www.oocities.org/u440604 -- Thai Web Site for Education


ระบบสื่อสารข้อมูล
และระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่าย (1)
ระบบเครือข่าย (2)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับ
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
การเชื่อมโยงระบบ Unix กับ
ระบบเครือข่าย Dos
ยูนิกซ์กับเน็ตเวิร์ก
รูปร่างเครือข่าย
วิธีการถ่ายโอนข้อมูล
การต่อเชื่อมเครือข่าย
คอมพิวเตอร์
ตัวกลางเชื่อมโยง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อ
ระหว่างเครือข่าย
เส้นใยแก้วนำแสง
เส้นใยแก้วนำแสง
(Fiber Optic) คืออะไร
แสงสามารถเดินทางผ่าน
เส้นใยแก้วนำแสงอย่างไร
แอดเดรสบนเครือข่าย
ชื่อและเลข IP
รู้จักกับบริดจ์ สวิตซ์ และ
เราเตอร์
NMS ระบบดูแล และบริหาร
เครือข่าย
เครือข่ายความเร็วสูง
โปรโตคอลประยุกต์บน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ไคลเอนต์ และ เซิร์ฟเวอร์
LAN โปรโตคอล
เครือข่าย LAN และ WAN
การเชื่อโยงระหว่างเครือข่าย
Frame Relay
เพิ่มประสิทธิภาพในการให้
บริการด้วย Proxy Server
เครือข่ายความเร็วสูง
Gigabit Ethernet
ADSL เทคโนโลยีที่จะพา
สายคู่ตีเกลียวสู่ยุคทางด่วน
ข้อมูล
SOHO กับเทคโนโลยี
อีเธอร์เน็ต
โปรโตคอลประยุกต์บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย อุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกันเป็นจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีหลายมาตรฐานหลายยี่ห้อ แต่ก็สามารถจะทำงานร่วมกันได้อย่างดี การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพราะมีการใช้โปรโตคอลมาตรฐานที่มีข้อกำหนดให้ทำงานร่วมกันได้

สมมุติว่าเราใช้อินเทอร์เน็ตผู้ใช้พีซีทำหน้าที่เป็นไคลแอนต์ (Client) สามารถเชื่อมต่อไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) บนเครือข่าย การทำงานของพีซีที่เชื่อมต่อร่วมกันเซิร์ฟเวรอ์ ต้องใช้โปรโตคอลเพื่อประยุกต์ใช้งานรับส่งข้อมูล

ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้บราวเซอร์ (Browser) อย่างโปรแกรม เช่น Netscape หรือ Internet Explorer เรียกดูข้อมูล โปรแกรมบราวเซอร์ดังกล่าว
จะใช้โปรโตคอล HTTP-Hypertext Transfer Protocol ซึ่งโปรโตคอลนี้ทำให้เซิร์ฟเวอร์ส่งข้อมูลมาให้บราวเซอร์ตามต้องการ และบราวเซอร์จะนำข้อมูลมาแสดงผลบนจอภาพได้อย่างถูกต้อง มาตรฐานและรูปแบบการรับส่งข้อมูลจึงต้องได้รับการกำหนดและ
เป็นที่ยอมรับระหว่างกัน

การติดต่อระหว่างบราวเซอร์กับเซิร์ฟเวอร์ย่อมต้องเปิดช่องสื่อสารระหว่างกันช่องสื่อสารทั้งสองฝั่งมีช่องหมายเลขกำกับ
ซึ่งเราเรียกว่า"พอร์ต (Port)" และพอร์ตนี้ได้รับการกำกับดูแลด้วยโปรโตคอลหนึ่งที่มี ชื่อว่า TCP (Transfer Control Protocol)
TCP จึงทำให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์บริการไคลแอนต์ได้หลาย ๆ ไคลแอนต์พร้อมกันในเวลาเดียวกัน เมื่อผู้ใช้ทางฝั่งไคลแอนต์ใช้โปรแกรมแบบมัลติทาสกิ้ง (Multitasking) เช่น วินโดว์ 95ก็สามารถเปิดหลาย ๆงานบนเครื่อง
เดียวกัน เพราะผ่านพอร์ตต่างกัน

คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ในระดับ OS จึงมีการกำหนดหมายเลขพอร์ตเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างกันได้ การเชื่อมระหว่างกันจึงทำได้ในลักษณะเครือข่ายที่เชื่อมโยงผ่านถนนสายเดียวกัน

การที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูลไปยังอีกเครื่องหนี่งได้ถูกต้องเพราะมีโปรโตคอลที่ใช้ในการหาตำแหน่งซึ่งในกรณี
นี้ใช้โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล หรือที่เรียกว่า IP (Internet Protocol) ส่วน IP นี้มีการกำหนดแอดเดรส ของคอมพิวเตอร์ที่เราเรียกว่า ไอพีแดเดรส(IP Address) อีกต่อหนึ่ง

หากนำการประยุกต์อื่นมาพิจารณา เช่น การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย ผู้เขียนจดหมายใช้โปรแกรม
เอดิเตอร์ (Editor) เขียนจดหมายเมื่อเขียนเสร็จแล้วมีการจ่าหน้าถึงแอดเดรสปลายทาง ข้อความหรือจดหมายฉบับนั้น จะรับส่งกันด้วยโปรแกรมรับส่งเมล์ (Sendmail Program)

โปรแกรมนี้ใช้โปรโตคอลมาตรฐาน ชื่อ SMIP - Simple Mail Transfer Protocol ลักษณะการรับส่งในระดับ SMTP มีการกำหนดให้เครื่องใดเครื่องหนึ่งเชื่อมกับเครื่องอื่น ในฐานะที่เป็นตัวแลกเปลี่ยนจดหมายหรือที่เรียนว่า Mail Exchange ตัวแลกเปลี่ยนจดหมายจะตรวจสอบแอดเดรสของจดหมาย และนำส่งต่อกันจนถึงปลายทาง

เช่นเดียวกับการประยุกต์อื่น การรับส่งจดหมายระหว่างเครื่องจะเปลี่ยนจดหมายให้อยู่ในรูปแพ็กเก็ต ระดับTCP และเปิดพอร์ต
ระหว่างเครื่องให้เชื่อมโยงกัน การเชื่อมระหว่างพอร์ตใช้วิธีนำข้อมูลใส่ในแพ็กเก็ต IP แล้วส่งด้วยโปรโตคอล IP ต่อไป

ปัจจุบันมีโปรโตคอลในระดับประยุกต์ใช้งานมากมาย ผู้พัฒนาการประยุกต์จะกำหนดขึ้นมา และถ้ายอมรับและใช้กันอย่าง
กว้างขวางก็จะเป็นมาตรฐาน เช่น การโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน ใช้โปรโตคอบชื่อ FTP - File Transfer Protocol การโอนย้าย
ข่าวสารระหว่างกันก็ใช้โปรโตคอลชื่อ NNP - Network News Transfer Protocolยิ่งในตอนหลังมีการประยุกต์ทางด้าน มัลติมีเดียมากขึ้นจึงมีการ กำหนดโปรโตคอล สำหรับการประยุกต์นั้น ๆ เช่น การส่งสัญญาณเสียงการส่งวีดีโอ การทำวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ การสร้างอนเทอร์เน็ตโฟน ฯลฯ

การทำงานของเครื่อข่ายใช้มาตรฐานโปรโตคอลต่าง ๆ ร่วมกันทำงานมากมาย


นอกจากโปรโตคอลระดับประยุกต์แล้ว การดำเนินการภายในเครือข่าย ยังมีโปรโตคอลย่อยที่ช่วยทำให้การทำงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพขึ้น โดยที่ผู้ใช้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดย
ตรงอีกมากมาย อาทิเช่น ภายในเครือข่ายมีอุปกรณ์สื่อสารประกอบอยู่มากมาย เช่น มีเราเตอร์ สวิตชิ่งต่าง ๆ และมีการเชื่อมโยงอุปกรณ์เหล่านั้นในเครือข่าย ทั้งที่อยู่ในองค์กรและต่างองค์กร อุปกรณ์เหล่านี้จะมีการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเพื่อหาเส้นทางที่เหมาะสมมีการสอบถามข้อมูลกันตัวอย่างโปรโตคอล
ที่ใช้ในการทำเส้นทาง เช่น RIP - Routing Information Protocol,OSPF - Open Shortest Path First, BGP - Border
Gateway Protocol เป็นต้น

โปรโตคอลกลุ่มนี้เป็นการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ทำงานร่วมกันอย่างอัตโนมัติ ทั้งนี้เพราะ เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีลักษณะที่ไม่คงที่ตลอดเวลา เช่น ถ้ามีอุปกรณ์หนึ่งเสียงก็จะหาเส้นทางใหม่ที่เหมาะสมได้

นอกจากนี้ยังมีโปรโตคอลที่สำคัญสำหรับการสอบถามข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มีประโยชน์มาก
โปรโตคอลนี้มีชื่อว่า ICMP - Internet Control Message Protocol เช่น ถ้าต้องการอยากรู้ว่าอุปกรณ์นี้ยังเชื่อมต่อ
อยู่ในเครืองข่ายหรือไม่ ก็ใช้ ICMP สอบถามดูได้เช่นกัน

จะเห็นได้ชัดว่า การใช้ว่าเครือข่ายได้ผลดีในทุกวันนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาโปรโตคอลต่างๆขึ้นใช้งาน และการใช้งาน และการใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่งจำเป็นต้องผ่านการใช้งานโปรโตคอลต่างๆหลายโปรโตคอลทำงานร่วมกัน

 

 
Copyright (C) 2001 www.Geocities.com/U440604. All rights reserved.
Do not duplicate original material without prior consent of dome_rsu@hotmail.com