[ Map of Thailand ]
dp dmbc kk mp
"สวัสดีครับ มาหาใครครับ กรุณารอสักครู่ครับ เชิญครับ ขอบคุณครับ"
สำนักงาน
ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง

ประวัติ , ผังการจัด

ทำไม? จึงเข้มงวดเรื่องทำบัตรผ่าน
การขอบัตรผ่านเข้า-ออก เขต ทอ.
การขับขี่ยานพาหนะในเขต ทอ.
กำหนดการปิด-เปิด ช่องทาง ทอ.
การขอใบอนุญาตประเภทบุคคล
การใช้ยานพาหนะในเขต บก.ทอ.
กฎ ระเบียบ แบบธรรมเนียมทหาร
ส.ค.ส. 2541 พระราชทานสู่ชาวไทย
กองทัพอากาศของท่าน
Royal Thai Air Force Day
งบประมาณ กองทัพไทย ปี 41
นโยบาย ทอ. ปีงบประมาณ 41
ข่าวสารในกิจการของทหารไทย
มาร์ชสี่เหล่า และเพลงปลุกใจ
การตรวจเยี่ยมสายวิทยาการ สห.
โครงการ สขว.ทอ.

โทรศัพท์ฉุกเฉิน ทอ.
แจ้งเหตุด่วน, เหตุร้าย 191
เพลิงไหม้ 192
รถพยาบาลฉุกเฉิน 194
อากาศยานอุบัติเหตุ 196
พัน.สห.ทอ. 2-2197 - 9
ศูนย์รวมข่าวดับเพลิง 2-2126,7
ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทอ.ทุ่งสีกัน 3-0065
สถานีดับเพลิงย่อยทุ่งสีกัน 2-2129, 3-0083
ศูนย์โทรศัพท์กลาง ทอ. 523-6151, 523-6161


Supreme Command Headqurters
,
Royal Thai Armed Forces"

กรมธนารักษ์



ดัชนีข้อบังคับทหารว่าด้วยเรือนจำ

มาตรา ๑ ประเภทเรือนจำ
มาตรา ๒ การปกครองบังคับบัญชา
มาตรา ๓ การรับตัวผู้ต้องขัง
มาตรา ๔ การแยกผู้ต้องขัง
มาตรา ๕ นักโทษ
มาตรา ๖ เครื่องพันธนาการ
มาตรา ๗ การควบคุมผู้ต้องขัง
มาตรา ๘ การทำงาน
มาตรา ๙ การอนามัยและสุขาภิบาล
มาตรา ๑๐ การเลี้ยงอาหาร
มาตรา ๑๑ ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ
มาตรา ๑๒ การลงทัณฑ์ฐานผิดวินัย
มาตรา ๑๓ การเฆี่ยนผู้ต้องขัง
มาตรา ๑๔ การลา
มาตรา ๑๕ พักการลงโทษ
มาตรา ๑๖ การปล่อยตัว
มาตรา ๑๖ ทวิ การประหารชีวิต
ม. ๑๗ การร้องทุกข์และถวายฎีกา
มาตรา ๑๘ การพิมพ์ลายนิ้วมือ
มาตรา ๑๙ สมุดแลละบัญชีต่าง ๆ
มาตรา ๒๐ ข้อความเบ็ดเตล็ด


ข้อบังคับทหาร
ว่าด้วยเรือนจำ
 ที่ ๑๐/๑๒๐๖๗ พ.ศ. ๒๔๘๐
-------------------------------

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติเรือนจำทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ จึงตรา
ข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
ประเภทเรือนจำ
ข้อ ๑. เรือนจำทหารแบ่งออกเป็นประเภท ดังนี้
    (๑) เรือนจำมณฑลทหาร
    (๒) เรือนจำจังหวัดทหาร
    (๓) เรือนจำกรมกรองทหาร หรือเรือนจำทหารชั่วคราว
ข้อ ๒. เรือนจำมณฑลทหาร จัดตั้งขึ้นตามมณฑลทหาร โดยปกติสำหรับคุมขังผู้ต้องขังซึ่งเป็น
คนของมณฑลทหารนั้น ๆ
ผู้ต้องขังที่ต้องรับอาญาจำคุกเกินกว่า ๕ ปีขึ้นไป หรือที่ไม่ไว้วางใจจะส่งตัวไปฝากคุมขังไว้ยัง
เรือนจำฝ่ายพลเรือนที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นเดียวกันก็ได้
ข้อ ๓. เรือนจำจังหวัดทหาร จัดตั้งขึ้นตามจังหวัดทหาร ซึ่งกองบังคับการจังหวัดนั้นมิได้ตั้งอยู่ใน
จังหวัดเดียวกันกับที่ตั้งกองบังคับการมณฑล ฯ โดยปกติสำหรับคุมขังผู้ต้องขังซึ่งเป็นคนของจังหวัดนั้น ๆ
แต่ผู้ต้องขังที่ต้องรับอาญาจำคุกเกินกว่า ๒ ปีขึ้นไป หรือที่ไม่ไว้วางใจ จะส่งตัวไปฝากคุมขังไว้ยังเรือนจำ
มณฑลทหารหรือเรือนจำฝ่ายพลเรือนที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นเดียวกันก็ได้
ข้อ ๔. เรือนจำกรมกองทหาร หรือเรือนจำทหารชั่วคราว จัดตั้งขึ้นตามหน่วยกรมกองทหาร หรือใน
สถานที่บางแห่งที่เห็นสมควรและจำเป็นสำหรับเป็นที่คุมขังผู้ต้องขังซึ่งเป็นคนของกรมกองทหาร
     ๑. มาตรา ๑ ข้อ ๑(๑) นี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามคำสั่งทหาร ที่ ๕๙/๑๘๙๔ ลง ๘ พ.ค.๘๒ และที่
    ๒๑๗/๒๑๙๕๐ ลง ๘ ก.ย.๘๖
     ๒. มาตรา ๑ ข้อ ๒ นี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามคำสั่งทหาร ที่ ๕๙/๑๘๙๔ ลง ๘ พ.ค.๘๒ และที่
    ๒๑๗/๒๑๙๕๐ ลง ๘ ก.ย.๘๖
    เรือนจำประเภทนี้ ให้มีลักษณะเช่นเดียวกับเรือนจำจังหวัดทหารและจะจัดตั้งขึ้นได้โดย
    อนุมัติตามความเห็นชอบของผู้บัญชาการทหาร เว้นแต่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินจึงให้ผู้บังคับบัญชา
    สูงสุด ณ ที่นั้น มีอำนาจสั่งตั้งได้ แต่ต้องรีบรายงานให้ผู้บัญชาการทหารทราบ
    ส่วนการที่จะส่งตัวผู้ต้องขังสำหรับทหารบกไปคุมขังไว้ยังเรือนจำอื่นนั้น ให้ผู้บังคับการ
    มณฑลทหารบกเป็นผู้กำหนด
    ๓. มาตรา ๑ ข้อ ๕ นี้ เพิ่มเติมตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๐๒
ข้อ ๕. ให้เรือนจำทหารต่อไปนี้ มีฐานะเท่าเรือนจำมณฑลทหาร คือ  
    (๑) เรือนจำสถานีทหารเรือกรุงเทพ  
    (๒) เรือนจำสถานีทหารเรือสัตหีบ  
    (๓) เรือนจำทหารอากาศ

มาตรา ๒
การปกครองบังคับบัญชา
ข้อ ๑ เพื่อให้กิจการในเรือนจำ ดำเนินไปโดยเรียบร้อย สมความมุ่งหมายของทางราชการ ให้แบ่ง
การบังคับบัญชาดังนี้
    (๑) เรือนจำมณฑลทหาร ให้ผู้บัญชาการมณฑลทหารเป็นผู้บังคับบัญชาเรือนจำโดยตำแหน่ง
    และมีผู้บังคับเรือนจำมณฑลทหารเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบโดยตรง
    เรือนจำสถานีทหารเรือกรุงเทพ ให้ผู้บังคับการสถานีทหารเรือกรุงเทพเป็น  ผู้บัญชาการ
    เรือนจำโดยตำแหน่งและมีผู้บังคับเรือนจำสถานีทหารเรือกรุงเทพเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบโดยตรง
    เรือนจำสถานีทหารเรือสัตหีบ ให้ผู้บังคับการสถานีทหารเรือสัตหีบเป็นผู้บัญชาการเรือนจำ
    โดยตำแหน่ง และมีผู้บังคับเรือนจำสถานีทหารเรือสัตหีบเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบโดยตรง
    เรือนจำทหารอากาศ ให้ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมืองเป็นผู้บัญชาการเรือนจำโดยตำแหน่ง
    และมีผู้บังคับเรือนจำจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบโดยตรง
    (๒) เรือนจำจังหวัดทหาร ให้ผู้บังคับการจังหวัดทหารเป็นผู้บัญชาการเรือนจำ โดยตำแหน่ง
    และมีผู้บังคับเรือนจำจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบโดยตรง
    (๓) เรือนจำกรมกองทหาร หรือเรือนจำทหารชั่วคราว ให้ผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุด
    ในที่นั้นเป็นผู้บัญชาการเรือนจำ และให้มีผู้บังคับเรือนจำเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบโดยตรง
ข้อ ๒. ผู้บัญชาการเรือนจำ มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบบังคับบัญชากิจการเรือนจำโดยทั่วไป และ
ทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาเหนือเจ้าพนักงานเรือนจำตลอดจนผู้ต้องขังทั้งปวงที่สังกัดอยู่ในเรือนจำนั้น     
นอกจากอำนาาจและหน้าที่ดังกล่าวแล้วในวรรคก่อน ผู้บัญชาการเรือนจำจักต้อง
    (๑) ตรวจการเรือนจำด้วยต้นเองอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อหาโอกาสสอบถามความทุกข์สุข
    ของผู้ต้องขัง ถ้าไม่สามารถจะไปตรวจด้วยตนเองได้ ต้องจัดนายทหารชั้นสัญญาบัตรไปตรวจแทน  
    (๒) วางระเบียบการเลี้ยอาหาร และการจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้ต้องขัง
    (๓) เอาใจใส่ดูแลทุกข์สุขของผู้ต้องขัง เปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังร้องทุกข์ได้โดยสะดวก
    และเต็มที่
ข้อ ๓. ผู้บังคับเรือนจำ เป็นเจ้าพนักงานเรือนจำ มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
    (๑) รับผิดชอบบังคับบัญชากิจการของเรือนจำให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย
    (๒) รักษาและดูแลบูรณะสถานที่และทรัพย์สินของเรือนจำ  
    (๓) ปกครองและควบคุมระเบียบ วินัยของเจ้าพนักงานและผู้ต้องขังที่อยู่ในสังกัดของตน  
    (๔) ตรวจตราป้องกันการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขัง ตลอดจนการหลบหนีและจับกุม เมื่อมี
    การกระทำผิดทางอาญา  
    (๕) แบ่งการงานของเรือนจำออกเป็นส่วน ๆ มอบหมายให้เจ้าพนักงานในสังกัดไปดำเนินการ
    ควบคุมหรือจัดทำ
    (๖) จัดการและควบคุมการทำงานของผู้ต้องขัง  
    (๗) จัดการและควบคุมการศึกษาตลอดจนการอบรมผู้ต้องขัง     
    (๘) ดูแลการอนามัยของผู้ต้องขัง การสุขาภิบาลเรือนจำ และจัดให้เป็นไปตามคำแนะนำ
    ของแพทย์  
    (๙) รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและของอันเกี่ยวแก่กิจการของเรือนจำ  
    (๑๐) ตรวจอาหารของผู้ต้องขังให้มีคุณภาพดีพอที่จะรับประทานได้และต้องให้ผู้ต้องขัง
    รับประทานอาหารโดยสุภาพเรียบร้อยตามระเบียบของทหาร  
    (๑๑) เมื่อผู้ต้องขังคนใด มีอาการป่วยต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบ     
    (๑๒) ถ้าผู้ต้องขังตายในเรือนจำ ต้องให้แพทย์จัดการชันสูตรศพและทำใบสำคัญไว้แล้วรีบ
    รายงานด่วนต่อผู้บัญชาการเรือนจำ
    (๑๓) ควบคุมดูแลการทะเบียบบัญชีของเรือนจำ     
    (๑๔) เปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังร้องทุกข์ได้โดยสะดวก
    
ข้อ ๔. เมื่อผู้บังคับเรือนจำไม่อยู่ ให้ผู้บัญชาการเรือนจำสั่งตั้งให้ข้าราชการกลาโหมที่เห็นสมควร
รักษาการแทน     
ข้อ ๕. ทุกเรือนจำ ให้มีผู้คุมประจำตามอัตราตามสมควร     
ข้อ ๖. ผู้คุมเป็นเจ้าพนักงานเรือนจำรองจากผู้บังคับเรือนจำและมีหน้าที่ดังนี้
    (๑) กระทำตามคำสั่งของผู้บังคับเรือนจำโดยเคร่งครัดและด้วยความสุจริตใจ  ไม่ประมาท
    เลินเล่อหรือละเลย     
    (๒) ปกครองและควบคุมระเบียบวินัยของผู้ต้องขัง     
    (๓) ตรวจตราป้องกันการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขัง ตลอดจนการหลบหนีและจับกุม
    เมื่อมีการกระทำผิดอาญา     
    (๔) จัดการและควบคุมการทำงานของผู้ต้องขังตามที่ผู้บังคับบัญชาได้มอบหมายให้     
    (๕) ตรวจตราเครื่องพันธนาการของผู้ต้องขังในเวลาที่จะนำผู้ต้องขังเข้าออกจากที่คุมขัง
    ทุกครั้ง เมื่อเห็นสิ่งใดชำรุดบกพร่อง ต้องรีบจัดการแก้ไขให้เป็นที่มั่นคงแข็งแรงโดยไม่นิ่งนอนใจ
    (๖) อบรมผู้ต้องขังในสังกัดของตนให้มีวินัยและศิลธรรมอันดี     
    (๗) ดูแลตรวจตราการอนามัยของผู้ต้องขังตลอดจนการสุขาภิบาลของเรือนจำให้เป็นไปตาม
    คำแนะนำของแพทย์     
    (๘) เมื่อผู้ต้องขังร้องทุกข์โดยชอบต้องเอาใจใส่ช่วยเหลือเต็มความสามารถที่จะทำได้     
    (๙) เมื่อขณะกระทำการอยู่ตามหน้าที่ จะละทิ้งหน้าที่ไปไม่ได้เป็นอันขาด     
    (๑๐) ห้ามมิให้นำญาติมิตรหรือบุคคลอื่นใดเข้าไปในบริเวณเรือนจำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต
    จากผู้บังคับเรือนจำ
ข้อ ๗. บุคคลอื่นใดที่มิใช่ผู้คุม เมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้กระทำหน้าที่ผู้คุม ให้ถือว่าผู้คุมเป็นผู้คุมพิเศษ
ผู้คุมพิเศษมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้คุมประจำทุกประการ     
ข้อ ๘. ห้ามมิให้ผู้บังคับบัญชาเรือนจำ หรือเจ้าพนักงานเรือนจำผู้ใดแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว
หรือผู้อื่นเนื่องแต่ผลแห่งแรงงานของผู้ต้องขัง กับทั้งห้ามมิให้รับจำนำ จำนอง แลกเปลี่ยน  ซื้อขาย หรือยืม
ทรัพย์สินไม่ว่าอย่างใด ๆ ของผู้ต้องขัง
ข้อ ๙. เจ้าพนักงานเรือนจำ จักต้องประพฤติตนให้เป็นที่เคารพนับถือของผู้ต้องขังจะใช้กิริยาวาจา
หยาบคายแก่ผู้ต้องขังไม่ได้เป็นอันขาด     
ข้อ ๑๐. ผู้บัญชาการเรือนจำ จักต้องจัดให้มีแพทย์ตรวจการสุขาภิบบาล และการอนามัยในเรือนจำ
ทุกแห่ง     
แพทย์ตามวรรคก่อน มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติการอันเกี่ยวแก่เรือนจำในส่วนที่ได้กำหนดไว้ให้เป็น
หน้าที่ของแพทย์     
ข้อ ๑๑. ผู้ทำการในหน้าที่หรือรักษาการแทนในตำแหน่ง ให้มีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับ
เจ้าพนักงานที่ได้ทำการในหน้าที่หรือตำแหน่งนั้น

มาตรา ๓
การรับตัวผู้ต้องขัง
    
    ข้อ ๑. เมื่อเจ้าพนักงานเรือนจำได้รับตัวผู้ต้องขังไว้แล้ว ให้จัดการดังต่อไปนี้
    (๑) ตรวจสิ่งของที่ตัวผู้ต้องขัง
    (๒) ให้แพทย์ตรวจอนามัยผู้ต้องขัง     
    (๓) จัดการบันทึกเรื่องเกี่ยวแก่ผู้ตัองขัง
ข้อ ๒. การตรวจค้นสิ่งของที่ตัวผู้ต้องขังนั้น ถ้าผู้ต้องขังนั้น เป็นหญิงก็ให้ผู้ต้องขังนั้นเองแสดง
สิ่งของที่ตนมีติดตัวมาต่อเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ตรวจ หากยังเป็นที่สงสัยว่าผู้ต้องขังจะไม่แสดงสิ่งที่มีอยู่
ทั้งหมดก็ให้เชิญหญิงอื่นที่เชื่อถือมาช่วยทำการตรวจให้
ข้อ ๓. เจ้าพนักงานเรือนจำ จักต้องให้ผู้ต้องขังที่รับตัวไว้ใหม่แยกไว้ต่างหากจากผู้ต้องขังอื่น
เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจอนามัยก่อน หากโดยสภาพการณ์ไม่อาจจะจัดการอย่างนั้นได้ ก็ให้พยายามปฏิบัติให้ใกล้
เคียงกับที่กำหนดไว้
ข้อ ๔. ให้แพทย์ตรวจอนามัยผู้ต้องขังที่ได้รับตัวไว้ใหม่ในวันที่รับตัวนั้น ถ้าไม่อาจจะมาตรวจใน
วันนั้นได้ ก็ให้มาตรวจในวันที่ถัดต่อไปโดยเร็ว
เมื่อแพทย์ตรวจพบว่า ผู้ต้องขังคนใดป่วย จักต้องมีการรักษาพยาบาบหรือมีโรคติดต่อซึ่งจะลุกลาม
เป็นภัยร้ายแรงแก่ผู้อื่น ให้แพทย์ชี้แจงแนะนำการปฏิบัติแก่ผู้บังคับเรือนจำ
เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานเรือนจำจะต้องพยายามปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในส่วนที่เกี่ยวแก่
การรักษาพยายาลผู้ต้องขังนั้น
หากแพทย์ตรวจพบว่าผู้ต้องขังคนใดป่วย ซึ่งจำเป็นต้องส่งออกไปรักษาตัวนอกเรือนจำให้แพทย์
แจ้งต่อผู้บังคับเรือนจำ และทำรายงานยื่นต่อผู้บัญชาการเรือนจำ ในรายงานนั้นให้ชี้แจงอาการป่วยที่ตรวจพบ
ความเห็นในเรื่องโรคหรือชนิดของการป่วยและสถานรักษาพยาบาลนอกเรือนจำที่เห็นสมควรจะให้จัดส่งตัว
ไปรักษาพยาบาบนั้นด้วย
ข้อ ๕. ในกรณีที่แพทย์ไม่สามารถจะมาตรวจในวันที่รับตัวผู้ต้องขังไว้ได้ และเจ้าพนักงานเรือนจำ
สังเกตุเห็นว่า ผู้ต้องขังมีอาการป่วยจำต้องรักษาพยาบาล หรือมีโรคติดต่อจะลุกลามเป็นภัยร้ายแรงแก่ผู้อื่น
ก็ให้ผู้บังคับเรือนจำรีบจัดการส่งตัวผู้นั้นไปยังสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดก่อนไได้
ข้อ ๖. เมื่อเจ้าพนักงานเรือนจำได้รับผู้ต้องขังไว้ ต้องสอบสวนผู้นั้นให้ตรงกับรายการในหมายหรือ
เพลาการสั่งขังก่อน ครั้นแล้วจึงให้จัดการจดบันทึกข้อความที่เกี่ยวแก่ผู้ต้องขัง และลงทะเบียนต่อไปตาม
ระเบียบ

มาตรา ๔
การแยกผู้ต้องขัง
ข้อ ๑. ผู้ต้องขังให้แบ่งแยกออกเป็นประเภท ดังนี้
     (๑) คนต้องขังระหว่างสอบสวนหรือระหว่างพิจารณาของศาลและคนฝาก
    (๒) คนต้องจำขังตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร
    (๓) นักโทษ
คนต้องขังตาม  (๑)  และ (๒) ข้างต้นนั้น จะต้องแบ่งออกเป็นพวกย่อย ๆ ลงไปอีก ๒ จำพวก คือ
ข้าราชการกลาโหมชั้นสัญญาบัตรพวกหนึ่ง นายทหารชั้นประทวน พลทหาร และบุคคลอื่นจำพวกหนึ่ง
ข้อ ๒. ให้จัดแบ่งสถานที่ของเรือนจำออกเป็นส่วน ๆ โดยให้มีสิ่งกีดกั้นหรือขอบเขตอันแน่นอน
แสดงส่วนแบ่งนั้น ๆ และจัดแยกผู้ต้องขังแต่ละประเภทหรือจำพวกไว้ในส่วนต่าง ๆ ที่จัดแบ่งขึ้นนั้น
หากเรือนจำใด โดยสภาพการไม่อาจทำได้ดังนั้นก็ให้พยายามจัดการคุมขังผู้ต้องขังให้ใกล้เคียงกับที่
ได้กล่าวมาแล้ว
ข้อ ๓. ผู้ต้องขังซึ่งไม่น่าจะรวมอยู่กับผู้ต้องขังอื่นในประเภทเดียว หรือสถานที่เดียวกันได้โดยจะก่อ
เหตุร้ายหรือมีเหตุพิเศษอย่างอื่นที่ควรจะแยกการคุมขังแล้ว ก็ให้แยกผู้นั้นไปได้
ข้อ ๔. คนต้างขังในระหว่างสอบสวนหลายคนในคดีเดียวกัน โดยปกติให้แยกไว้อย่าให้ปะปนกัน
ข้อ ๕. คนต้องขังหญิง ให้แยกคุมขังไว้ต่างหากจากผู้ต้องขังชาย และเมื่อมีสภาพเป็นนักโทษแล้ว
เมื่อใดให้ทางการรีบจัดการส่งตัวไปคุมขังไว้ยังเรือนจำฝ่ายพลเรือน

มาตรา ๕
นักโทษ
ข้อ ๑. นักโทษ พึงแบ่งออกเป็นชั้น ๆ ดังต่อไปนี้
    (๑) ชั้นเยี่ยม
    (๒) ชั้นดีมาก
    (๓) ชั้นดี
    (๔) ชั้นกลาง
    (๕) ชั้นเลวมาก
ข้อ ๒. นักโทษที่เข้าใหม่ให้อยู่ในชั้นกลางจนกว่าจะมีการเลื่อนหรือลดชั้น เว้นแต่ได้เคยต้องโทษ
มาแล้วและมาต้องโทษในคราวนี้อีกภายใน ๕ ปี นับแต่วันพ้นโทษคราวก่อนกับความผิดทั้ง ๒ คราวนั้น
ไม่ใช่ความผิดฐานลหุโทษหรือประมาท ให้อยู่ในชั้นเลว
นักโทษซึ่งอยู่ชั้นต่าง ๆ ก่อนวันใช้ข้อบังคับนี้และข้อความใดที่กำหนดเกี่ยวกับชั้นของนักโทษ
ให้ถือและปรับเข้าชั้นตามที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ
    (๑) ชั้นดีมาก ปรับเทียบเข้าชั้นเยี่ยม
    (๒) ชั้นดี ปรับเทียบเข้าชั้นดีมาก
    (๓) ชั้นสามัญ ปรับเทียบเข้าชั้นกลาง
ข้อ ๓. นักโทษย่อมได้รับสิทธิ ความสะดวกและประโยชน์ต่างกันตามชั้นในข้อสำคัญดังต่อไปนี้
    (ก) นักโทษ
      (๑) นักโทษชั้นเยี่ยม
        ก. จะได้รับการพิจารณาผ่อนผันให้ความสะดวกในอันดับสูงสุด
        ข. จะได้รับการพิจารณาตั้งให้มีตำแหน่งหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
        ค. จะได้รับการพิจารณาตั้งให้มีตำแหน่งเป็นยามในตรวจ
        ง. จะได้รับการพิจารณาเมื่อขอลาไปธุระสำคัญหรือกิจการในครอบครัว
        ปีละไม่เกิน ๒ ครั้ง
        จ. จะได้รับการพิจารณาพักการลงโทษ
        ฉ. มีโอกาสได้รับการเยี่ยมญาติมิตรสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง
        ช. จะได้รับอนุญาตให้ส่งจดหมายถึงญาติมิตรได้
        ซ. จะได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารส่วนตัวได้
        ฌ. จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องนุ่งห่มของตนเองซึ่งไม่ขัดกับข้อบังคับนี้ได้
        ญ. ไม่ต้อทำงานหนัก เว้นแต่เกี่ยวแก่อนามัยของผู้ต้องขังและการสุขาภิบาล
        ของเรือนจำ
      (๒) นักโทษชั้นดีมาก
        ก. จะได้รับการพิจารณาผ่อนผันให้ความสะดวกในอันดับรองลงไป
        จากชั้นเยี่ยม
        ข. จะได้รับการพิจารณาตั้งให้มีตำแหน่งช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
        ค. จะได้รับการพิจารณาตั้งให้มีตำแหน่งเป็นยามในสามัญ
        ง. จะไดัรับการพิจารณาเมื่อขอลาไปกิจธุระสำคัญ หรือกิจการในครอบครัว
        ปีละ ๑ ครั้ง
        จ. มีโอกาสได้รับการเยี่ยมญาตมิตรสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
        ฉ. จะได้รับอนุญาตให้ส่งจดหมายถึงญาติมิตรได้
        ช. จะได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารส่วนตัวได้
        ซ. จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องนุ่งห่มของตนเองซึ่งไม่ขัดกับข้อบังคับนี้ได้
        ฌ. ไม่ต้องทำงานหนัก เว้นแต่เกี่ยวแก่อนามัยของผู้ต้องขังและการ
        สุขาภิบาลของเรือนจำ
      (๓) นักโทษชั้นดี
        ก. จะได้รับการพิจารณาผ่อนผันให้ได้รับความสะดวกรองลงไปจาก
        ชั้นดีมาก
        ข. มีโอกาสได้รับการเยี่ยมญาติมิตร ๒ สัปดาห์ต่อ ๑ ครั้ง
        ค. จะได้รับอนุญาตให้ส่งจดหมายถึงญาติมิตรได้สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
        ง. จะได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารส่วนตัวได้สัปดาห์ละ ๒ มื้อ
      (๔) นักโทษชั้นกลาง
        ก. มีโอกาสได้รับการเยี่ยมญาติมิตร ๓ สัปดาห์ต่อ ๑ ครั้ง
        ข. จะได้รับอนุญาตให้ส่งจดหมายถึงญาติมิตรได้ ๒ สัปดาห์ต่อ ๑ ครั้ง
        ค. จะได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารส่วนตัวได้สัปดาห์ ๑ มื้อ
      (๕) นักโทษชั้นเลว
        ก. มีโอกาสได้รับการเยี่ยมญาติมิตร ๔ สัปดาห์ต่อ ๑ ครั้ง
        ข. จะได้รับอนุญาตให้ส่งจดหมายถึงญาติมิตรได้ ๓ สัปดาห์ต่อ ๑ ครั้ง
        ค. จะได้รับอนุญาตให้รับประทานอาหารส่วนตัวได้ ๒ สัปดาห์ต่อ ๑ มื้อ
      (๖) นักโทษชั้นเลวมาก
        ก. มีโอกาสได้รับการเยี่ยมญาติมิตร ๕ สัปดาห์ต่อ ๑ ครั้ง
        ข. จะได้รับอนุญาตให้ส่งจดหมายถึงญาติมิตรได้ ๔ สัปดาห์ต่อ ๑ ครั้ง
        ค. ห้ามสูบบุหรี่
    (ข) คนต้องขังและคนฝาก ย่อมได้รับสิทธิโดยอนุโลมตามนักโทษชั้นเยี่ยมในเรื่อง
      (๑) การเยี่ยมญาติมิตร
      (๒) การส่งจดหมายถึงญาติมิตร
      (๓) การรับประทานอาหารส่วนตัว
    สำหรับความสะดวกและประโยขน์อย่างอื่น ๆ ให้อนุโลมตามนักโทษชั้นกลาง
ข้อ ๔. นักโทษที่อยู่ในชั้นต่ำ เมื่อเลื่อนชั้นไปอยู่ในชั้นสูงย่อมได้รับประโยชน์ในชั้นที่ได้เลื่อนขึ้น
ไปอยู่และกลับตรงกันข้าม กล่าวคือ นักโทษในชั้นสูงที่ถูกลดลงมาอยู่ในชั้นต่ำ ย่อมจะต้องเสียประโยชน์
ในชั้นสูงที่ตนได้รับอยู่ก่อน และจะมารับการปฏิบัติ ตลอดจนความสะดวกในชั้นต่ำที่ตนต้องเข้าอยู่ใหม่
ข้อ ๕. นักโทษที่มีความชอบในราชการเป็นพิเศษจะได้รับการพิจารณาผ่อนผันให้ความสะดวก
หรืออาจได้รับการพิจารณาเลื่อนชั้นให้ แล้วแต่ผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณาเห็นสมควรแก่ความชอบ  และ
คุณประโยชน์อันเกิดแก่ราชการ
ข้อ ๖. โดยปกติให้ตั้งนักโทษชั้นดีมากขึ้นเป็นยามในสามัญได้ ๒๐ คน และตั้งนักโทษชั้นเยี่ยม
ขึ้นเป็นยามในตรวจได้ ๑๐ คน ในจำนวนร้อยของผู้ต้องขังที่มีอยู่ในเรือนจำแห่งหนึ่ง เว้นแต่ในกรณีพิเศษ
ผู้บัญชาการเรือนจำอาจสั่งตั้งได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๗. ยามในสามัญมีหน้าที่ดังนี้
    (๑) ในเวลากลางคืน มีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันอยู่ยามดูแลผู้ต้องขังภายในที่คุมขัง
    (๒) ในเวลาที่ต้องขังออกทำงานนอกเรือนจำ ให้มีหน้าที่ตามแต่ผู้บัญชาจะมอบหมายให้
ข้อ ๘. ยามในตรวจ มีหน้าที่ดังนี้
    (๑) เป็นผู้ช่วยผู้คุม ควบคุมผู้ต้องขังเวลาทำงานซึ่งอยู่ดภายในบริเวณเรือนจำ
    (๒) ดูแลตรวจตรายามในสามัญที่เป็นยามให้ปฏิบัติหน้าที่โดยกวดขัน
ข้อ ๙. การเลื่อนหรือลดชั้นก็ดี การตั้งให้มีตำแหน่งหน้าที่เป็นยามในสามัญหรือยามในตรวจก็ดี
อยู่ในอำนาจของผู้บัญชาการเรือนจำที่จะพิจารณาและสั่งอนุมัติ
ข้อ ๑๐ การเลื่อนชั้นให้กระทำเมื่อสิ้นเดือนมิถุนายนครั้งหนึ่ง และเมื่อสิ้นเดือนธันวาคมครั้งหนึ่ง
    แต่นักโทษที่จะได้รับการพิจารณานี้ต้องได้รับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือน นับตั้งแต่วันที่ศาล
    พิพากษาคดีถึงที่สุด
ในกรณีมีเหตุพิเศษ จะเลื่อนชั้นก่อนเวลาในวรรคก่อนก็ได้
การลดชั้นจะกระทำได้เมื่อการฝ่าฝืนข้อห้ามและข้อปฏิบัติของผู้ต้องขัง
ข้อ ๑๑. การเลื่อนหรือลดชั้น ตามปกติให้กระทำได้ตามลำดับ คราวละชั้น เว้นแต่ในกรณีเหตุพิเศษ
จะเลื่อนหรือลดข้ามชั้นก็ได้
ให้ผู้บัญชาการเรือนจำตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาเลื่อนหรือลดชั้นตามหลักเกณฑ์
 ดังต่อไปนี้
    (๑) การเลื่อนชั้นตามปกติ
      ก. มีความประพฤติเรียบร้อย ขยันหมั่นเพียร
      ข. ตั้งใจรับการอบรมเกี่ยวกับวิชาสามัญ วิชาชีพ ศืลธรรม วัฒนธรรมอันดี และ
      ข้อห้ามข้อปฏิบัติของผู้ต้องขัง
    (๒) การเลื่อนกรณีมีเหตุพิเศษ
    เป็นผู้มีความประพฤติดี มีความอุตสาหะความก้าวหน้าในการศึกษาอบรมและทำงาน
    บังเกิดผลดี และทำความชอบแก่ราชการดีเด่นเป็นพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
      ก. ต่อสู้ขัดขวางป้องกันการหักแหกเรือนจำ
      ข. ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในภาวะอันตราย
      ค. เสี่ยงอันตรายเข้าป้องกันจับกุมผู้ต้องขังอื่นที่ก่อการจลาจลหรือก่อเหตุร้ายแรง
      ง. ทำการดับเพลิงในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้อาคารสถานที่ของเรือนจำตนเองได้รับ
      อันตราย หรือได้ผลดี
      จ. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดนอกจากหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายตามปกติธรรมดา
      จนบังเกิดผลดีแก่ทางราชการเป็นพิเศษ
    (๓) การลดชั้น
      ฝ่าฝืนข้อห้ามและข้อปฏิบัติของผู้ต้องขัง

    มาตรา ๖
    เครื่องพันธนาการ
    ข้อ ๑. เครื่องพันธนาการอันพึงใช้แก่ผู้ต้องขังนั้น กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
      (๑) ตรวน
      (๒) กุญแจมือ
      (๓) โซ่ล่าม
    ข้อ ๒. ตรวนมี ๒ ขนาด คือ
      ขนาดที่ ๑ วัดผ่าศูนย์กลาง ๑๐ มิลลิเมตร
      ขนาดที่ ๒ วัดผ่าศูนย์กลาง ๑๗ มิลลิเมตร
    ลูกโซ่ระหว่างวงแหวนนั้น มิให้ใช้สั้นกว่า ๕๐ เซนติเมตร และมิให้ยาวกว่า ๗๕ เซนติเมตร
    กับต้องมิให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกินกว่า ๑๗ มิลลิเมตร
    การใช้ตรวจนั้น โดยปกติให้ใช้ขนาดที่ ๑ จะพึงใช้ขนาดที่ ๒ ได้ต่อเมื่อเห็นจำเป็น
    ข้อ ๓. กุญแจมือ ให้ใช้ตามแบบขนาดซึ่งทางราชการจะกำหนดตามที่เห็นสมควร
    ข้อ ๔. โซ่ล่ามนั้น พึงใช้ล่ามระหว่างตรวจหรือระหว่างกุญแจมือกับสิ่งยึดเหนี่ยวประจำที่
    อย่างอื่นเช่นนี้ มีขนาดยาวไม่น้อยกว่า ๑ เมตร กับต้องมิให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกินกว่า ๑๐ มิลลิเมตร
    ข้อ ๕. ภายใต้บังคับอนุมาตรา (๕) ในมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติเรือนจำทหาร
     พุทธศักราช ๒๔๗๙ นั้น ให้ผู้บัญชาการเรือนจำเป็นเจ้าหน้าที่ มีอำนาจที่จะสั่งให้ใช้เครื่อง
    พันธนาการแก่ผู้ต้องขังและที่จะเพิกถอนคำสั่งนั้น
    ข้อ ๖. ในกรณีที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขังไปนอกเรือนจำ ถ้าจะใช้เครื่อง พันธนาการให้ใช้กุญแจมือเว้นแต่นักโทษหรือคนต้องขังในคดีอุกฉกรรจ์จะให้ตรวนก็ได้
    ข้อ ๗. เรื่องพันธนาการซึ่งกำหนดไว้ในข้อบังคับนี้มิให้ใช้แก่ผู้ต้องขังอายุเกิน ๖๐ ปี     หรือผู้ต้องขังหญิง เว้นแต่เป็นบุคคลดุร้ายหรือวิกลจริต ซึ่งจำต้องป้องกันมิให้ก่อภยันตราย
    หรือเป็นผู้ต้องขังชายซึ่งดำเนินตามความในข้อ ๖ แห่งมาตรานี้
    ข้อ ๘. ห้ามมิให้เจ้าพนักงานใช้เครื่องพันธนาการอย่างอื่น นอกจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
    เว้นแต่เครื่องพันธนาการที่มีอยู่แล้วในเวลานี้ ให้อนุโลมใช้ไปพลางก่อน จนกว่าจะจัดการสร้างขึ้นใหม่
    อนึ่ง ในกรณีฉุกเฉิน ผู้บัญชาการเรือนจำจะอนุญาตให้ใช้เครื่องพันธนาการอย่างอื่น  ซึ่งเห็นว่า
    เบากว่าที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ก็ได้

    มาตรา ๗
    การควบคุมผู้ต้องขัง
    ข้อ ๑. ให้นำผู้ต้องขังเข้าห้องขังเวลา ๑๘๐๐ และนำออกจากห้องขังเวลา ๐๖๐๐
    หากกำหนดเวลานี้ไม่เหมาะแก่กิจการหรือสภาพการณ์แห่งเรือนจำ ให้ผู้บัญชาการเรือนจำกำหนด
        เวลาใหม่ได้ตามที่เห็นสมควร
    ข้อ ๒. ก่อนที่จะนำผู้ต้องขังออกไปนอกเรือนจำหรือกลับเข้าเรือนจำ เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมต้อง
    ตรวจสิ่งของต้องห้ามที่ตัวผู้ต้องขังก่อนเสมอทุกครั้ง
    ข้อ ๓. เมื่อจ่ายผู้ต้องขังออกนอกบริเวณเรือนจำ หากการควบคุมตกเป็นหน้าที่ของทางเรือนจำ
    แล้ว ต้องจัดให้มีผู้คุม ๑ คน ต่อผู้ต้องขังไม่เกิน ๕ คน จะเปลี่ยนแปลงจำนวนนี้ได้ต่อเมื่อ     ผู้บัญชาการเรือนจำได้อนุมัติ
    ข้อ ๔. เมื่อจะนำผู้ต้องขังเดินทางไกลไปต่างท้องถิ่นจะต้องจัดให้ผู้ควบคุมไม่น้อยกว่า ๒ คน
    ข้อ ๕. การรักษาการนอกกำแพงหรือขอบเขตเรือนจำเพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องขังหลบหนีนั้น     ให้ผู้บัญชาการเรือนจำพิจารณาและสั่งการป้องกันหรือขอกำลังจากหน่วยทหารที่ใกล้เคียงได้
    ตามที่เห็นสมควร
    ข้อ ๖. เมื่อมีเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในเรือนจำ เจ้าพนักงานเรือนจำต้องรีบแจ้งเหตุต่อผู้บังคับ
    เรือนจำ และเป็นหน้าที่ของผู้บังคับเรือนจำจักต้อง
      (๑) รวบรวมเจ้าพนักงานเรือนจำทำการป้องกันโดยกวดขัน
      (๒) ให้แจ้งเหตุต่อนายทหารเวรรักษาการณ์หรือกองรักษาการณ์ที่ใกล้เคียงให้ทราบโดยด่วน
      (๓) ให้รีบรายงานผู้บัญชาการเรือนจำ
    เมื่อผู้บัญชาการเรือนจำทราบเหตุ จะต้องมายังเรือนจำและจัดการระงับเหตุโดยทันที
    ข้อ ๗. ผู้ต้องขังทั้งปวง เมื่อทราบว่าได้มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นดังกล่าวแล้วในข้อก่อน
    ต้องสงบนิ่งอยู่ตามหน้าที่ ๆ กำลังกระทำอยู่ และต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานเรือนจำ
    โดยเคร่งครัด

    มาตรา ๘
    การทำงาน
    ข้อ ๑. นักโทษและผู้ต้องขังในความผิดฐานละเมิดพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหารที่ไม่
    พิการทุพพลภาพหรือป่วยนั้น เจ้าพนักงานเรือนจำจะจัดให้ทำงานได้ทุกอย่างตามที่เห็นสมควร
    ข้อ ๒. งานที่จัดให้ทำนั้น จักต้องพิจารณาถึงเหตุผลต่อไปนี้ เช่น
      (๑) กำหนดโทษ
      (๒) ความแข็งแรงแห่งร่างกาย
      (๓) สติ ปัญญา และอุปนิสัย
      (๔) ฝีมือหรือความรู้ความชำนาญ
      (๕) ผลของการงาน
      (๖) ผลในทางอบรม
      (๗) สภาพการณ์แห่งเรือนจำ
    นอกจากนี้ แล้วแต่ผู้บังคับเรือนจำจะพิจารณาาตามที่เห็นสมควร
    ข้อ ๓. ห้ามมิให้จ่ายผู้ต้องขังออกทำงานนอกเรือนจำ เว้นแต่นักโทษชาย และผู้ต้องขัง     ในความผิดฐานละเมิดพระราชบัญญัติ ว่าด้วยวินัยทหาร ผู้บัญชาการเรือนจำอนุญาตได้
    ข้อ ๔. การจ่ายผู้ต้องขังไปทำงานนอกเรือนจำ เจ้าหน้าที่ผู้มารับกับเจ้าหน้าที่ทาง     เรือนจำต้องลงนามรับส่งผู้ต้องขังกันไว้ในสมุดบัญชีให้เป็นหลักฐาน
    ข้อ ๕. เวลาทำงาน ห้ามมิให้ผู้ควบคุมอนุญาตให้บุคคลใด ๆ นอกจากผู้บังคับบัญชาหรือ     เจ้าหน้าที่ของเรือนจำเข้าใกล้หรือพูดจา หรือให้สิ่งของไม่ว่าอย่างใด ๆ แก่ผู้ต้องขัง
    ข้อ ๖. โดยปกติให้กำหนดเวลาทำงาน ดังนี้
      (๑) เวลา ๐๖๐๐ ทำงานที่เกี่ยวแก่การอนามัยของผู้ต้องขัง การสุขาภิบาลของ     เรือนจำหรือสถานที่ราชการบางแห่งที่เห็นสมควร
      (๒) เวลา ๐๘๐๐ ถึง ๐๙๐๐ รับประทานอาหารเช้า
      (๓) เวลา ๐๙๐๐ จ่ายไปทำงานตามหน้าที่
      (๔) เวลา ๑๒๐๐ พักงาน
      (๕) เวลา ๑๓๐๐ เริ่มทำงานต่อไป
      (๖) เวลา ๑๖๐๐ เลิกงาน อาบน้ำ รับประทานอาหารเย็นและพักผ่อนต่อไปจนถึง
      เวลาเข้าห้องขัง
      (๗) ก่อนถึงเวลานอน ให้ผู้ต้องขังได้มีการไหว้พระสวดมนต์ตามระเบียบ
      ของทหาร
    ข้อ ๗. ในวันหยุดราชการต่าง ๆ โดยปกติ ให้ผู้ต้องขังทำการที่เกี่ยวแก่การอนามัย
    ของผู้ต้องขัง การสุขาภิบาลของเรือนจำ และรับการอบรมในตอนเช้า (ระหว่าง ๐๖๐๐ - ๑๒๐๐)
    ตอนบ่ายให้พักงาน

    มาตรา ๙ การอนามัยและการสุขาภิบาล (มีต่อ)

เหตุด่วน, เหตุร้าย แง ศูนย์ควบคุมและสั่งการ พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2117 - 9 ทอ. 2-2197 - 9
แจ้งเบาะแสแหล่งอบายมุข, ยาเสพติดให้โทษ, แหล่งการพนัน ผบ.พัน.สห.ทอ. โทร. 534-2113 โทรสาร. 523-7596
E-mail:dmbc4@ksc.th.com