กลอนดอกสร้อย

กลอนแปด ] [ กลอนดอกสร้อย ] กลอนสักวา ] กลอนหก ] รวมเวบไซต์ร้อยกรองไทย ]

     
            sub16.gif (3171 bytes)
        
 
               อธิบายผังโครงสร้าง
๑) แสดงผังโครงสร้างกลอนดอกสร้อย
ความยาว
     จำนวน ๑ บท
๒) ดอกสร้อย ๑ บท มี ๔คำกลอน หรือ ๘ วรรค
๓) ดอกสร้อย ๑ วรรค นิยมเขียน ๗   คำ
     ยกเว้นวรรคแรก ที่มีเพียง ๔ คำ และบังคับ
     ว่า คำที่ ๓ และ ๔ ต้องเป็นคำเดียวกัน โดยมี
      คำว่า "เอ๋ย" คั่น เช่น  มดเอ๋ยมดแดง
๔) เส้นโยงภายในวรรค เรียกว่าสัมผัสใน
     ส่วนเส้นโยงคำท้ายวรรค เรียกว่า
     สัมผัสนอก
๕) ดอกสร้อย ต้องจบด้วยคำว่า "เอย" เสมอ
๖)สัมผัสนอกของ ดอกสร้อย วรรค รับ และวรรค
    ส่ง จะให้สัมผัสคำที่หรือ ๓ หรือ ๔ คำใด
    คำหนึ่งก็ได้
๗) ลักษณะบังคับอื่น ๆ เช่น

     
เรื่องเสียงท้ายวรรคการชิงสัมผัส         
      สัมผัสซ้ำ สัมผัสเลือน และสัมผัส
     ทีฆะรัสสะ นั้น คงใช้หลักเกณฑ์
     เดียวกันกับ
  กลอนแปด

  



            
บทดอกสร้อยตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทางในการแต่ง
                                      
                                    
" แมวเอ๋ยแมวเหมี๋ยว "

    สำนวนที่ ๑                   แมวเอ๋ยแมวเหมี๋ยว
                                 รูปร่างประเปรียวเป็นนักหนา
                                 ร้องเรียกเหมี๋ยวเหมี๋ยวเดี๋ยวก็มา
                                 เคล้าแข้งเคล้าขาน่าเอ็นดู
                                         รู้จักเอารักเข้าต่อตั้ง
                            ค่ำค่ำสำนั่งระวังหนู
                                 ควรนับว่ามันกตัญญู
                                 ควรดูอย่างไว้ใส่ใจเอย

    
                                           
  (ของเก่า)     

    สำนวนที่ ๒               
" ร่มเอ๋ยร่มเกล้า "   

                                         ร่มเอ๋ยร่มเกล้า
                                 ร่มด้วยเงากษัตริย์สวัสดิ์ศรี
                                 ร่มใบบุญเมตตา ธ ปรานี
                                 เกิดเป็นที่ร่มพักหลักใจชนู
                                          ถึงฝนฉ่ำน้ำเย็นชื่นเป็นเอก
                            ยังมิเฉกน้ำพระทัยพระให้ผล
                                 ถึงไม้พุ่มคลุมไพลร่มไพร่พล
                                 ยังมิพ้นยุคลบาทร่มชาติเอย

                   (สมศักดิ์   ศรีเอี่ยมกุล  / เพชรคำกลอง)

สำนวนที่ ๓              "เมืองเอ๋ยเมืองหลวง"             

                                       เมืองเอ๋ยเมืองหลวง
                                 อดีตล่วงใช่ลืมความขื่นขม
                                 อยุธยายังย้ำความช้ำตรม
                                 คงเป็นคมประวัติศสาตร์บาดกมล
                                       กว่าจะสร้างเมืองใหม่ยิ่งใหญ่นี้
                                   เลือดไทยพลีท่วมกายแล้วหลายหน
                                 เพื่อเห็นแก่วิญญาณบรรพชน
                                 ไทยทุกคนต้องแหนหวงเมืองหลวงเอย

    
                                           
                      (วิธันว์  ศรีเมือง)     

                 
   
                                                 
                     
                
                                          
  (ร้อยกรองไทย)