กลับหน้าแรก / ปีทองคนพิการ / ปีอาหารกลางวัน100% / ปีเน้นปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ / ปีนำไปสู่มาตรฐานโรงเรียน
 / ปีสร้างความเพียรด้วยมหาชนก /  ปีหยิบยกเกษตรทฤษฎีใหม่ / ปีสร้างความปลอดภัยด้วยโรงเรียนสีขาว / ปีก้าวสู่นำร่องการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี

 

ปีเน้นงานปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
กรอบแนวคิด

 

การพัฒนานักเรียน ให้เจริญเติบโตไปสู่การเป็นบุคคลที่มีที่มีคุณค่าต่อสังคม ในยุคที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรง หลากหลายและเหลื่อมล้ำเช่นนี้ กระบวนการพัฒนาที่สำคัญ คือ "กระบวนการเรียนรู้" นักเรียนควรมีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง มีกระบวนการเรียนรู้เป็นของตนเอง สามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และพร้อมจะพัฒนาสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น จึงกำหนดกรอบแนวคิดในการดำเนินงานปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้โดย

  • จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
  • วัดประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง
  • วิจัยเชิงปฏิบัติการ / วิจัยและพัฒนา
ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน

 

  • สร้างความตระหนักการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
  • พัฒนาบุคลากรแกนนำ
  • พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • ส่งเสริมบทบาทชมรม / เครือข่ายทางวิชาการ
  • ส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน / วิจัยปฏิบัติการ
  • ส่งเสริมการจัดค่ายวิชาการ
กิจกรรมและผลการดำเนินงาน

 

สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่นมีโรงเรียนที่สามารถบริหารจัดการได้มาตรฐานเป็นแบบอย่าง ขยายแนวคิดสู่การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบอย่าง ขยายแนวคิดสู่การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนอื่น ๆ ในลักษณะเครือข่ายคลุมพื้นที่ 8 รูปแบบ ประกอบด้วย

รูปแบบที่ 1 โรงเรียนเพื่อนเด็ก 5 โรงเรียน
รูปแบบที่ 2 โรงเรียนแกนนำปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ2โรงเรียน
รูปแบบที่ 3 โรงเรียนแกนนำปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น 146โรงเรียน
รูปแบบที่ 4 โรงเรียนต้นแบบการประกันคุณภาพภายใน 25 โรงเรียน
รูปแบบที่ 5 โรงเรียนเครือข่ายสหวิทยาการ 7 โรงเรียน
รูปแบบที่ 6 โรงเรียนต้นแบบการสอนคณิตศาสตร์ 35 โรงเรียน
รูปแบบที่ 7 โรงเรียนต้นแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถทางปัญญาด้านภาษาไทย 33 โรงเรียน
รูปแบบที่ 8 โรงเรียนนำร่องการสอนภาษาอังกฤษสู่ความเป็นเลิศ 6 โรงเรียน

บุคลากรในสังกัดมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองและสมัครใจเข้าร่วมในหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และเป็นระบบ มีกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น สมควรเป็นบุคลากรแกนนำโดยรวมกลุ่มจัดตั้งชมรมเครือข่าย ทั้งสิ้น 12 ชมรม
  • หน.ปอ. / ก. ผช.หน.ปอ. / ก. 50 คน
  • ผู้บริหารโรงเรียน 1,132 คน
  • ครูคณิตศาสตร์ 1,200 คน
  • ครูภาษาไทย 881 คน
  • ครูสังคมศึกษา 250 คน
  • การวิจัยและพัฒนา 750 คน
  • ศึกษานิเทศก์ 87 คน
  • ข้าราชการพลเรือน 211 คน
  • ครูวิทยาศาสตร์ 558 คน
  • ครูภาษาอังกฤษ 717 คน
  • ครูก่อนประถมศึกษา 240 คน
  • เครือข่ายครูขอนแก่น 61 คน
ครูผู้สอนทุกคนได้รับการพัฒนามาตรฐานการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในหลักสูตร
  • การสอนโดยโครงงานและบูรณาการทุกกลุ่มประสบการณ์และรายวิชาทั้งระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
  • การส่งเสริมความสามารถทางปัญญาด้านภาษาไทย
  • การเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา

บุคลากรในสังกัดรวมกลุ่มกันจัดตั้ง ชมรม เครือข่าย ทางวิชาการเพื่อพัฒนาวิชาชีพทั้งในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ โดยบุคลากรแต่ละคนเป็นสมาชิกอย่างน้อย 1 ชมรม และมีการดำเนินงานทางวิชาการร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จำนวนทั้งสิ้น 11 ชมรม ดังนี้

  • ชมรมวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษา สมาชิก 750 คน
  • ชมรมหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ สมาชิก 25 คน
  • ชมรมศึกษานิเทศก์ สมาชิก 92 คน
  • ชมรมผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ สมาชิก 25 คน
  • ชมรมผู้บริหารโรงเรียน สมาชิก 53 คน
  • ชมรมข้าราชการพลเรือน สมาชิก 211 คน
  • ชมรมครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาชิก 558 คน
  • ชมรมครูคณิตศาสตร์ สมาชิก 1,200 คน
  • ชมรมครูภาษาไทย สมาชิก 881 คน
  • ชมรมครูภาษาอังกฤษ สมาชิก 717 คน
  • ชมรมครูระดับก่อนประถมศึกษา สมาชิก 574 คน

บุคลากรในสังกัดมีความรู้ในเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนและการวิจัยในหน่วยงาน โดยได้รับการพัฒนาในรูปแบบของการอบรมปฏิบัติการโดยทั่วถึง สามารถดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนได้ในปีงบประมาณ 2543 ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้ง 73 ทุน ดังนี้
  • สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 6 ทุน
  • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ จำนวน 3 ทุน
  • กรมวิชาการ จำนวน 2 ทุน
  • เขตการศึกษา 9 จำนวน 2 ทุน
  • สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น

โครงการอบรมครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ม. ต้น จำนวน 8 ทุน
โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา จำนวน 6 ทุน
โครงการโรงเรียนสีขาว จำนวน 33 ทุน
โครงการวัยในชั้นเรียน (วิทยาศาสตร์ ม. ต้น) จำนวน 13 ทุน

นักเรียนในสังกัดได้รับการพัฒนารอบด้าน ตามหลักการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และส่วนหนึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนากระบวนการคิดในรูปแบบการจัดค่ายวิชาการ ซึ่งสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น สนับสนุนงบประมาณ ให้สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอดำเนินการคลุมพื้นที่ ประกอบด้วย
  • ค่ายภาษาไทย
  • ค่ายศิลปศึกษา
  • ค่ายพระมหาชนก
  • ค่ายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
  • ค่ายภาษาอังกฤษ
  • ค่ายโรงเรียนสีขาว (เด็กและเยาวชนคนดี)
  • ค่ายยุวฑูตความดี
  • ค่ายคณิตศาสตร์
  • ค่ายโครงงานนักเรียน