www.oocities.org/u440604 -- Thai Web Site for Education


ระบบสื่อสารข้อมูล
และระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่าย (1)
ระบบเครือข่าย (2)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับ
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
การเชื่อมโยงระบบ Unix กับ
ระบบเครือข่าย Dos
ยูนิกซ์กับเน็ตเวิร์ก
รูปร่างเครือข่าย
วิธีการถ่ายโอนข้อมูล
การต่อเชื่อมเครือข่าย
คอมพิวเตอร์
ตัวกลางเชื่อมโยง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อ
ระหว่างเครือข่าย
เส้นใยแก้วนำแสง
เส้นใยแก้วนำแสง
(Fiber Optic) คืออะไร
แสงสามารถเดินทางผ่าน
เส้นใยแก้วนำแสงอย่างไร
แอดเดรสบนเครือข่าย
ชื่อและเลข IP
รู้จักกับบริดจ์ สวิตซ์ และ
เราเตอร์
NMS ระบบดูแล และบริหาร
เครือข่าย
เครือข่ายความเร็วสูง
โปรโตคอลประยุกต์บน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ไคลเอนต์ และ เซิร์ฟเวอร์
LAN โปรโตคอล
เครือข่าย LAN และ WAN
การเชื่อโยงระหว่างเครือข่าย
Frame Relay
เพิ่มประสิทธิภาพในการให้
บริการด้วย Proxy Server
เครือข่ายความเร็วสูง
Gigabit Ethernet
ADSL เทคโนโลยีที่จะพา
สายคู่ตีเกลียวสู่ยุคทางด่วน
ข้อมูล
SOHO กับเทคโนโลยี
อีเธอร์เน็ต
เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้วย Proxy Server

ลองนึกดูว่า ถ้ามีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในองค์กรหนึ่งต้องการใช้ข้อมูลจากภายนอกที่เป็นข้อมูลเดียวกัน เช่น เมื่อใช้เบราเซอร์โหลดข้อมูลซีเอ็นเอ็นที่ตั้งอยู่ที่ www.cnn.com โดยหลายคนในองค์กรเรียกไปยังเซอร์ฟเวอร์นี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูลที่เรียกก็จะต้องวิ่งผ่านสายส่งสัญญาณมาเท่ากับจำนวนผู้เรียก หรือถ้ามีผู้ใช้ในองค์กรเรียกใช้ไฟล์ซอฟต์แวร์ที่มีผู้บริการให้ โดยใช้ FTP และเรียกไปยังที่เดียวกันหลายคนเช่นกัน ปัญหาในเรื่องการคับคั่งของปริมาณข้อมูลบนสายส่งย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

การใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว ลองพิจารณาที่ประเทศไทยปริมาณผู้ใช้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันมีจำนวนผู้ให้บริการที่เรียกว่า ISP หลายราย แต่หากนับอัตราการเพิ่มของผู้ใช้กับอัตราการเพิ่มของขนาดสายสัญญาณเชื่อมโยง เช่นสายเชื่อมโยงไปต่างประเทศ พบว่าอัตราการเพิ่มของผู้ใช้เพิ่มสูงกว่ามาก ดังนั้นจึงพบได้ว่าความเร็วในการเรียกข้อมูลจากต่างประเทศจะมีแนวโน้มที่ลดความเร็วลง หลายองค์กรก็เช่นเดียวกันเมื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ ISP ด้วยความเร็วคงที่อันหนึ่งต่อมาผู้ใช้งานมากขึ้นความเร็วในการใช้ก็ลดลงถึงแม้จะมีการขยายสัญญาณให้เร็วขึ้น แต่ก็รองรับจำนวนผู้ใช้ไม่ได้อยู่ดี

ด้วยจำนวนข้อมูลที่เรียกใช้มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ทำให้เครือข่ายที่มีเดิมนั้นต้องรับภาระในการบริการข้อมูลจำนวนมาก จึงต้องมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ

แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเน้นให้บริการภายใน ผู้ใช้ข้อมูลสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้จากภายใน โดยไม่ต้องโหลดจากภายนอก การแก้ปัญหานี้หน่วยงานไอเอสพีหรือผู้ดูแลอินเทอร์เน็ตขององค์กรจึงต้องทำดังนี้

1. ตั้ง FTP เซอร์ฟเวอร์เก็บข้อมูลที่ใช้บ่อย จากหลักการที่ต้องพาข้อมูลที่ต้องใช้บ่อย ๆ มาเก็บไว้ให้ใกล้ที่สุด นั่นคือ ต้องนำเอาข้อมูลมาบริการสมาชิกภายในองค์กรหรือโลคัลเน็ตเวิร์ก การตั้ง FTP เซอร์เวอร์ภายในหน่วยงานกระทำได้ด้วยการใช้หลักการ mirror จาก FTP เซอร์ฟเวอร์ที่ใช้บ่อย ๆ เช่น มีโปรแกรมที่ใช้ไดรเวอร์ที่มีอยู่ใน ftp.microsoft.com เป็นต้น

2. การตั้งเซอร์ฟเวอร์พร็อกซี ในองค์กรมีผู้ใช้จำนวนมากที่ใช้งานประเภทออนไลน์ เช่น ใช้เบราเซอร์ หรือโปรโตคอล http การเรียกข้อมูลจากภายนอกจึงเป็นการทำงานแบบไคลเอนต์เซอร์ฟเวอร์

ในกรณีนี้สามารถลดปริมาณข้อมูลที่วิ่งอยู่ในสายสัญญาณเชื่อมโยง ด้วยการตั้งเซอร์ฟเวอร์ที่องค์กรเพื่อเป็นบัฟเฟอร์รองรับข้อมูล เมื่อมีผู้เรียกข้อมูลจากภายนอกคนแรก ข้อมูลนั้นจะนำมาเก็บไว้ที่เซอร์ฟเวอร์นี้ด้วย ดังนั้นถ้ามีผู้ใช้ในองค์กรอื่นต้องการใช้ก็จะนำจากเซอร์ฟเวอร์นี้ได้ทันที เราเรียกว่าเซอร์ฟเวอร์ว่า Proxy

การเก็บข้อมูลใน Proxy มีลักษณะเป็นการเก็บแบบเรียงกันไปในเซอร์ฟเวอร์ ครั้นเมื่อเต็มที่เก็บก็จะลบส่วนที่เคยนำมาก่อนสุดออก เช่น ถ้ามีเซอร์ฟเวอร์ Proxy ขนาด 1 กิกะไบต์ ก็จะเก็บข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้และเมื่อข้อมูลเต็มก็จะลบออกแบบ round rubin หรือวนรอบ

การเชื่อมต่อด้วย Proxy ทำให้ระบบลดปริมาณข้อมูลที่อยู่ในสายสัญญาณเข้าองค์กรลดลงได้มาก ตังอย่างเช่น ผู้ใช้ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สามารถเซตการเชื่อมผ่าน Proxy ชื่อ proxy.ku.ac.th ดังนั้นการค้นหาข้อมูลจะดูจากที่นี่ก่อน ถ้าพบจะได้ข้อมูลอย่างรวดเร็วทำให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลเร็ว และลดปริมาณข้อมูลที่จะวิ่งผ่านสายสัญญาณเข้าองค์กร

ปกติการติดตั้ง Proxy ขององค์กรจะมีการเชื่อมโยงกับ Proxy ในระดับที่อยู่เหนือขึ้นไปอีก โดย Proxy ที่อยู่เหนือขึ้นไปจะมีข้อมูลให้เรียกใช้ได้ เช่น proxy.ku.ac.th มีการเซตให้เชื่อมโยงกับ proxy.nectec.or.th ซึ่งเป็น Proxy ของเครือข่ายไทยสาร ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลมากขึ้นและเป็นการทำให้ประสิทธิภาพในประเทศไทยดีขึ้น



รูปที่ 1 การตั้ง ftp ในองค์กรเพื่อลดปริมาณข้อมูลที่เชื่อมอินเทอร์เน็ต



รูปที่ 2 ผู้ใช้ในองค์กรต้องการใช้เวบเซอร์ฟเวอร์เดียวกันจะต้องเรียกผ่านสายเชื่อมโยงทำให้ปริมาณข้อมูลบนสายมีมาก



รูปที่ 3 การใช้ Proxy เป็นบัฟเฟอร์ขององค์กร


การติดตั้งค่าในเบราเซอร์ให้เชื่อมเข้าหา PROXY

สำหรับในองค์กรที่มีการวางตัวเซอร์ฟเวอร์ประเภท Proxy ไว้ผู้ใช้จำเป็นจะต้องติดตั้งโปรแกรมในไคลเอนต์ เช่น เบราเซอร์ หรือftp ให้ใช้ Proxy ได้

สำหรับผู้ใช้เน็ตสเคป เราสามารถเซตได้ เช่น ในเน็ตสเคปเวอร์ชัน 3 ให้คลิกที่ option จากนั้นเลือกเมนู Network จากนั้นเลือก Proxy ให้คลิกเลือก Proxy แล้วจึงป้อนข้อมูล เช่น ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ป้อน proxy.ku.ac.th/autoconfig.pac
แต่สำหรับเน็ตสเคปเวอร์ชัน 4 ให้คลิก Edit และเลือก preference จากนั้นดับเบิลคลิกที่ advance จะพบคำว่า Proxy ให้คลิก Proxy ให้คลิกที่ Automatic Proxy configulation โดยป้อนข้อมูลชื่อ Proxy server เช่นถ้าเป็นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ป้อน proxy.ku.ac.th/autoconfig.pac

ต้องได้รับความร่วมมือ

การใช้งานอินเทอร์เน็ตในองค์กรต้องได้รับความร่วมมือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน ผู้ใช้ก็ได้ข้อมูลเร็วขึ้น ทางองค์กรก็ลดปริมาณข้อมูลที่วิ่งอยู่ในสายหลัก ซึ่งมีความเร็วจำกัดอยู่แล้ว เพื่อทุกคนจะได้ประโยชน์ร่วมกัน แต่หากผู้ใช้ไม่เซตโปรแกรมเบราเซอร์ของตนให้เชื่อมกับ Proxy การติดตั้ง Proxy ก็จะไม่มีประโยชน์เพราะทุกครั้งผู้ใช้จะวิ่งไปยังเซอร์ฟเวอร์ปลายทางเสมอ

 

 
Copyright (C) 2001 www.Geocities.com/U440604. All rights reserved.
Do not duplicate original material without prior consent of dome_rsu@hotmail.com