-----ระหว่างนี้
พระประเสริฐที่มาอยู่ได้ไม่ถึงปีก็จากไป ต้องหาพระใหม่มาอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งก็ไม่สามารถจะ
อยู่ได้ ใน พ.ศ.2503 นายจำเนียรได้แนะนำนายอุทัยให้รู้จักกับอาจารย์ขาว
ติสสวโส อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยลาด
ต.คูหาใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสมาอยู่ป่าเป็นธุดงค์
นายอุทัยจึงชวนอาจารย์ขาว
มาเที่ยวที่เขาสาป แล้วขอร้องให้ท่านอยู่จำพรรษา ท่านปฏิเสธ
แต่รับจะนำพระธุดงค์ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านมา
อยู่ให้ 1 พรรษา เมื่อเป็นที่ตกลงกัน ท่านอาจารย์ขาวได้กลับไปปักษ์ใต้แล้วนำลูกศิษย์พระธุดงค์มา
5 รูป โดย
ให้พระเจียร สาคโต เป็นประธาน มีพระแคล้ว พระเอี่ยม พระบุญน้อย
พระบุญนำ เป็นพระลูกวัด และนายอุทัย
ได้จัดหาพระถนอม ซึ่งมีฝีมือทางช่างแกะสลักจากวัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนวิมังคลาราม)
มาอยู่ด้วยอีก 1 รูป
ระหว่างนี้มีชาวบ้านที่ชราหลายคนต่างก็บ่นกันว่าไม่สามารถจะขึ้นเขาชมพระพุทธรูปหินอ่อนได้เพราะชราเกินกว่า
ที่จะเดินขึ้นเขาได้ ดังนั้นนายอุทัยจึงนำพระพุทธรูปหินอ่อนองค์เล็กมาถวายวัดไว้
เพื่อคนชราจะได้ชมอย่างใกล้ชิด
โดยมีรูปทรงเหมือนกันทุกประการเก็บไว้เป็นพระประธานอยู่ด้านล่าง
------เมื่ออยู่ได้ครบ
1 พรรษา พระทุกรูปต่างกกลับใต้กันหมด
ชาวบ้านจำรุงจะขอร้องเพียงใดก็ไม่ยอมอยู่ต่อ
็ ซึ่งเป็นที่อาลัยของชาวบ้านอย่างยิ่ง นายอุทัยได้ขอร้องท่านเจียร
ประธานสงฆ์ โดยขอลูกศิษย์อยู่ต่อสักรูปสองรูป
และจะกลับเที่ยวบ้านทางปักษ์ใต้เมื่อใด ก็ยินดี รับส่งตลอด
โดยจะมีชาวบ้านติดตามเป็นลูกศิษย์ระหว่างเดินทาง
ทุกครั้ง ก็ไม่สำเร็จ เมื่อเดินทางมาถึงกรุงเทพฯเข้าพักรอรถไฟกลับปักษ์ใต้
ท่านเจียรได้บอกกับนายอุทัยว่า
วัดนี้คนธรรมดาสร้างไม่ได้ ท่านเห็นว่า ถึงให้ลูกศิษย์อยู่ก็ไม่มีทางสำเร็จ
อาจจะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นได้ จึงจำใจ
ปฏิเสธ และได้เล่าว่าระหว่างที่ท่านจำพรรษาอยู่ ท่านนิมิตเห็นงูกับเหี้ยสู้กัน
ท่านไม่ทราบว่าหมายถึงอย่างไร
และต่อมาท่านนิมิตว่ามีชีปะขาวมาแจ้งให้ท่านทราบว่าวัดนี้ต้องมีพระราชามาเป็นเจ้าของจึงจะสร้างสำเร็จ
ซึ่งนายอุทัยก็ไม่เชื่อถือ ท่านเจียรยังได้ย้ำไว้ว่าเขานี้พระอยู่ลำบากถ้าจิตใจไม่ดีพออยู่ไม่ได้ต้องมีเรื่องเดือดร้อน
ท่านบอกว่าในระหว่างพรรษาท่านก็หนักใจไม่น้อย แต่อาศัยที่ท่านเคยผ่านการอยู่ป่ามาพอสมควร
จึงประคับ
ประคองอยู่กันได้ โดยไม่ทำความเสื่อมศรัทธาให้ชาวบ้านนินทา
ท่านย้ำว่าไม่เชื่อก็ไปดูก็แล้วกัน หลังจากนั้นได้
หาพระมาอยู่เป็นคณะ ก็เกิดแตกความสามัคคี ต้องแยกย้ายกันกลับ
ได้หาพระสงฆ์มาอยู่ใหม่บ้าง มีพระมา
ขอสมัครอยู่เองบ้าง ก็อยู่ไม่ได้ คงอยู่ได้เป็นครั้งคราวในเวลาสั้นๆดังนั้นส่วนใหญ่จึงร้างไม่มีพระอยู่
จนหมด
ปัญญาที่จะหาพระสงฆ์มาอยู่ต่อไป ต่างก็วางมือหยุดหาพระชั่วคราวเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลาหลายปี
----หลังจากนั้นก็ได้พยายามหาพระมาอยู่เป็นประจำก็ไม่สำเร็จ
มาอยู่ได้ไม่กี่วันก็จากไป เป็นอยู่เช่นน
ี้ตลอดมาเป็นเวลาหลายปี จนถึง พ.ศ.2510 นายเตี่ยน จาระติกรรมา
ชาวบ้านจำรุง (ขณะนั้นกำลังบวชเป็น
พระภิกษุจำพรรษาอยู่วัดในไร่) ได้เป็นผู้นำหนังสือของชาวบ้านจำรุง
ไปนิมนต์พระครูสังฆวิชิต(สุกรี) เจ้าอาวาส
วัดจุฬามุนี ขอให้ท่านช่วยจัดการเรื่องสงฆ์ประจำวัดและขอให้ท่านเป็นผู้ควบคุมดูแลเรื่องสงฆ์สำหรับ
มาจำพรรษาที่วัดเขาสาปนี้ตลอดไป ท่านพระครูได้พิจารณาอยู่
3 วัน จึงรับคำที่จะเป็นผู้อุปการะนี้ให้ตลอดไป
----หลังจาก
นั้น ท่านพระครูได้ส่งพระมหาวิโรจน์
สุโชโต เป็นประธาน พระลูกวัด 2 รูป เณร 8 รูป
มาจำพรรษาอยู่ ต่อมาปี พ.ศ.2511ท่านพระครูฯได้เปลี่ยนให้พระชุมพล
มาเป็นประธานแทนต่อมาได้
้เป็นพระครูวินัยธร
---ในระหว่างที่ท่านพระครูสังฆวิชิต(สุกรี)
ได้ส่งท่านมหาวิโรจน์ มาเป็นประธานสงฆ์นั้น ท่านได้เริ่มดำเนินการเรื่อง
การก่อตั้งวัด พร้อมกับ ได้นำนายอุทัย เจริญสวัสดิ์
นายเฉียม ชลศิริ เข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฐายี)
สมเด็จพระสังฆราช วัดมกุฏกษัตริยาราม
เพื่อขอประทานนามวัด นามพระพุทธรูปหินอ่อน 2 องค์ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราช
ได้กล่าวกับนายอุทัยว่า ชื่อเขาสาปไม่ดี ให้เปลี่ยนชื่อเป็นเขามงคล
ซึ่งภายหลังทางวัดชอบเรียกชื่อสั้นๆ ว่าวัดเขามงคล
ซึ่งภายหลังมีคนเอาลูกมาทิ้งไว้ให้เลี้ยงท่านพระครูวินัยธร
(ชุมพล) ได้ให้นามสกุลว่า มงคลคีรี ส่วนสมเด็จพระสังฆราช
ได้กรุณาประทานนามวัดชื่อว่า"วัดมงคลคีรีสามัคคีธัมโมทัย"
ให้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2510 ถวายพระนามพระพุทธ
ปฏิมาหน้าตัก 35 นิ้วปางมารวิชัยว่า"พระพุทธมงคลบพิตร วิชิตมารโมลีโลก
ประสิทธิศุภโชคสวัสดี ประสาธน์ศรีศุภมงคล"
ให้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2510 ถวายนามพระพุทธปฏิมา
หน้าตัก 14 นิ้ว ปางมารวิชัยว่า "พระพุทธมงคลญาณ ประหาร
สรรพโรคาพาธประสาธน์สันติสุขสวัสดิ์ประสิทธิศรีศุภโชค"
ให้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2510 และกระทรวงศึกษาธิการ
ได้ประกาศตั้งวัดลงวันที่ 14 เมษายน 2524ให้ชื่อว่า
"วัดมงคลสามัคคีธัมโมทัย"
----ครั้งแรกที่ทางตัดเข้าทางวัดช้างชนศิริราษฎรบำรุงลงทะเลและเลียบริมทะเลถึงคลองสาปน้อย
ไม่สามารถ
ต่อทางมาได้ เนื่องจากก่อสร้างสะพานข้ามคลอง ทางอำเภอเมืองระยอง
ได้สอบราคาแล้ว ปรากฏว่า ต้องใช้
เงินถึง 60,000 บาท ทางนายอำเภอ (ประกิต อุตโมท) จึงได้มีหนังสือชักชวนผู้ที่มีที่ดินติดชายทะเลให้ช่วยกันออกเงิน
ข้ามคลองสาปน้อย แต่ไม่มีผู้ใดยอมบริจาค มีแต่นายอุทัยได้ไปชักชวนพันเอกพยัคฆ์
เนตสุขำ รวมเงินกันได้20,000บาท
โดยให้นายอุทัยนำมามอบไว้กับนายอำเภอ แต่ก็ไม่สามารถสร้างสะพานได้
เพราะไม่มีผู้ใดยอมช่วยออกเงิน
ค่าสะพาน ดังนั้น นายอุทัยจึงปรึกษากับพระชุมพล เจ้าอาวาส
มีเงินเพียง 20,000 บาท ทำอย่างไรจะสามารถทำ
ทางเข้าวัดได้ ท่านชุมพลรับรองว่าสามารถทำได้ ดังนั้น นายอุทัยจึงเข้าพบนายอำเภอเมือง
ขอเงินที่บริจาคไว้
20,000 บาทคืน โดยยืนยันว่าจะมาทำการก่อสร้างกันเอง ท่านนายอำเภอจึงคืนเงินมา
ท่านชุมพลได้ไปติดต่อ
กับหน่วยนาวิกโยธินและอู่ตะเภา ขอความช่วยเหลือทางทหารเรือและช่างทหารอเมริกันที่สร้างสนามบินอู่ตะเภา
จึงได้ส่งเครื่องมือและช่างมาช่วย โดยมีชาวบ้านจำรุงพร้อมใจกันมาช่วยด้วยจนสำเร็จ
สิ้นเงินค่าสิ่งของไปไม่ถึง
20,000 บาท ทางวัดได้เงินเหลือเข้าวัดพร้อมทั้งไม้แบบอีกจำนวนมาก
----กุฏิสงฆ์ตามไหล่เขา
ไม่มีพระจำพรรษาเกิดปลวกขึ้น ดังนั้นจึงต้องรื้อลงมาสร้างเป็นกุฏิแฝดที่เชิงเขา
สร้างกุฏิสงฆ์ใหม่ 4 หลัง สร้างมณฑปจตุรมุขบนยอดเขา
1 หลัง
สร้างศาลาบำเพ็ญบุญ 1 หลัง สร้างศาลาเรียนธรรม 1 หลัง
สร้างศาลาโรงอาหาร 1 หลัง (ปีนี้ยังไม่แล้วเสร็จ)
สร้างโรงเก็บเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1 หลัง
สร้างส้วม ห้องน้ำ 3 หลัง สร้างกุฏิเจ้าอาวาส 1 หลัง
และนำไฟฟ้าเข้าหมู่บ้านจำรุงและวัดสำเร็จ
|