หม้อฮ่อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ  ช่อแฮศรีเมือง  ลือเลื่องแพะเมืองผี  คนแพร่นี้ใจงาม

เครื่องหมายประจำจังหวัดแพร่
      แผนที่ของภาคเหนือ
      อาณาจักร
      ลักษณะภูมิประเทศ        
      อาณาเขตติดต่อ
      ขนมธรรมเนียมประเพณี
      ภูมิประเทศ จ.แพร
      ภูมิอากาศ จ.แพร
     อาชีพประชากร จ.แพร
  การเดินทางไปเที่ยว จ.แพร
     พระธาตุช่อแฮ
     อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์
     อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
     ถ้ำผานางคอย
     แพะเมืองผี
     กลุ่มพระธาตุวัดต่างๆ
     ประวัติผู้จัดทำ 1
     ประวัติผู้จัดทำ 2
    ประวัติอาจารย์ผู้สอน

                               
              ขนบธรรเนียมประเพณีที่สำคัญของภาคเหนือ
              
1. ประเพณีสงกรานต์ 
       ถือกันมาแต่สมัยโบราณว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของล้านนา เรียกว่า วันมหาสงกรานต์
    ตรงกับวันที่   13 เมษายน  วันสงกรานต์ตามปกติจะมี  3  วัน คือ เริ่มตั้งแต่วันที่
    13 เมษายน เป็นวัน    มหาสงกรานต์  วันที่  14 เป็นวันเนาเป็นติวันว่างอยู่เฉยๆ  
    ส่วนวันที่ 15 ถือเป็นวันเถลิงศก  คือวันขึ้น ศักราชปีใหม่  ก่อนวันสงกรานต์ชาวบ้าน
   จะจัดเตรียม   ข้าวของทำบุญ   มีข้าวปลาอาหารทั้งหวานและคาว ดอกไม้ธูปเทียน
  
ให้พร้อมและมีการปัดกวาดทำความสะอาดบ้านเรือน โต๊ะบูชาพอรุ่งขึ้นวันสงกรานต์
   ก็จะพากันไปตักบาตร  ทำบุญเลี้ยงพระที่วัด รับศิล ปล่อยนก ปล่อยปลา สรงน้ำพระ 
   รดน้ำผู้ใหญ่ มีการเล่นสนุกสนานรื่นเริง  และมีการเลี้ยงกันในบรรดาญาติมิตร 
   การละเล่นที่นิยมกันในวันสงกรานต์นี้  คือการรดน้ำหรือสาดน้ำสงกรานต์ซึ่งถือเป็นการ
   ให้พรด้วยน้ำ เพื่อความร่มเย็นเป็นสุข ประเพณี ทำบุญสงกรานต์นับเป็นประเพณี
   สำคัญของคนไทยทั่วทุกภาค
        


                                   การรดน้ำหรือสาดน้ำเป็นการละเล่นที่นิยมทำกัน
                          อย่างแพร่หลายทั่วประเทศในเทศกาลสงกรานต์

               
    2.ประเพณีสืบชะตา 
       ประเพณี
การสืบชะตาเป็นประเพณีพื้นเมือง วัตถุประสงค์ในการทำ
   พิธีกรรมนี้ ก็เพื่อความเป็นสิริมงคลและความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง 
   เรียกว่า สืบชะตาเมือของหมู่บ้านเรียกว่า  สืบชะตาบ้าน  หรือของบุคคล 
    เรียกว่า  การสืบชะตา
   การสืบชะตาคนมักทำได้หลายโอกาส เช่น        เนื่องในวันเกิด งานขึ้นบ้านใหม่ 
   หรือเจ้าของบ้านเจ็บป่วย สถานที่ทำพิธีคือ บ้านหรือห้องโถงที่กว้างขวางพอที่
   จะต้อนรับญาติมิตร  ที่มาร่วมงานในการทำพิธี
สืบชะตานี้ มีการทำบุญ
   ถวายภัตตาหารเพล แด่พระสงฆ์และมีการฟังเทศน์ด้วย
                                                                                                                


                  
                   3.ประเพณีตานก๋วยสลาก  (ทานสลากภัต)
            ประเพณีกิ๋นก๋วยสลากเป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณมักจะเริ่มจากวันเพ็ญเดือน12
   (เหนือ )  หรือเดือนกันยายนเป็นระยะเวลา  1  เดือน
      ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือเรียกอีกอย่างว่า ประเพณีกิ๋นสลาก  กิ๋น หมายถึง
   รับประทาน  ประเพณีนี้เป็นประเพณีทำบุญที่  นิยมทำในปลายฤดูฝน  
   ซึ่งมีข้าวปลาอาหาร  ผลไม้อุดมสมบูรณ์
      ก๋วย  คือภาชนะสานด้วยไม้ไผ่สานตาห่างๆ  เหมือนสานชะลอม แต่ไม่รวบปาก
   ทำเป็นที่ถือเหมือนชะลอมต่อเมื่อบรรจุภัต  คือ ข้าวปลาอาหาร  ส้มสุกลูกไม้ กล้วย
   อ้อย  ขนม  ข้าวต้ม  จนเต็มแล้วจึงรวบปากมัดกับกรวยดอกไม้
  ธูปเทียน และ
   ยอดกัณฑ์   ใช้ไม้คานสอดหาบกันไปวัด

                                      ประเพณีการกิ๋นสลาก  หรือสลากภัต
      
      การกินก๋วยสลากนี้แต่ละก๋วยจะมีเส้นสลากเป็นแผ่นเล็กๆ  เขียนชื่อเจ้าของและ
   จุดประสงค์ว่าจะอุทิศส่วนกุศลนั้นไปให้ใคร จากนั้นเจ้าของสลากจะนำเส้นไปให้ผู้
   รวบรวมจักแบ่งเส้นสลากตามจำนวนพระเณรที่นิมนต์จากวัดต่างๆ   เพื่อทำพิธีถวาย
   แล้วเจ้าของสลากจะตามไปดูว่าเส้นสลากของตนจะตกอยู่กับพระรูปใด ก็นำก๋วยสลาก
   ไปถวายพระรูปนั้น  ส่วนเส้นสลากที่ไม่ตกกับพระรูปใด  ก็เป็นส่วนของพระเจ้า  คือ
   พระประธานในวิหาร  ซึ่งยอดเงินจำนวนนี้จะต้องเป็นเงินกองกลางของวัด  สำหรับ
   ใช้ค่าในกิจการของวัดต่อไป

            4.    ประเพณีลอยกระทง
      ประเพณีลอยกระทงตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ใต้ (เดือนยี่เหนือ) ประมาณเดือน
   พฤศจิกายน   งานนี้สันนิษฐานว่าเป็นประเพณีที่ทำกันมาตั้งแต่สมัย
  สุโขทัย มีการ
   จัดทำกระทงและโคมไฟซึ่งร้อยดอกไม้นานาชนิดเป็นรูปต่างๆ  ประกวดกัน  ในโคม
   มีธูปเทียนปักอยู่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อไฟและ   ปล่อยโคมให้ลอยไปตามสายน้ำในเวลา
   กลางคืน   และยังมีกาารละเล่นอื่นๆอีกด้วย   เป็นประเพณีที่คนไทยนิยมปฎิบัติ
   กันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่เปลี่ยนชื่อจากจองเปรียงพระประทีปมาเป็นลอยกระทง

                                      



      คติการลอยกระทงมีการสันนิฐานกันหลายประการ  เช่น เป็นการลอยกระทง
   เพื่อไปสัการบูชารอยพระพุทธบาท   หรือเพื่อขอขมาต่อแม่พระคงคา  โดยมาปรับ
   ให้เข้ากับชีวิตของคนไทย  เพราะคนไทยได้อาศัยแม่น้ำเป็นเครื่องยังชีวิต  ใช้เป็น
   น้ำกินน้ำใช้ในชีวิตประจำวันและการเกษตร  จึงถือว่าการลอยกระทงเป็นการขอขมา
   ต่อพระแม่คงคา  ที่ตลอดปีได้ทิ้งสิ่งปฎิกูลลงไปในน้ำ  ทำให้น้ำสปรกเหมือนเป็นการ
   ขาดความคารวะและเป็นการบูชาคุณของพระแม่คงคาที่ให้น้ำกินน้ำใช้ตลอดมา
                        





       

        จัดทำโดย   นางสาว กัญญารัตน์  ปวนสาย    นางสาว สายฝน   เจริญศรี      ชั้นม.6/1
     โรงเรียนสรอยเสรีวิทยา   ต.สรอย    อ.วังชิ้น    จ.แพร่   54160