พระนางสามผิว
 
 
 
ตำนานพระนางสามผิว

                ตำนานได้กล่าวถึงพระนางสามผิวว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๕๕ - ๒๑๗๕ พระเจ้าอุดมสินเจ้าเมืองฝางจังหวัดเชียงใหม่ปัจจุบัน มีพระมเหสีองค์หนึ่งทรงพระสิริโฉมงดงามมาก ในวันหนึ่งๆ สีผิวของพระนางจะเปลี่ยนไปถึง ๓ สี คือ เวลาเช้าผิวพรรณ ของพระนางจะขาวบริสุทธิ์ผุดผ่อง เวลาเที่ยงสีผิวของพระนางจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน เวลาเย็นสีผิวของพระนางจะเปลี่ยน เป็นสีแดงระเรื่อเป็นที่น่าชวนพิสมัยอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้พระนางจึงได้พระนามพิเศษว่า "พระนางสามผิว"

                จากผิวที่งดงามผุดผ่องของพระมเหสีเจ้าเมืองฝางนี้เอง ทำให้เป็นข่าวเลื่องลือแพร่ออกไปว่าพระเจ้าฝางมีมเหสีที่สวยงามยิ่งนัก ยากที่จะหาหญิงใดเทียมได้ ข่าวนี้ล่วงรู้ถึงหูของพระเจ้าสุทโธธรรมราชากษัตริย์พม่า พระองค์จึงอยากจะมาทอดพระเนตรให้เห็น ความจริงจึงได้ทรงปลอมแปลงกายเป็นพ่อค้าต่างแดนนำสินค้ามาจากเมืองตะโก้ง (ร่างกุ้ง) เข้ามาขายยังเมืองฝางและ ได้เข้าทูลถวายผ้า เนื้อดีแก่ขัติยะนารีฝาง เพียงเพื่อจะได้ยลโฉมพระนางสามผิวว่าจะสวยงามดังคำเล่าลือหรือไม่ ครั้นกษัตริย์เมืองพม่าได้เห็น พระพักตร์พระนางเท่านั้นพระองค์ก็ทรงหลงรักพระนางทันที หลังจากที่ถวายผ้าแก่พระเจ้าฝางเรียบร้อยแล้วพระเจ้าสุทโธธรรมราชา เสด็จกลับยังที่ประทับ พระองค์ทรงคร่ำครวญถึงแต่พระนาง ครั้นจะมาสู่ขอพระนางก็มีพระสวามี แล้วจึงคิดหาวิเจ้าสุทโธธรรมราชา กษัตริย์พม่าจึงเสด็จกลับกรุงอังวะเพื่อตระเตรียมรี้พล กษัตริย์พม่านำกองทัพมาทำสงครามกับพระเจ้าฝางเป็นเวลานานถึงสามปี จนในที่สุดกองทัพพม่าปิดล้อมเมืองฝางไว้ ไม่ให้ชาวบ้านชาวเมืองได้ออกเมืองเพื่อทำมาหากิน ชาวเมืองฝางตกอยู่ในวงล้อมของพม่า มีความอดอยากยากแค้นเสบียงอาหารที่มีอยู่ก็หมด

                เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ทั้งเจ้าเมืองฝางกับพระนางสามผิวทรงตระหนักดีว่าสาเหตุมาจากทั้งสองพระองค์ และเพื่อ เห็นแก่ชีวิตไพร่ฟ้าของแผ่นดินและเพื่อยุติปัญหา ทั้งสองพระองค์จึงตัดสินพระทัยแก้ปัญหาด้วยการชวนกันไปกระโดดลง "บ่อน้ำ ซาววา" ซึ่งบ่อน้ำนี้มีความลึก ๒๐ วา ปลงพระชนม์เพื่อรักษาชีวิตชาวเมืองไว้ เมื่อพระเจ้าสุทโธธรรมราชายกทัพเข้าเมืองฝางได้และ ทราบว่าทั้งเจ้าเมืองฝางกับพระนางสามผิวกระโดดลงบ่อน้ำสิ้นพระชนม์แล้ว กษัตริย์พม่ามีความเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ยกทัพ กลับพม่า
เมื่อศึกสงครามสงบลงแล้ว ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเจ้าเมืองฝางเห็นว่า เจ้าเมืองและพระมเหสีทรงสละพระชนม์ชีพเพื่อรักษา เมืองฝางและชีวิตของชาวเมืองไว้ จึงได้สร้างอนุสาวรีย์ทั้งสองพระองค์ไว้ที่บ่อน้ำซาววา ซึ่งอยู่หน้าวัดพระบาทอุดมพากันกราบ ไหว้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปกบ้านคุ้มเมืองให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขตราบจนทุกวันนี้

ปรัชญา

               ความงดงามภายในคือจิตใจ เป็นความงดงามที่จีรังยั่งยืนกว่าความงามภายนอกคือร่างกาย

 
ประวัติดินแดนล้านนา(เชียงใหม่), ครูบาศรีวิชัย, เจ้ากาวิละ, พระราชชายาดารารัศมี, พระศิริมังคลาจารย์, พระนางสามผิว, นายพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ, นายไกรศรี, พระบรมพระราชานุสรณ์สามกษัตริย์