยู่ใกล้กัน
5. - ช่วยให้ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือในแต่ละสาขาวิชา แต่ละเรื่องมากน้อยเท่าใดระบบการจัดหมู่หนังสือ
ระบบการจัดหมู่หนังสือที่มีผู้คิดค้นขึ้นใช้ที่นิยมอย่างแพร่หลาย ได้แก่ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification)
เรียกอีกอย่างว่า DC เป็นระบบที่นิยม ใช้แพร่หลายในห้องสมุดขนาดเล็กหรือกลาง เช่นห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน เป็นต้นโดยผู้คิดค้นระบบคือ นาย เมลวิล ดิวอี้ ( Melvil Dewey ) ระบบนี้แบ่งสรรพวิทยาการในโลกออกเป็น 10 หมวดใหม่ โดยใช้ตัวเลขอารบิคเป็นสัญลักษณ์ ดังนี้
100 ปรัชญา
200 ศาสนา
300 สังคมศาสตร์
400 ภาษาศาสตร์
500 วิทยาศาสตร์
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์
700 ศิลปะและการบันเทิง
800 วรรณคดี
900 ประวัติศาสตร์ ภูมิประเทศ และการท่องเที่ยว
000 หนังสือที่จัดเข้าหมวดอื่นไม่ได้
จากนั้นก็จะมีการแบ่งออกย่อยอีก 10 หมวดในครั้งที่ 2 โดยการใช้หลักสิบ และจะแบ่งย่อยอีกครั้งที่ 3 โดยใช้หลักหน่วย เป็นสัญลักษณ์ซึ่งจากนี้ถ้าต้องการระบุเนื้อหาของหนังสือให้ชี้เฉพาะยิ่งขึ้นก็ใช้วิธีเขียนจุดทศนิยมตั้งแต่ 1 ตำแหน่งขึ้นไป
เช่น 371 โรงเรียน อาจแยกย่อยออกไปอีกเป็น
371 โรงเรียน อาจแยกย่อยออกไปอีกเป็น
371.1 การสอนและบุคลากรในโรงเรียน
371.11 ลักษณะและคุณสมบัติของครูระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน(Library of Congress Classification)
เรียกสั้นๆ ว่า LC เป็นระบบที่นิยมใช้แพร่หลายในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งหรือมี หนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจำนวนมาก เช่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้น ระบบนี้แบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็น 20 หมวดโดยใช้สัญลักษณ์ เป็นแบบผสม คือ ตัวอักษรโรมันผสมกับตัวเลขอารบิก แต่อักษรโรมันที่ไม่ได้นำมาใช้มีอยู่ 5 ตัว คือ I,O,W,X และ Y ซึ่งอักษร A - Z ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์จะแสดงเนื้อหาคือ
ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน(Library of Congress Classification)
เรียกสั้นๆ ว่า LC เป็นระบบที่นิยมใช้แพร่หลายในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งหรือมี หนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจำนวนมาก เช่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้น ระบบนี้แบ่งเนื้อหาวิชาออกเป็น 20 หมวดโดยใช้สัญลักษณ์ เป็นแบบผสม คือ ตัวอักษรโรมันผสมกับตัวเลขอารบิก แต่อักษรโรมันที่ไม่ได้นำมาใช้มีอยู่ 5 ตัว คือ I,O,W,X และ Y ซึ่งอักษร A - Z ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์จะแสดงเนื้อหาคือ
หมวด A หนังสือที่เป็นความรู้ทั่วๆ ไป เช่น หนังสืออ้างอิง หนังสือพิมพ์
หมวด B หนังสือทางด้านปรัชญา ตรรกวิทยา อภิปรัชญา จิตวิทยา
หมวด C หนังสือเกี่ยวกับประวัติอารยธรรม โบราณคดี จกหมายเหตุ พงศาวดาร
หมวด D หนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ (ประเทศไทยใช้ DS)
หมวด E - F หนังสือประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวในทวีปอเมริกา
หมวด G หนังสือภูมิศาสตร์ทั่วไป มนุษยวิทยา กีฬา และการบันเทิง
หมวด H หนังสือสังคมศาสตร์
หมวด J หนังสือทางด้านการเมือง และรัฐศาสตร์
หมวด K หนังสือกฎหมาย
หมวด L หนังสือเกี่ยวกับการศึกษา
หมวด M หนังสือเกี่ยวกับการดนตรี
หมวด N หนังสือด้านศิลปกรรม
หมวด P หนังสือภาษาและวรรณคดี
หมวด Q หนังสือวิทยาศาสตร์ทั่วไป
หมวด R หนังสือแพทย์ศาสตร์
หมวด S หนังสือเกษตรศาสตร์
หมวด T หนังสือวิทยาศาสตร์ประยุกต์
หมวด U หนังสือยุทธศาสตร์
หมวด V หนังสือนาวิกศาสตร์
หมวด Z หนังสือบรรณานุกรม และบรรณารักษศาสตร์
จากนั้นแบ่งออกเป็นหมวดย่อยโดยวิธีการเพิ่มอักษรตัวที่ 2 ต่อจากอักษรตัวแรก เช่น หมวด Q วิทยาศาสตร์ สามารถแบ่งย่อยโดย QA คณิตศาสตร์ QB ดาราศาสตร์ ทั้งนี้จะมีข้อยกเว้นสำหรับ หมวด E - F ที่ไม่มีการใช้อัษรตัวที่ 2 แต่จะมีการเพิ่มเลขอารบิกต่อท้ายอักษร
หนังสือที่ห้องสมุดไม่นิยมกำหนดเลขหมู่
หนังสือที่ใช้อ่านเพื่อความเพลิดเพลินมากกว่าเพื่อประโยชน์ เช่น นวนิยาย รวมเรื่องสั้น และหนังสือสำหรับเด็ก ห้องสมุดจะไม่กำหนดเลขหมู่ให้ แต่จะใช้สัญลักษณ์ง่ายๆ แทนโดยใช้อักษรย่อ เพื่อบอกประเภทของหนังสือนั้นๆ เช่น นวนิยาย ภาษาไทยใช้ น หรือ นว ภาษาอังกฤษใช้ FIC ซึ่งหนังสือเหล่านี้จะเรียงบนชั้นแยกจากหนังสือทั่วไป
เลขเรียกหนังสือ ( Call Number )
เลขเรียกหนังสือ คือ สัญลักษณ์ที่ห้องสมุดกำหนดให้กับหนังสือทุกเล่มในห้องสมุด ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน
1. 1. เลขหมู่หนังสือ (Class number ) แสดงเนื้อหาหรือวิธีประพันธ์ของหนังสือ
2. 2. เลขผู้แต่ง (Author number ) ประกอบด้วยอักษรและตัวเลข
3. 3. อักษรชื่อเรื่อง (Workmark) เป็นพยัญชนะตัวแรกของหนังสือการเรียงหนังสือบนชั้น
การเรียงหนังสือบนชั้น คือ การเรียงหนังสือขึ้นชั้นโดยพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง หนังสือที่มีเลขหมู่ซ้ำกัน การจัดลำดับก่อนหลัง พิจารณาจากอักษรผู้แต่ง หนังสือที่มีเลขหมู่ซ้ำกัน เลขผู้แต่งเหมือนกัน พิจารณา จากอักษรชื่อเรื่อง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการได้โดยง่าย
วิธีจัดเก็บวารสาร
เพื่อให้สะดวกต่อการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการนิยมจัดเก็บวารสารแยกไว้ต่างหากไม่รวมกับหนังสือโดยแยกวารสารดังนี้ 1. วารสารฉบับใหม่ห้องสมุดจะเรียงไว้บนชั้นเรียงตามลำดับอักษรชื่อวารสารจากซ้ายไปขวา และมีป้ายชื่อวารสารกำกับไว้
2. วารสารฉบับย้อนหลังจะนำไปเย็บเล่มรวมกันแล้วเรียงไว้บนชั้นตามลำดับอักษรของชื่อวารสาริธีจัดเก็บหนังสือพิมพ์
หนังสือพิมพ์เสนอข่าวสด เหตุการณ์ หนังสือพิมพ์มีขนาดใหญ่กว่าสิ่งพิมพ์ประเภทอื่น ไม่มีการเย็บเล่ม ห้องสมุดทั่วไป
จัดเก็บหนังสือพิมพ์ดังนี้
1. หนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ ใช้ไม้แขวนสำหรับแขวนหนังสือพิมพ์
2. หนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลัง จะถ่ายเป็นวัสดุย่อส่วน เก็บไว้ในรูปไมโครฟิล์มวิธีจัดเก็บจุลสาร
เนื่องจากจุลสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเฉพาะเรื่อง ห้องสมุดจึงแยกเก็บไว้ต่างหาก นิยมจัดเก็บดังนี้
1. การจัดเก็บโดยใช้ระบบการจัดหมู่ โดยการกำหนดเลขหมู่แล้วนำมาเรียงไว้บนชั้น
2. การจัดเก็บโดยการกำหนดหัวเรื่อง มีการเขียนหัวเรื่องกับกำกับไว้ที่มุมปก แล้วนำจุลสารที่มีหัวเรื่องเดียวกันเก็บไว้ในแฟ้มเดียวกัน
วิธีจัดเก็บกฤตภาค
การจัดเก็บกฤตภาคนั้นอาจใช้วิธีเดียวกับจุลสาร คือจัดเก็บโดยกำหนดหัวเรื่องแล้วนำหัวเรื่องเดียวกันเก็บไว้ใน แฟ้ม แล้วนำ แฟ้มไปเก็บไว้ในตู้เอกสาร สำหรับการจัดเก็บจุลสารและกฤตภาค หากมีการจัดเก็บโดยการกำหนดหัวเรื่อง ก็จะใช้ หัวเรื่องระบบเดียวกัน กับการจัดหมู่ทั่วไปของห้องสมุด
วิธีจัดเก็บสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1. แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน ใช้ระบบการจัดหมู่เช่นเดียวกับหนังสือ แล้วทำป้ายติดซองที่เก็บแผ่นจานแม่เหล็ก จากนั้นนำไปจัดเรียงไว้ในกล่อง
2. ซีดีรอม อาจจัดเก็บไว้ในกล่องรวมๆ กันไว้

 

ระบบการจัดหมูหนังสือ
หน้าถัดไป

ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ (30001601)

 

Friday 23-Sep-2005 2:18 PM

บทนำ
ห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ
ข้อมูลสารสนเทศ
ระบบการจัดหมู่
เครื่องมือสืบค้น1
เครื่องมือสืบค้น2
สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
การเลือกใช้และการบันทึกข้อมูล
การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
ลิงค์ฐานข้อมูล
แบบทดสอบ
ใบความรู้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
tanawanpong@yahoo.com