กลับหน้าแรก / ปีทองคนพิการ / ปีอาหารกลางวัน100% / ปีเน้นปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ / ปีนำไปสู่มาตรฐานโรงเรียน /
 ปีสร้างความเพียรด้วยมหาชนก//  ปีหยิบยกเกษตรทฤษฎีใหม่  /  ปีสร้างความปลอดภัยด้วยโรงเรียนสีขาว / ปีก้าวสู่นำร่องการศึกษาภาคบังคับ 9 ป

 

ก้าวสู่การนำร่องจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี

กรอบแนวคิด

ในปีงบประมาณ 2543 สปจ. ขอนแก่น ดำเนินงานตามโครงการนำร่องจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ตามนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน เพื่อเตรียมเข้าสู่ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ตามกรอบนโยบาย 4 ด้าน ของ สปช. โดยคัดเลือก พื้นที่ทดลองจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ในทุกอำเภอ อำเภอละ 2 ตำบล รวม 50 ตำบล เพื่อการศึกษาเรียนรู้และปรับปรุงพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาที่ได้มาตรฐาน นำขยายผลในพื้นที่
ประชุม อบรม ขยายผลการวางแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคบังคับ 9 ปี แก่ หน.ปอ. / ก. หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์, หัวหน้างานบริหาร สปอ./ก. ประธานกลุ่มโรงเรียน
ดำเนินงานในโรงเรียนพื้นที่ตำบลนำร่อง

ยุทธศาสตร์

  • ประชาสัมพันธ์เชิงรุก ชี้แจงทำความเข้าใจ ด้วยกิจกรรม :
    - สปจ. สัญจรพบเพื่อนครู 25 สปอ./ก.
    - ผอ.ปจ. พบ อบต., ผู้นำชุมชน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, บุคลากร (ครู) ทุกคน ในพื้นที่ตำบลนำร่อง ทุกตำบล ทำความเข้าใจ
    - การถ่ายโอน - รับช่วงการจัดการศึกษา อนุบาล 3 ขวบ
    - ชุมชน อบต. ให้การช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส
  • ประชุม อบรม ขยายผลการวางแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคบังคับ 9 ปี แก่ หน.ปอ./ก.,หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์
  • ดำเนินงานในโรงเรียนพื้นที่ตำบลนำร่อง

ผลการดำเนินงาน

  • โรงเรียนในพื้นที่ตำบลนำร่องทั้ง 50 ตำบล รวมทั้งสิ้น 252 โรงเรียน บริหารจัดการ ในระบบเครือข่ายได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาโดยรวม
  • ชุมชนตระหนักในบทบาทและเห็นความสำคัญ ที่จะร่วมมือกันจัดการศึกษา ให้แก่บุตรหลานมากขึ้นโดยให้มีการสนับสนุนในด้านความคิด แรงกาย และงบประมาณ 1,293,800 บาท
  • ครูผู้สอนในโรงเรียนนำร่องจัดการศึกษา ภาคบังคับ 9 ปี ทั้ง 252 โรงเรียน ได้รับการพัฒนามาตรฐานด้านการเรียนการสอน ตามแนวปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยทั่วถึงส่งผลให้เกิดการยอมรับเชื่อถือจาก ชุมชน ผู้ปกครอง ที่มีต่อบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยรวม
  • เด็กวัยเรียนในพื้นที่ได้รับการศึกษาโดยทั่วถึง โดยได้รับการพัฒนารอบด้านเต็มตามศักยภาพ อัตราการศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของนักเรียนที่จบชั้น ป. 6 ปีการศึกษา 2542 ตำบลนำร่อง ที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 99.89 ตำบลนำร่อง ที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 94.36 และนักเรียนเหล่านี้ได้รับการดูแล เอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ศึกษาต่อในโรงเรียน สังกัด สปช. หรือสังกัดอื่นในรูปแบบต่าง ๆ
    • การจัดคุณครูที่ปรึกษาให้ต่อเนื่อง
    • การจัดค่ายวิชาการ "ด้วยสายใยรักจากคุณครู"
    • การจัดค่ายวิชาการ "ค่ายแห่งความหวัง"
    • การจัดค่ายวิชาการ "เด็กและเยาวชนคนดี"