เจ้ากาวิละ
 
 
 
ชีวประวัติเจ้ากาวิละ

                เจ้ากาวิละเป็นบุตรของนายชายแก้ว เป็นหลานตาคนแรกของพระยาสุลวฤาชัยกับแม่เจ้าพิมมลา ซึ่งเป็นต้นตระกูลของ ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และเชื้อเจ็ดตน เจ้ากาวิละเกิดเมื่อจุลศักราช ๑๑๐๔ ปีจอ จัตวาศก (พ.ศ. ๒๒๘๕)

เจ้ากาวิละ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันรวม ๑๐ คน เป็นหญิง ๓ ชาย ๗ คน
                ๑. เจ้ากาวิละ (ได้เป็นพระยาเชียงใหม่)
                ๒. นายคำสม (ได้เป็นพระยานครลำปาง)
                ๓. นายน้อยธรรม (ได้เป็นพระยาเชียงใหม่ช้างเผือก)
                ๔. นายดวงทัพ (ได้เป็นพระยานครลำปาง)
                ๕. นางศรีอโนชา (ได้เป็นหม่อมห้ามของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท)
                ๖. นางศรีกัญญา
                ๗. นายหมูหล้า (ได้เป็นอุปราชเมืองนครลำปาง)
                ๘. นายคำฝั้น (ได้เป็นพระยาเชียงใหม่)
                ๙. นางศรีบุญทัน
              ๑๐.นายบุญมา (ได้เป็นพระยาลำพูน)

เจ้ากาวิละมีบุตรชาย - หญิง ๕ คน ได้แก่
                ๑. นายหน้อยสุริยวงศ์ (ได้เป็นราชบุตรเชียงใหม่)
                ๒. นายหนานสุริยวงศ์ (ได้เป็นพระยาบุรีรัตน์เมืองเชียงใหม่ ภายหลังได้เป็น พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่)
                ๓. นายหนานมหาวงศ์ (ได้เป็นเขยเจ้าลำพูน)
               ๔. นางคำใส
               ๕. นายหนานไชยเสนา (เป็นเขยพระยาเชียงใหม่คำฝั้น)

วีรกรรมเจ้ากาวิละ

                อาณาจักรล้านนาของราชวงศ์มังรายตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ บางช่วงก็เป็นอิสระ บางช่วงก็ขึ้นกับ กรุงศรีอยุธยา นับเป็นเวลาที่ประชาชนพลเมือง ต่างก็ได้รับความเดือดร้อนนานาประการอันเกิดจากการกดขี่ข่มเห่งของพม่า ซึ่งมีโป่อภัยคามินี แม่ทัพปกครองเมืองเชียงใหม่ขณะนั้น เจ้าฟ้าชายแก้วบิดาของเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองลำปางในฐานะเมืองขึ้นของพม่า เจ้ากาวิละและเจ้าดวงทัพน้องชายถูกพม่าใช้ให้ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้พร้อมกับนำธิดาเจ้าเมืองเวียงจันทน์ชื่อ นางสามผิวไป ถวายพระเจ้าอังวะ นันแต่นั้นมาเมืองลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย เชียงแสน หัวเมืองล้านนาทั้งหมดตกอยู่ใต้ อำนาจพม่า
               ใน ปี พ.ศ. ๒๓๑๒ โป่อภัยคามินถึงแก่กรรม พระเจ้าอังวะแต่งตั้งโป่มะยุง่วนมาครองเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากชอบใช้ผ้าขาวโพกหัว ชาวเมืองจึงเรียกโป่หัวขาว พ.ศ. ๒๓๑๓ พม่าพยายามอย่างยิ่งที่จะให้ชาวล้านนาตกเป็นทาสของพม่าทั้งด้านวัฒนธรรมด้วย จึงมีประกาศ ให้บรรดาหัวเมืองขึ้นล้านนา ให้ผู้ชายสักขาดำ ให้ผู้หญิงขวากหู ใส่ม้วนลานตามแบบลัทธิธรรมเนียมพม่า ในยุคนั้นพม่ากำลังเรืองอำนาจ เพราะสามารถรบชนะกรุงศรีอยุธยาปี พ.ศ.๒๓๑๐ ความเสียหายของกรุงศรีอยุธยาครั้งนี้มากมายนัก จนเมื่อพระเจ้าตากสินกู้อิสรภาพคืนแล้วจะบูรณะก็เหลือกำลังจึงย้ายเมืองไปตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรี แม่ทัพสำคัญของพม่าที่ตีกรุงศรีอยุธยา คือ โป่เจียกหรือโป่สุพลา ต่อมาได้ปกครองเมืองเชียงใหม่
เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีกำจัดอำนาจของพม่าให้หมดไปจากแผ่นดินไทย จึงได้รับความร่วมมือจากผู้นำชาวไทยเป็นอย่างดีดังเช่น เจ้ากาวิละกับน้องชายทั้งหมด ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่เมืองนครลำปางทำกลอุบายให้พม่าเชื่อว่าคนไทยสวามิภักดิ์ต่อพม่า แต่พม่าก็ไม่หลงเชื่อ กลับจับตัวเจ้าฟ้าชายแก้วผู้บิดาของเจ้ากาวิละและน้องทั้งหกพันธนาการและจำคุกไว้ หากปรากฏแน่ชัดว่าเจ้ากาวิละและน้องทั้งหก คิดทรยศก็จะประหารชิวิตเจ้าฟ้าชายแก้วเสีย กองทัพของเจ้ากาวิละพร้อมกับกองทัพของพระเจ้าธนบุรี โดยการประสานความร่วมมือกับ นายน้อยวิฑูรย์กับน้อยสมพมิตรชาวเชียงใหม่ซึ่งอยู่กับพม่าเปิดประตูเมืองเชียงใหม่ให้กองทัพไทยเข้าตีเมืองเชียงใหม่ ได้จากพม่าสำเร็จ เมื่อวันอาทิตย์ เพ็ญเดือน ๕ เหนือ (เดือน ๓ ใต้) ปีมะเมีย ฉศก ปี พ.ศ.๒๓๑๗ (จ.ศ.๑๑๓๖) ขณะนั้นเจ้ากาวิละ อายุได้ ๓๒ ป

ี              เจ้ากาวิละถึงแก่อนิจกรรม พ.ศ. ๒๓๕๖ รวมเวลาปกครองเมืองเชียงใหม่ที่ ๑ นาน ๓๓ ปี

 
ประวัติดินแดนล้านนา(เชียงใหม่), ครูบาศรีวิชัย, เจ้ากาวิละ, พระราชชายาดารารัศมี, พระศิริมังคลาจารย์, พระนางสามผิว, นายพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ, นายไกรศรี, พระบรมพระราชานุสรณ์สามกษัตริย์