-----วัดนี้
ได้มีการริเริ่มคิดสร้างเมื่อ พ.ศ.2495 โดยครั้งแรก นายอุทัย
เจริญสวัสดิ์ ได้ชวน นายสำเริง อรัญนาถ
และ นายโพล้ง ฟุ้งเฟื่อง ชาวบ้านช่น เป็นผู้นำทางให้ขึ้นเที่ยวบนภูเขาสาป
นายโพล้งได้นำไต่ขึ้นทางด้านหินขาว
เมื่อขึ้นไปถึงยอด เขาแล้ว นายอุทัยเกิดความรู้สึกอยากให้เขาลูกนี้เป็นวัดแต่ก็ไม่ได้บอกกล่าวกับ
ผู้ที่ขึ้นไปด้วย
เมื่อกลับกรุงเทพฯแล้ว ไม่นานนายเฉียม ชลศิริ ชาวบ้านจำรุง
ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับเขาสาปได้มาพบนายอุทัย
ได้ชักชวนนายเฉียมให้ช่วยกันชักชวนชาวบ้านจำรุง ให้ช่วยกันสร้างวัดขึ้นที่เขาสาป
ซึ่งนายเฉียมก็ตกลงและยินดี
ยกที่ดินให้เพื่อการก่อสร้างโดยมีที่ดินติดต่อกับเขาสาป
ซึ่งเป็นที่ของนางแกว ภรรยา นายเฉียมเป็นสวนมะม่วง
กับขนุน โดยนายอุทัยจะเป็นฝ่ายจัดหาเงินมาดำเนินการก่อสร้าง
และลำดับต่อมามีผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัดอีก 4 ราย
คือ นายไทย ขวัญม่วง, นายเสริญ อินพรหม, นายจั๋ง จาระติกรรมา
และนายป่อง ชลสวัสดิ์ ซึ่งทั้ง 4 ท่านนี้มีที่ดิน
อยู่ในบริเวณติดต่อแนวเดียวกันกับเขาสาปเช่นกัน ต่อมาในปี
พ.ศ.2500 นายจำเนียร เจียมสมบูรณ์ หัวหน้าแผนก
รังวัดที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้มาขอให้นายอุทัยช่วยเหลือหาพระพม่าและชาวพม่าเที่ยวต่างจังหวัด
เพื่อชมวัดต่างๆ ซึ่งนายอุทัยได้ตกลงช่วยเหลือ นำเที่ยวจังหวัดนครปฐม
อยุธยา สระบุรี และล่องน้ำดูวัดริมแม่น้ำ
เจ้าพระยา พระและชาวบ้านพม่าเหล่านี้ต่างมาในงานฉลองพุทธศตวรรษ
2500 ปี โดยอาศัยพักอยู่ที่วัดประดิษฐาราม
(วัดมอญ เจริญพาสน์) ซึ่งนายจำเนียรมีบ้านใกล้กับวัดนี้ โดยมีพระสุชิน
ญาณรังษี จำพรรษาอยู่วัดเดียวกัน
เป็นล่ามแปลภาษาพม่าเป็นไทยในระหว่างนำเที่ยว
----เมื่อหมดงานฉลอง
2500 ปีแล้วพระและพม่าต่างขอบใจ ในความเอื้อเฟื้อของนายอุทัย
จึงจะขอตอบแทนบ้าง
นายจำเนียรทราบดีว่ากำลังคิดสร้างวัดกันอยู่ จึงปรึกษากันว่าวัดที่สร้างนี้ถ้าได้ของแปลกไว้ประจำวัดก็จะดี
ดังนั้น
นายอุทัยจึงขอให้ช่วยสร้างพระประธานหินอ่อนและพระพุทธบาทจำลองหินอ่อนไว้ประจำวัดที่จะสร้างขึ้นให้ม
ีองค์ใหญ่ ่พอสมควร ซึ่งพระและชาวพม่าได้ตกลงจะช่วยสร้างให้
และเพื่อความรวดเร็ว นายอุทัยได้มอบเงินมัดจำ
ไปก่อน60,000 บาท เมื่อตกลงราคากันจริงเท่าใดให้แจ้งมา แล้วจะส่งเงินไปเพิ่มให้ทันที
----หลังจากนั้นปลายเดือนธันวาคม
2501 ได้มีพระพม่า 2 รูป เดินทางมาที่วัดประดิษฐารามแจ้งกับพระสุชิน
ญาณรังษี ว่าพระพุทธรูปหินอ่อนได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
และได้ส่งมาทางเรือเดินสมุทร จะเข้าจอดที่
เกาะสอง (วิกตอเรียพ้อยท์) ทางเขตแดนพม่าในวันที่ 10 มกราคม
2502 และเล่าว่าพระพุทธรูปหินอ่อนได้ดำเนินการ
สร้างที่กรุงมัณฑเล ทางภาคเหนือของประเทศพม่า ระหว่างการขนส่งมาสู่ภาคใต้ที่กรุงย่างกุ้ง
ต้องผ่านสมรภูมิระหว่าง
พวกธงแดง ธงขาว ซึ่งกำลังต่อสู้เพื่อขอแยกเป็นรัฐอิสระจากสหภาพพม่า
ของพวกมอญ กะเหรี่ยง เงี้ยว ฯลฯ แต่ได้
พระอาจารย์พม่า (ที่เคยมาเที่ยวประเทศไทย)
ซึ่งเป็นอาจารย์ที่คู่ต่อสู้เคารพอย่างสูงเป็นผู้ควบคุมนำส่ง
ดังนั้นทุกฝ่าย
ต่างอาสารับส่งต่อๆ กันมาจนถึงเมืองย่างกุ้งอย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องเสียค่าขนส่งแต่อย่างใด
เมื่อถึงกรุงย่างกุ้ง
ชาวย่างกุ้งได้จัดการสมโภชแห่รอบเมืองย่างกุ้ง โดยเขียนป้ายว่า
พระพุทธรูปหินอ่อนและพระพุทธบาทหินอ่อนมา
จากกรุงศรีอยุธยา พร้อมกันนี้ได้มอบพระพุทธรูปหินอ่อนองค์เล็กหน้าตัก
14 นิ้ว ให้นายอุทัยไว้บูชาเป็นการส่วน
ตัว 1 องค์ ส่วนค่าขนส่งมาทางทะเลโดยเรือสินค้าจนถึงเกาะสอง
(วิกตอเรียพ้อยท์)ค่าสร้างพระพุทธรูปหินอ่อนและ
พระพุทธบาทจำลองหินอ่อนที่เหลือทั้งสิ้น ชาวพม่าได้พร้อมใจกันจ่ายแทน
ดังนั้น ในวันที่ 9 มกราคม 2502
นายอุทัยกับนายจำเนียร พร้อมด้วยท่านพระครูประดิษฐกัลยาณคุณ
เจ้าอาวาสวัดประดิษฐาราม จังหวัดธนบุรี
พระสุชิน ญาณรังษี (ล่าม) และพระพม่า
2 รูปผู้ส่งข่าว ได้ออกเดินทางจากวัดประดิษฐาราม ธนบุรี โดยรถจิ๊ปเล็ก
เดินทางตั้งแต่เวลา 06.00 นาฬิกา ผ่านจังหวัดนครปฐม ราชบุรี
เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร กระบี่ เข้าถึง
จังหวัดระนอง เวลา 23.30 นาฬิกาเศษ
|