กลอนหก

กลอนแปด ] กลอนดอกสร้อย ] กลอนสักวา ] [ กลอนหก ] รวมเวบไซต์ร้อยกรองไทย ]

     sub14.gif (14425 bytes)
        
 
            อธิบายผังโครงสร้าง
๑) แสดงผังโครงสร้างกลอนหก
ความยาว ๒ บท
๒) กลอน ๑ บท มี ๒ คำกลอน หรือ ๔ วรรค
๓) กลอน ๑ บาท มี ๖ คำ
๔) เส้นโยงภายในวรรค เรียกว่าสัมผัสใน
     ส่วนเส้นโยงคำท้ายวรรค เรียกว่า
     สัมผัสนอก
๕) กลอนยาว ๒ บทขึ้นไป ต้องเชื่อม
     สัมผัสท้ายวรรคที่๔ไปยังคำท้ายวรรคที่ ๒    
     ของบทถัดไปเสมอ
๖) การเขียนกลอนหกให้ไพเราะ ต้องเพิ่มสัมผัสใน
     ระหว่างคำที่ ๒ กับ ๓ อีก ๑ คู่  จากสัมผัสบังคับ
     ปกติ ระหว่างคำที่ ๔ กับ ๕ สัมผัสในคู่แรกนี้
     จะเป็นสัมผัสสระหรือพยัญชนะก็ได้ไม่บังคับ
     ซึ่งต่างจากกลอนสุภาพ ที่ต้องเป็ฌนสัมผัสสระ
      เท่านั้น

คำสัมผัสและเสียงท้ายวรรคของกลอนหก

ตัวอย่างสัมผัสใน


  บทที่ ๑        
บุหลัน วันเพ็ญ เด่นฟ้า
                  
สิบห้า ค่ำเยือน เดือนสาม
                   มาฆะ บูชา สง่างาม
                    อา
ราม รุ่งรัตน์ ชัชวาลย์
 
  บทที่ ๒
    
ระฆัง หงั่งเหง่ง เพลงพลิ้ว
                   โพธิ์
หวิว ไหวรับ ขับขาน
                   สำเนียง เพียงมนต์ ดลมาน
                   ซาบซ่าน สุขล้ำ อำไพ ...

         คำหรือพยางค์ ที่มีเสียงสระคล้องจองกัน
ในบทกลอนเรียกว่า สัมผัส   แบ่งเป็น ๒ ชนิด
คือ สัมผัสนอกและ สัมผัสใน
         
โปรดดูตัวอย่าง บทที่ ๑ คำต่อไปนี้ ...ฆัง
หงั่ง
เหง่ง เพลง... คำที่เน้นสีแดง คู่แรกเป็น
สัมผัสในคู่ที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อเพื่อความไพเราะ
จะมีหรือไม่มีก็ได้ส่วนที่เน้นสีม่วงเป็นสัมผัสใน
บังคับที่ต้องมี

 

 

 

                        (ร้อยกรองไทย)



ตัวอย่าง
สัมผัสนอก

บทที่ ๑        
บุหลัน วันเพ็ญ เด่นฟ้า
                   สิบ
ห้า ค่ำเยือน เดือนสาม
                   มาฆะ บูชา สง่า
งาม
                    อา
ราม รุ่งรัตน์ ชัชวาลย์
 
  บทที่ ๒
    
ระฆัง หงั่งเหง่ง เพลงพลิ้ว
                   โพธ
ิ์หวิว ไหวรับ ขับขาน

                    สำเนียง เพียงมนต์ ดลมาน
                    ซาบซ่าน สุขล้ำ อำไพ ...

        จากตัวอย่างเดิม   โปรดดูตัวอย่าง บทที่ ๑ ใหม่อีกครั้ง
คำต่อไปนี้ ...
ฟ้า ห้า สาม งาม  ราม   คราวนี้ตำแหน่งที่เน้น   
สีแดงจะเปลี่ยนไป   เป็นคำท้ายวรรค ๑ สัมผัสกับคำที่ ๒
ของวรรคที่ ๒   และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำ
สุดท้ายของวรรคที่ ๓ และคำที่ ๒ ของวรรคสุดท้าย จุดที่ ๑
         ต่อไปให้สังเกตคำว่า
วาลย์ ท้ายวรรคที่ ๔ ของ
บทที่ ๑  จะส่งสัมผัสไปยังคำว่า
ขาน ท้ายวรรคที่ ๒
ของบทที่ ๒ ตามกฎเกณฑ์ ของบทกลอน ที่มีความยาว
ตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไป
         ส่วนเรื่องเสียงท้ายวรรค การชิงสัมผัส สัมผัสซ้ำ
สัมผัสเลือน และสัมผัสทีฆะรัสสะ นั้น คงใช้หลักเกณฑ์
เดียวกันกับ
  กลอนแปด

            
บทกลอนตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทางในการแต่ง
                                      
                                     " มาฆบูชารำลึก "

                                                    บุหลันวันเพ็ญเด่นฟ้า
    
                                        สิบห้าค่ำเยือนเดือนสาม
                                            มาฆะบูชาสง่างาม
                                            อารามรุ่งรัตน์ชัชวาลย์
        ระฆังหงั่งเหง่งเพลงพลิ้ว
    โพธิ์หวิวไหวรับขับขาน

     สำเนียงเพียงมนต์ดลมาน
     ซาบซ่านสุขล้ำอำไพ
                                                   สำรวมจิตน้อมพร้อมพัก
                                                ตระหนักเคารพนบไหว้
                                                ธูปเทียนเวียนร้อยมาลัย
                                                น้อมใจรำลึกตรึกคุณ
          ทรงค่ายิ่งใหญ่ไตรรัตน์
     วิวัตน์โลกล้ำธรรมหนุน
      ดับเข็ญเย็นฉ่ำค้ำจุน
      ใบบุญโอบอ้อมน้อมนำ

                                                    รำลึกตรึกไปไกลโพ้น
                                                 ครั้งโคนป่าไผ่ใกล้ค่ำ
                                                 เมื่อครั้งเอกองค์ทรงธรรม
                                                 ตรัสย้ำโอวาทศาสดา
           ประมวลพระธรรมคำสอน
       แด่สงฆ์นิกรมากหน้า
       ณ เพ็ญเดือนสามงามตา
       เวียนมาพ้องกันวันนี้
                                                     เชิญเถิดผองเราชาวพุทธ์
                                                  ผ่องผุดบูชาสง่าศรี
                                                  ศรัทธากล้าล้ำ
... ทำดี 
                                                                  เชิดชี้ ...ศานติ ...นิรันดร์

                                        (วิธันว์   ศรีเมือง)