rossoVINITALIA for Italian wine lovers |
![]() |
| แนะนำตัว | เรื่องของไวน์ | ประเทศอิตาลี | เขตการผลิตไวน์ | พันธุ์องุ่น | ไวน์นานาชนิด | ไวน์ระดับสูง | เขต DOC และ DOCG | ผู้ผลิตไวน์ชั้นนำ| ไวน์ที่ได้รับรางวัล | ภาษาอิตาเลียน| กระดานข่าว | ุเรื่องน่ารู้ | คุยกับเรา |
ภาษาอิตาเลียน
ภาษาอิตาเลียนเป็นภาษาที่ใช้สื่อความหมายในประเทศอิตาลีทั้งภาษาราชการและภาษาท้องถิ่น มีอักขระเหมือนกับภาษาอังกฤษเพราะมีรากฐานมาจากภาษาละตินเหมือนกัน
ภาษาอิตาเลียนที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียนจะมีความใกล้เคียงกับภาษาสเปนเป็นอย่างมาก แต่เป็นภาษาที่ไม่แพร่หลายเหมือนกับภาษาสเปน
แต่สำหรับแฟนพันธุ์แท้ของไวน์อิตาเลียนจำเป็นที่จะต้องมีทักษะทางภาษาอิตาเลียนบ้าง อย่างน้อยก็ควรจะต้องเรียกชื่อไวน์ ชื่อพันธุ์องุ่น หรือชื่อสถานที่ได้อย่างถูกต้อง
ผมเคยเรียนภาษาอิตาเลียนขั้นพื้นฐาน 60 ชั่วโมง จากมหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อปีค.ศ.1999 ได้มีโอกาสใช้บ้างตามสมควร จึงอยากที่จะถ่ายทอดให้กับสมาชิก rossoVINITALIA ได้รู้กันไว้บ้าง
เชื่อเถอะครับ ภาษาอิตาเลียน..เรียนไม่ยาก
อักษรในภาษาอิตาเลียน [ L'alfabeto Italiano]
มีอยู่ 21 ตัว เป็นพยัญชนะ 16 ตัว และสระ 5 ตัว
พยัญชนะ 16 ตัว ได้แก่ b c d f g h l m n p q r s t v z สระ 5 ตัว ได้แก่ a e i o u
a ออกเสียง อา
b ออกเสียง บี หรือ บิ
c ออกเสียง ชี หรือ ชิ
d ออกเสียง ดี หรือ ดิ
e ออกเสียง เอ
f ออกเสียง เอฟเฟ
g ออกเสียง จี หรือ ยี
h ออกเสียง อัคคา
i ออกเสียง อี หรือ อิ
l ออกเสียง เอล-เล
m ออกเสียง เอม-เม
n ออกเสียง เอน-เน
o ออกเสียง โอ หรือ ออ
p ออกเสียง ปี
q ออกเสียง คู
r ออกเสียง เอ-เร
s ออกเสียง เอส-เส
t ออกเสียง ตี
u ออกเสียง อู
v ออกเสียง วู
z ออกเสียง เซ-ตา
พยัญชนะพิเศษสำหรับใช้เขียนคำภาษาต่างประเทศ 5 ตัว ได้แก่ j k x y w
j ออกเสียง อี-ลุง-ก้า
k ออกเสียง คัป-ป้า
x ออกเสียง อิกซ
y ออกเสียง อิป-ซิ-ลอน
w ออกเสียง วู-ดอป-ปิ-โอ
2. อักษรและเสียงในภาษาอิตาเลียน [ Ortografia e suono ]
a ออกเสียง อา เช่น casa อ่านว่า คา-ซา แปลว่า บ้าน
b ออกเสียง บิ หรือ บี เช่น bicicletta อ่านว่า บิ-ชิ-เคล็ต-ต้า แปลว่า จักรยาน
c ออกเสียง ชี หรือ ชิ เมื่อนำหน้า a o และ u ออกเสียงเหมือน ก เช่น amico อ่านว่า อา-มิ-โก เมื่อนำหน้า e และ i ออกเสียงเหมือน ช เช่น cento อ่านว่า เชน-โต ciao อ่านว่า เชา ch เมื่อนำหน้า e และ i ออกเสียงเหมือน ค เช่น chi ออกเสียง คิ
d ออกเสียง ดิ หรือ ดี เช่น dieci อ่านว่า ดิ-เอ-ชิ แปลว่า สิบ
e ออกเสียง เอ เช่น bene อ่านว่า เบ-เน่ แปลว่า ดี
f ออกเสียง ฟ เช่น favore อ่านว่า ฟา-วอ-เร่ แปลว่า นิยม
g เมื่อนำหน้า a o และ u ออกเสียง ก เช่น larga อ่านว่า ลาร-ก้า (กว้างใหญ่) นำหน้า e และ i ออกเสียง เจ หรือ จิ เช่น gelato อ่านว่า เจ-ลา-โต (ไอศกรีม)
gh นำหน้า e และ i ออกเสียง เค เช่น lunghe อ่านว่า ลุง-เค แปลว่า ยาว
gli นำหน้า e และ i ออกเสียง ย เช่น Luglio อ่านว่า ลุย-โย แปลว่า เดือนกรกฏาคม
gn ออกเสียง ย เช่น signora อ่านว่า ซิน-ยอ-ร่า แปลว่า คุณ(ผู้ชาย)
h ไม่ออกเสียง เช่น ho
i ออกเสียง อิ เช่น idea อ่านว่า อิ-เด-อะ แปลว่า ความคิด
l ออกเสียง ล เช่น lettera อ่านว่า เลต-เต-ร่า แปลว่า จดหมาย
m ออกเสียง ม เช่น mano อ่านว่า มา-โน แปลว่า มือ
n ออกเสียง น เช่น nome อ่านว่า โน-เม แปลว่า ชื่อ
o ออกเสียง โอ หรือ ออ เช่น poco อ่านว่า โป-โค หรือ ปอ-โค แปลว่า เล็ก หรือ น้อย
p ออกเสียง ป เช่น pratica อ่านว่า ปรา-ติ กา แปลว่า การฝึกหัด
q มักอยู่คู่กับ u ออกเสียง ค เช่น qui อ่านว่า คุย แปลว่า ตรงนี้ หรือ ที่นี่
r ออกเสียง ร เช่น radio อ่านว่า รา-ดิ-โอ แปลว่า วิทยุ
s นำหน้าคำ ออกเสียง ส หรือ ซ เช่น signori อ่านว่า ซิน-ยอ-ริ แปลว่า คุณ(ผู้ชาย)
ss ระหว่างสระ ออกเสียง ส หรือ ซ เช่น classe อ่านว่า คลาส-เซ่ แปลว่า ชั้น หรือ ระดับ
s ระหว่างสระ ออกเสียง ซ เช่น rosa อ่านว่า โร-ซ่า แปลว่า สีชมพู
s นำหน้า b d g l m n r v ออกเสียง ส หรือ ซ เช่น sveglia อ่านว่า สเว-เยีย แปลว่า นาฬิกาปลุก หรือ ทำให้ตื่น
sc นำหน้า a o และ u ออกเสียงควบกล้ำ สค เช่น scarpa อ่านว่า สคา-ปา แปลว่า รองเท้า
sc นำหน้า e และ i ออกเสียง ช เช่น conoscere อ่านว่า โค-โน-เช-เร แปลว่า การรู้จัก
sch นำหน้า e และ i ออกเสียงเป็น 2 ตัว ส-ค เช่น freschi อ่านว่า เฟรส-คี แปลว่า สด หรือ สดชื่น
t ออกเสียง ต เช่น telefono อ่านว่า เต-เล-โฟ-โน แปลว่า (เครื่อง)โทรศัพท์
u ออกเสียง อู เช่น uno อ่านว่า อู-โน แปลว่า หนึ่ง
v ออกเสียง ว เช่น venire อ่านว่า เว-นิ-เร่ แปลว่า การมาถึง
z ออกเสียง ซ เช่น piazza อ่านว่า เปียซ-ซ่า แปลว่า สี่แยก หรือ ลานกว้าง
3. พยางค์และการลงเสียงหนัก [ Le sillabazione e accento tonico ]
พยางค์สุดท้ายของคำในภาษาอิตาเลียนส่วนใหญ่ลงท้ายด้วยสระ แต่ละพยางค์จะประกอบด้วยสระ 1 ตัว+พยัญชนะ 1 ตัว หรือ สระ 1 ตัว+พยัญชนะหลายตัว หรือ พยัญชนะหลายตัว+สระควบ[ dittonghi ]ที่ออกเสียงเป็นสระเดี่ยว ตัวอย่าง เช่น
studia แบ่งคำออกเป็น 2 พยางค์ คือ stu และ dia
matematica แบ่งคำอกเป็น 4 พยางค์ คือ ma-te-ma-ti และ ca
ส่วนใหญ่จะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่สองจากท้าย หรือ พยางค์ที่สามจากท้าย
ตัวอย่างเสียงหนักของพยางค์ที่สองจากท้าย เช่น
studentessa อ่านว่า stu-den-tes-sa โดยจะลงเสียงหนักที่ tes
americano อ่านว่า a- me-ri ca- no โดยจะลงเสียงหนักที่ ca
ตัวอย่างเสียงหนักของพยางค์ที่สามจากท้าย เช่น
prendere อ่านว่า pren-de-re โดยจะลงเสียงหนักที่ pren
dialogo อ่านว่า dia-lo-go โดยจะลงเสียงหนักที่ dia
แต่บางคำจะลงเสียงหนักที่พยางค์สุดท้ายเมื่อพยางค์นั้นมีเครื่องหมาย accento บนสระ
ตัวอย่างเสียงหนักของพยางค์สุดท้าย เช่น
universita^ อ่านว่า u-ni-ver-si-ta^ โดยลงเสียงหนักที่ ta^
citta^ อ่านว่า cit-ta^ โดยลงเสียงหนักที่ ta^
คำที่มีหลายพยางค์จะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่สี่จากท้าย
ตัวอย่างเสียงหนักของพยางค์ที่สี่จากท้าย
telefonano อ่านว่า te-le-fo-na-no โดยลงเสียงหนักที่ le
desiderano อ่านว่า de-si-de-ra-no โดยลงเสียงหนักที่ si
4. การออกเสียง [ Pronunciation ]
ออกเสียงอักษร h
จะไม่มีการออกเสียงอักษร h ในภาษาอิตาเลียน เช่น
ho ออกเสียง oh
hanno ออกเสียง an-no
สำหรับ h ที่อยู่คู่กับอักษรตัวอื่น เช่น ch gh e i c g
chi อ่านว่า คิ
che อ่านว่า เคะ
chiamo อ่านว่า เคีย-มอ
perche อ่านว่า แป-เคะ
analoghe อ่านว่า อา-นา-โล-เก
larghi อ่านว่า ลา-กี
ออกเสียงพยัญชนะซ้อน
จะทอดเสียงยาวขึ้นหรือออกเสียงหนักขึ้น เมื่อมีพยัญชนะซ้อนกัน เช่น
contessa อ่านว่า คอน-เตส-ซ่า
oggi อ่านว่า ออด-จิ
quattro อ่านว่า ควาต-โตร
ออกเสียง ค ในคำว่า ch + e หรือ ch + i เสียง ช ในคำว่า c + e หรือ c + i
michele อ่านว่า มิ-เค-เล่
piacere อ่านว่า ปิ-อา-เช-เร
ออกเสียง r และ rr โดย r จะรัวลิ้น 1 ครั้งโดยให้ปลายลิ้นแตะปุ่มเหงือกหลังฟันด้านบน rr จะรัวหลายครั้ง
ragazza อ่านว่า รา-กาซ-ซ่า (กระดกลิ้นรัว 1 ครั้งที่คำว่า รา)
carriera อ่านว่า คาร-ริ-เอ-ร่า (กระดกลิ้นรัว ที่คำว่า คาร และ ริ)
ออกเสียง g และ gg
g นำหน้าคำ ตามด้วยสระ i หรือ o หรือ u ออกเสียงเหมือนกับไม่มีตัว i เช่น
Giacomo อ่านว่า Gia-co-mo จา-โค-โม
Giorgio Amani อ่านว่า Gior-gio จอร์-โจ้-อา-มา-นิ
Giuliana อ่านว่า Giu-lia-na จู-เลีย-น่า
g เป็นคำสะกด ตามด้วยสระ a o u ออกเสียง ก
prego อ่านว่า pre-go เปร-โก
g เป็นคำสะกด ตามด้วยสระ e และ i ถ้าจะออกเสียง ก ต้องเติม h
lunghe อ่านว่า lung-ghe ลุง-เก้
gg เป็นคำสะกด ออกเสียง จ
Baggio อ่านว่า Bag-gio บาจ-โจ้
g ตามด้วยพยัญชนะ l ออกเสียง ย (ยกเว้นบางคำ เช่น gloria / glicerina)
figli อ่านว่า fi-gli ฟิ-ยี่
biglietto อ่านว่า bi-gliet-to บิ-เยต-โต้
g ตามด้วยพยัญชนะ n ออกเสียงคล้ายกับ ny
signore อ่านว่า sign-gno-re อ่านเหมือนกับ sin-yor-re ซิน-ยอ-เร่
spagnolo อ่านเหมือนกับ span-yo-lo สปัน-โย-โล่
c ตามด้วยสระ e และ i ออกเสียงเหมือน ช
Barcelona อ่านว่า Ba-ce-lo-na บาร์-เช-โล-น่า
cinque อ่านว่า cin-que ชิง-เกว้
er ตามหลังพยัญชนะและไม่อยู่ท้ายคำ ให้ออกเสียง แอ
riserva อ่านว่า ri-ser-va ริ-แซ-ว่า
Versace อ่านว่า Ver-sa-ce แวร์-ซา-เช่
p ออกเสียง ป ไม่ใช่ พ
appuntamento อ่านว่า ap-pun-ta-men-to อัป-ปุน-ตา-เมน-โต้
cappuccino อ่านว่า cap-puc-ci-no คัป-ปุช-ชิ-โน่
A ออกเสียง อา
serie A อ่านว่า se-rie-A เซ-เรีย-อา
tazza อ่านว่า tas-sa ตาซ-ซ่า
E ออกเสียง เอ
pesce อ่านว่า pes-ce เปส-เช่
verde อ่านว่า ver-de แวร์-เด
I ออกเสียง อิ
libri อ่านว่า li-bri ลิ-บริ
machine อ่านว่า ma-chi-ne มา-คิ-เน่
O ออกเสียงคล้าย oh ในภาษาอังกฤษ
dove อ่านว่า do-ve โด-เว
colore อ่านว่า co-lo-re โค-โล-เร
U ออกเสียงคล้าย u ในภาษาอังกฤษ
futuro อ่านว่า fu-tu-ro ฟู-ตู-โร
gusto อ่านว่า gus-to กุส-โต
5. โครงสร้างของประโยค
ในประโยคบอกเล่าจะมีรูปประโยคประกอบด้วย ประธาน[Soggeto] กริยา[Verbo] กรรม[Oggetto] และส่วน ขยาย[Complemento] โดยกริยาจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าประธานคือตัวใด เพราะจะมีการผันรูปสัมพันธ์กับประธานที่ อยู่ข้างหน้า
ตัวอย่างประโยค
un ragazzo Italiano ผู้ชายชาวอิตาเลียนคนหนึ่ง
una ragazza Italiana ผู้หญิงชาวอิตาเลียนคนหนึ่ง
ประธาน[Soggeto]
ประธาน io[= I]
ประธาน noi[= we]
ประธาน tu[= you]
ประธาน voi[= you-polite form-plu.]
ประธาน lui/lei[= he/she]
ประธาน Lei[= you-polite form]
ประธาน loro[= they-polite form]
ประธาน Loro[= you-polite form-plu.]
การใช้ประธานในรูปปัจจุบันกาล[present tense]
V.essere
io sono[I am] noi siamo[we are]
tu sei[you are] voi siete[you are - plu.]
lui/lei e^[he/she is]loro sono[they/you are]
Lei e^ [he/she is - polite form] Loro sono[they/you are - polite form]
V.avere
io ho[I have] noi abbiamo[we have]
tu hai[you have] voi avete[you have - plu.]
lui/lei ha [he/she has] loro hanno[they/you have]
Lei ha[he/she has - polite form] Loro hanno[they/you have - polite form]
V.stare
io sto[I stay] noi stiamo[we stay]
tu stai[you stay] voi state[you stay - plu.]
lui/lei sta [he/she stays] loro stanno[they/you stay]
Lei sta[he/she stays - polite form] Loro stanno[they/you stay - polite form]
คำนาม[Nome]
คำนามที่เป็นเพศชายมักจะลงท้ายด้วย o (พหูพจน์ = i)
คำนามที่เป็นเพศหญิงมักจะลงท้ายด้วย a(พหูพจน์ = e)
คำนามที่ลงท้ายด้วย e อาจพบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง(พหูพจน์ = i)
ตัวอย่างประโยค
un ragazzo ผู้ชายคนหนึ่ง un due ragazzi ผู้ชายสองคน
una ragazza ผู้หญิงคนหนึ่ง un due ragazze ผู้หญิงสองคน
un fiume แม่น้ำสายหนึ่ง due fiumi แม่น้ำสองสาย
una lezione บทเรียนบทหนึ่ง due lezioni บทเรียนสองบท
จะไม่มีการเปลี่ยนรูปเมื่อเป็นพหูพจน์ในกรณีดังต่อไปนี้
เป็นคำที่ลงเสียงหนัก[stress] ที่พยางค์สุดท้าย เช่น una citta^ / due citte^
เป็นคำที่ลงท้ายด้วย i เช่น una tesi / due tesi
เป็นคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วย -ie เช่น una specie / due specie ยกเว้น un moglie / due mogli
เป็นคำนามที่ถูกย่อหรือตัดทอนจากคำเต็ม una foto [fotografia] / due foto
เป็นคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ un sport / due sport
เป็นคำพยางค์และลงเสียงหนัก un gru / due gru
เป็นคำที่แสดงชื่อสกุล il signor De Vito / i De Vito
คำคุณศัพท์[Oggetivo]
ใหญ่จะวางไว้หลังคำนามและเปลี่ยนรูปตามคำนาม
คำที่ลงท้ายด้วย o/aเปลี่ยนเป็น i/e เมื่อเป็นพหูพจน์
un raggazzo Italiano เปลี่ยนเป็น due ragazzi Italiani
una raggazza Italiana เปลี่ยนเป็น due ragazze Italiane
คำที่ลงท้ายด้วย e เปลี่ยนเป็น i เมื่อเป็นพหูพจน์
un raggazzo intelligente เปลี่ยนเป็น due ragazze intelligenti
คำนำหน้านาม[l'articolo]
คำนำหน้านามจะมีการเปลี่ยนรูป/พจน์ ตามคำนาม แบ่งเป็น 2 ชนิด
1. แบบชี้เฉพาะ[l'articolo determinativo] เปรียบได้กับ the ในภาษาอังกฤษ
il นำหน้านามเพศชายที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ - il ragazzo
lo นำหน้านามเพศชายที่ขึ้นต้นด้วย s +พยัญชนะ/z/gn/ps - lo studente
la นำหน้านามเพศหญิงที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ - la ragazza
l' นำหน้านามเพศชายและเพศหญิงที่ขึ้นต้นด้วยพยัญสระ - l'amico/l'amica
2. แบบไม่ชี้เฉพาะ[l'articolo indeterminativo] เปรียบได้กับ a/an ในภาษาอังกฤษ
un นำหน้านามเพศชายที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะและสระ - un ragazzo
uno นำหน้านามเพศชายที่ขึ้นต้นด้วย s +พยัญชนะ/z/gn/ps - uno zoo
una นำหน้านามเพศหญิงที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ - una bambina
un' นำหน้านามเพศหญิงที่ขึ้นต้นด้วยสระ - un'amico/un'isola
รูปประโยคของคำนำหน้านาม
Chi ใช้ในประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบเกี่ยวกับบุคคล
Chi a^ Malee? ใครคือมาลี (คำตอบ คือ)E^ una ragazza Thailandese. มาลีเป็นเด็กผู้หญิงชาวไทย
Chi sono Vilai e Malee?(sono ใช้รูปพหูพจน์ - คำตอบ คือ) Sono ragazze Thailandese.
Dove ใช้ในประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบเกี่ยวกับสถานที่
Dove e^ Roberto? โรแบร์โตอยู่ที่ไหน (คำตอบ คือ) E^ in treno. (โรแบร์โต)อยู่ในรถไฟ
Dove sono Gianni eTiberio? จานนี่กับทิเบริโออยู่ที่ไหน Sono in treno.(ทั้งสองคน)อยู่ในรถไฟ
Che cosa ใช้ในประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบเกี่ยวกับสิ่งของ
Che cosa e^? (นี่)คืออะไร (คำตอบ คือ) E^ la penna di Carlotta. (นี่)คือปากกาของคาร์ลอตต้า
Che cosa sono? (เหล่านี้)คืออะไร (คำตอบ คือ)Sono le penne di Carlotta. (เหล่านี้)คือปากกาของคาร์ลอตต้า
C'e^ / Ci sono กล่าวถึงจำนวนคนหรือสิ่งของในที่แห่งหนึ่ง
C'e^ una ragazza in biblioteca. มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งอยู่ในห้องสมุด
Ci sono due ragazze in biblioteca. มีเด็กผู้หญิงสองคนอยู่ในห้องสมุด
Non c'e^ / Non ci sono เป็นรูปปฏิเสธของ C'e^ / Ci sono
Di chi e^? / Di chi sono?
Di chi e^ questa rivista? นิตยสารเล่มนี้เป็นของใคร
E^ la rivista di Mario. เป็นนิตยสารของมาริโอ
Di chi sono questi dizionari? พจนานุกรมเหล่านี้เป็นของใคร
Sono i dizionari di Filippo. เป็นพจนานุกรมของฟิลิปโป
Che ora e^? / Che ora sono?
บอกเวลาทั่วๆไป
E^ l'una. เวลาบ่ายโมง หรือตีหนึ่ง
Sono le sei. เวลาหกโมงเช้า หรือหกโมงเย็น
แต่ถ้าต้องการระบุไปให้ชัดเจน ต้องเติมส่วนขยาย
del pommeriggio / il pommeriggio (เวลาบ่าย)
di notte / la notte (เวลากลางคืน)
E^ l'una del pommeriggio. เวลาบ่ายโมง
E^ l'una di notte. เวลาตีหนึ่ง
meno
Sono le cinque meno venti. เวลา 4 โมง 40 นาที (เวลา 5 โมง หย่อนไป 20 นาที - meno = น้อยกว่า)
mezzo / mezza
Sono le otto e mezza. เวลาแปดโมงครึ่ง หรือสองทุ่มครึ่ง
คุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ[Gli aggettivi possessivi]
ของฉัน il mio (เอกพจน์ เพศชาย) la mia (เอกพจน์ เพศหญิง)
i miei (พหูพจน์ เพศชาย) le mie (พหูพจน์ เพศหญิง)
ของเธอ il tuo (เอกพจน์ เพศชาย) la tua (เอกพจน์ เพศหญิง)
i tuoi (พหูพจน์ เพศชาย) le tue (พหูพจน์ เพศหญิง)
ของเขา il suo (เอกพจน์ เพศชาย) la sua (เอกพจน์ เพศหญิง)
i suoi (พหูพจน์ เพศชาย) le sue (พหูพจน์ เพศหญิง)
ของท่าน il Suo (เอกพจน์ เพศชาย) la Sua (เอกพจน์ เพศหญิง)
i Suoi (พหูพจน์ เพศชาย) le Sue (พหูพจน์ เพศหญิง)
ตัวอย่างประโยค
Maria ha il mio fazzoletto. มาเรียมีผ้าเช็ดหน้า(ผืนเดียว)ของฉัน
Paul ha la tua matita. พอลมีดินสอ(แท่งเดียว)ของเธอ
Io ho le sue matite. ฉันมีดินสอ(หลายแท่ง)ของเขา
Paul e Maria hanno il nostro libro. พอลและมาเรียมีหนังสือของพวกเรา
Marco e Chiara hanno la vostra machina. มาร์โคและเคียร่ามีรถยนต์(คันเดียว)ของพวกเขา
คุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ จะต้องมีคำนำหน้านามแบบชี้เฉพาะเสมอ il mio fazzoletto
ยกเว้น ขยายนามที่เป็นคนในครอบครัว/ญาติสนิท ไม่ต้องมีคุณศัพท์ขยาย mio padre(พ่อ)mio madre(แม่)
mio fratello(พี่หรือน้องชาย) mia sorella(พี่หรือน้องสาว) suo marito(สามี) sua moglie(ภรรยา)
suo figlio(ลูกชาย) sua figlia(ลูกสาว)
นามที่เป็นคนในครอบครัวจะใช้คำนำหน้านามแบบชี้เฉพาะได้ในกรณีที่
- คำนามเป็นพหูพจน์ le mie sorelle (น้องสาวหลายคนของฉัน)
- คำนามมีคุณศัพท์อื่นขยาย la nostra bella sorella (น้องสาวคนสวยของพวกเรา)
- คำนามมีส่วนต่อท้าย(แดงความรักใคร่/เอ็นดู) la mia sorellini (น้องสาวตัวน้อยๆขอฉัน)
- คำนามมีคำคุณศัพท์ loro/Loro นำหน้า la loro madre (แม่ของพวกเขา)
สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ[I pronomi possessivi]
ใช้แทนที่คำนาม เมื่อมีการกล่าวถึงก่อนหน้าแล้ว
I nostri genitori sono diversi. I miei sono piu^ severi dei tuoi. พ่อแม่ของเราต่างกันของฉัน เข้มงวดกว่าของเธอ
La mia bambola e^ piu^ bella della tua. ตุ๊กตาของฉันสวยกว่า(ตุ๊กตา)ของเธอ
คำกริยาหลัก[Verbo]
คำกริยาหลักที่สำคัญและพบมากในภาษาอิตาเลียน ได้แก่
V.essere [V.to be - เป็น อยู่ คือ]
V.avere [V.to have - มี]
V.stare [V.to stay - อยู่/พัก]
คำกริยาทั่วไปที่พบมากในภาษาอิตาเลียน แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ซึ่งคำกริยานี้เรียกว่า infinitive ending
ลงท้ายด้วย -are
ลงท้ายด้วย -ere
ลงท้ายด้วย -ire
การกริยาของคำกริยาที่ลงท้ายด้วย -are : parlare ที่หมายถึง การพูด
io parlo ประธานบุรุษที่ 1 (ฉันพูด)
tu parli ประธานบุรุษที่ 2 (คุณพูด)
lui/lei/Lei parla ประธานบุรุษที่ 3 (เขาพูด)
การกริยาของคำกริยาที่ลงท้ายด้วย -ere : scrivere ที่หมายถึง การเขียน
io scrivo ประธานบุรุษที่ 1 (ฉันเขียน)
tu scrivi ประธานบุรุษที่ 2 (คุณเขียน)
lui/lei/Lei scrive ประธานบุรุษที่ 3 (เขาเขียน)
การกริยาของคำกริยาที่ลงท้ายด้วย -ire : dormire ที่หมายถึง การนอน
io dormo ประธานบุรุษที่ 1 (ฉันนอน)
tu dormli ประธานบุรุษที่ 2 (คุณนอน)
lui/lei/Lei dorme ประธานบุรุษที่ 3 (เขานอน)
คำกริยาที่ลงท้ายด้วย -ire อีกรูปแบบหนึ่ง : capire ที่หมายถึง การเข้าใจ
io capisco ประธานบุรุษที่ 1 (ฉันเข้าใจ)
tu capisci ประธานบุรุษที่ 2 (คุณเข้าใจ)
lui/lei/Lei capisce ประธานบุรุษที่ 3 (เขาเข้าใจ)
คำกริยาลงท้ายด้วย -are /-ere /-ire ที่ไม่กระจายกริยาตามกฏ
กลุ่ม -are : V.andare /V.dare /V.fare /V.stare
V.andare = to go = ไป
io vado ฉันไป noi andiamo พวกเราไป
tu vai คุณไป voi andate พวกคุณไป
lui/lei/Lei va เขาไป loro/Loro vanno พวกเขาไป
ตัวอย่างประโยค
Andiamo a capri. พวกเราไปเกาะคาปรี (ตามด้วยบุพบท " a " + เมือง /จังหวัด /เกาะที่มีขนาดเล็ก)
Enrico e Maria vanno in Francia. พวกเขา[Enrico และ Maria]ไปฝรั่งเศส (ตามด้วยบุพบท " in " + ประเทศ /ทวีป /เกาะที่มีขนาดใหญ่ )
V.dare = to give/to set = ให้
io do ฉันให้ noi diamo พวกเราให้
tu dai คุณให้ voi date พวกคุณให้
lui/lei/Lei da^ เขาให้ loro/Loro danno พวกเขาให้
ตัวอย่างประโยค
Silvia e Chiara danno una festa dal nonno. ซิลเวียและเคียร่าจัดงานเลี้ยงที่บ้านคุณตา
Diamo un regalo a Silvia. พวกเราให้ของขวัญ(ชิ้นหนึ่ง)แก่ซิลเวีย
V.fare = to do/to make = ทำ
io faccio ฉันทำ noi facciamo พวกเราทำ
tu fai คุณทำ voi fate พวกคุณทำ
lui/lei/Lei fa เขาทำ loro/Loro fanno พวกเขาทำ
ตัวอย่างประโยค
Sua moglio fa il medico. ภรรยาของเขาเป็นหมอ
Paolo fa l'avvocato. เปาโลเป็นทนายความ
V.stare = to stay = อยู่
io sto ฉันอยู่ noi stiamo พวกเราอยู่
tu stai คุณอยู่ voi state พวกคุณอยู่
lui/lei/Lei sta เขาอยู่ loro/Loro stanno พวกเขาอยู่
กลุ่ม -ere : V.dovere /V.potere V.volere V.sapere
V.dovere = must = ต้อง
io devo ฉันต้อง noi dobbiamo พวกเราต้อง
tu devi คุณต้อง voi dovete พวกคุณต้อง
lui/lei/Lei deve เขาต้อง loro/Loro devono พวกเขาต้อง
V.potere = to be able = สามารถ
io posso ฉันสามารถ noi possiamo พวกเราสามารถ
tu puoi คุณสามารถ voi potete พวกคุณสามารถ
lui/lei/Lei puo^ เขาสามารถ loro/Loro posono พวกเขาสามารถ
V.volere = to want = ต้องการ
io voglio ฉันต้องการ noi vogliamo พวกเราต้องการ
tu vuoi คุณต้องการ voi volete พวกคุณต้องการ
lui/lei/Lei vuole เขาต้องการ loro/Loro vogliono พวกเขาต้องการ
V.sapere = to know = รู้
io so ฉันรู้ noi sappiamo พวกเรารู้
tu sai คุณรู้ voi sapete พวกคุณรู้
lui/lei/Lei sa เขารู้ loro/Loro sanno พวกเขารู้
กลุ่ม -ire : V.dire /V.uscire /V.venire
V.dire = to say/to tell = พูด/บอก
io dico ฉันพูด noi diciamo พวกเราพูด
tu dici คุณพูด voi dite พวกคุณพูด
lui/lei/Lei dice เขาพูด loro/Loro dicono พวกเขาพูด
V.uscire = to leave = จากไป
io esco ฉันจากไป noi usciamo พวกเราจากไป
tu esci คุณจากไป voi uscite พวกคุณจากไป
lui/lei/Lei esce เขาจากไป loro/Loro escono พวกเขาจากไป
V.venire = to come = มา
io vengo ฉันมา noi veniamo พวกเรามา
tu vieni คุณมา voi venite พวกคุณมา
lui/lei/Lei viene เขามา loro/Loro vengono พวกเขามา
คำกริยาทั่วไปที่พบบ่อย
V.aprire = เปิด V.divertire = สนุก/เพลิดเพลิน V.offire = เสนอV.partire = ออกไป
V.seguire = ติดตาม V.sentire = ได้ยิน V.servire = บริการ V.soffire = ทนทุกข์
V.vestire = แต่งตัวให้ V.colpire = ทุบ/ตี V.costruire = สร้าง V.finire = สำเร็จ
V.inserire = แทรก V.obbedire = เชื่อฟัง V.purire = ทำให้สะอาด
V.suggerire = แนะนำ V.unire = รวมเป็นหนึ่ง V.mangiare = รับประธาน
V.cominciare = เริ่มต้น V.cercare = พยายาม
คำบุพบท[Preposizione]
ในภาษาอังกฤษมี of/at/to/from/in/on และ with ในภาษาอิตาเลียนมคำบุพบทที่มีความหมายเดียวกัน
di = of (ของ/เกี่ยวกับ)
a = at/to (ที่/แด่/แก่/ถึง)
da = from (จาก)
in = in (ใน)
su = on (บน)
con = with (ด้วย/กับ)
คำบุพบทเหล่านี้ตามด้วยคำนำหน้านามแบบชี้เฉพาะ[l'articolo determinativo] จะมีการลดรูป
di + il = del(เอกพจน์ เพศชาย)di + la = della(เอกพจน์ เพศหญิง)
di + i = dei(พหูพจน์พจน์ เพศชาย)di + le = delle(พหูพจน์ เพศหญิง)
di + lo/l' = dello/dell'(เอกพจน์ เพศชาย)
di +gli = degli(พหูพจน์ เพศชาย)
a + il = al(เอกพจน์ เพศชาย)a + la/l' = alla/all'(เอกพจน์ เพศหญิง)
a + i = ai(พหูพจน์พจน์ เพศชาย)a + le = alle(พหูพจน์ เพศหญิง)
a + lo/l' = allo/all'(เอกพจน์ เพศชาย)
a +gli = agli(พหูพจน์ เพศชาย)
da + il = dal(เอกพจน์ เพศชาย)da + la/l' = dalla/dall'(เอกพจน์ เพศหญิง)
da + i = dai(พหูพจน์ เพศชาย)da + le = dalle(พหูพจน์ เพศหญิง)
da + lo/l' = dallo/dall'(เอกพจน์ เพศชาย)
da +gli = dagli(พหูพจน์ เพศชาย)
in + il = nel(เอกพจน์ เพศชาย)in + la/l' = nella/nell'(เอกพจน์ เพศหญิง)
in + i = nei(พหูพจน์ เพศชาย)in + le = nelle(พหูพจน์ เพศหญิง)
in + lo/l' = nello/nell'(เอกพจน์ เพศชาย)
in +gli = negli(พหูพจน์ เพศชาย)
su + il = sul(เอกพจน์ เพศชาย)su + la/l' = sulla/sull'(เอกพจน์ เพศหญิง)
su + i = sui(พหูพจน์ เพศชาย)su + le = sulle(พหูพจน์ เพศหญิง)
su + lo/l' = sullo/sull'(เอกพจน์ เพศชาย)
su +gli = sugli(พหูพจน์ เพศชาย)
con + il = col(เอกพจน์ เพศชาย)con + la/l' = colla/coll'(เอกพจน์ เพศหญิง)
con + i = coi(พหูพจน์ เพศชาย)con + le = colle(พหูพจน์ เพศหญิง)
con + lo/l' = collo/coll'(เอกพจน์ เพศชาย)
con +gli = cogli(พหูพจน์ เพศชาย)
5. วัน เดือน การนับเลข สี และฤดูกาลในภาษาอิตาเลียน
วัน
Domenica อ่านว่า โด-เม-นิ-ก้า แปลว่า วันอาทิตย์
Lunedi อ่านว่า ลู-เน-ดิ แปลว่า วันจันทร์
Martedi อ่านว่า มาร์-เต-ดิ แปลว่า วันอังคาร
Mercoledi อ่านว่า แมร์-โค-เล-ดิ แปลว่า วันพุธ
Giovedi อ่านว่า โจ-เว-ดิ แปลว่า วันพฤหัสบดี
Venerdi อ่านว่า เว-แนร์-ดิ แปลว่า วันศุกร์
Sabato อ่านว่า ซา-บา-โต้ แปลว่า วันเสาร์
เดือน
Gennaio อ่านว่า เจน-นาย-โย่ แปลว่า เดือนมกราคม
Febbraio อ่านว่า เฟบ-บราย-โย่ แปลว่า เดือนกุมภาพันธ์
Marzo อ่านว่า มาร์-โซ้ แปลว่า เดือนมีนาคม
Aprile อ่านว่า อา-ปริ-เล่ แปลว่า เดือนเมษายน
Maggio อ่านว่า มาจ-โจ้ แปลว่า เดือนพฤษภาคม
Giugno อ่านว่า จุย-โย่ แปลว่า เดือนมิถุนายน
Luglio อ่านว่า ลู-โย่ แปลว่า เดือนกรกฏาคม
Agosto อ่านว่า อา-กอส-โต้ แปลว่า เดือนสิงหาคม
Settembre อ่านว่า เซต-เตม-เบร แปลว่า เดือนกันยายน
Ottobre อ่านว่า ออต-โต-เบร แปลว่า เดือนตุลาคม
Novembre อ่านว่า โน-เวม-เบร แปลว่า เดือนพฤศจิกายน
Dicembre อ่านว่า ดิ-เชม-เบร แปลว่า เดือนธันวาคม
การนับเลข
Uno อ่านว่า อู-โน้ แปลว่า หนึ่ง
Due อ่านว่า ดู-เอ้ แปลว่า สอง
Tre อ่านว่า เตร แปลว่า สาม
Quattro อ่านว่า ควาต-โตร้ แปลว่า สี่
Cinque อ่านว่า ชิง-เกว้ แปลว่า ห้า
Sei อ่านว่า เซ-อิ แปลว่า หก
Sette อ่านว่า เซต-เต แปลว่า เจ็ด
Otto อ่านว่า ออต-โต้ แปลว่า แปด
Nove อ่านว่า โน-เว แปลว่า เก้า
Dieci อ่านว่า ดิ-เอ-ชิ แปลว่า สิบ
Undici อ่านว่า อูน-ดิ-ชิ แปลว่า สิบเอ็ด
Dodiciอ่านว่า โด-ดิ-ชิ แปลว่า สิบสอง
Tredici อ่านว่า เตร-ดิ-ชิ แปลว่า สิบสาม
Quattordici อ่านว่า ควาต-ตอร์-ดิ-ชิ แปลว่า สิบสี่
Quindici อ่านว่า ควิน-ดิ-ชิ แปลว่า สิบห้า
Sedici อ่านว่า เซ-ดิ-ชิ แปลว่า สิบหก
Diciasette อ่านว่า ดิ-ชา-เซต-เต้ แปลว่า สิบเจ็ด
Diciotto อ่านว่า ดิ-ชอต-โต้ แปลว่า สิบแปด
Diciannove อ่านว่า ดิ-ชาน-โน-เว แปลว่า สิบเก้า
Venti อ่านว่า เวน-ติ แปลว่า ยี่สิบ
ลำดับที่
Primo อ่านว่า ปริ-โม่แปลว่า ที่หนึ่ง
Secondo อ่านว่า เซ-โคน-โด้
Terzo อ่านว่า แตร์-โซ้
Quarto อ่านว่า ควาต-โต้
Quinto อ่านว่า ควิน-โต้
Sesto อ่านว่า เซส-โต้
Settimo อ่านว่า เซต-ติ-โม
Ottavo อ่านว่า ออต-ตา-โว่
Nono อ่านว่า โน-โน่
Decimo อ่านว่า เด-ชิ-โม่
Undicesimo อ่านว่า อูน-ดิ-เช-ซิ-โม่
Dodicesimo อ่านว่า โด-ดิ-เช-ซิ-โม่
Tredicesimo อ่านว่า เตร-ดิ-เช-ซิ-โม่
Quattordicesimo อ่านว่า ควาต-ตอร์-ดิ-เช-ซิ-โม่
Quindicesimo อ่านว่า ควิน--ดิ-เช-ซิ-โม่
Sedicesimo อ่านว่า เซ-ดิ-เช-ซิ-โม่
Diciassettesimo อ่านว่า ดิ-ชาส-เซต-เต-ซิ-โม่
Diciottesimo อ่านว่า ดิ-ชอต-เต-ซิ-โม่
Diciannovesimo อ่านว่า ดิ-ชาน-โน-เว-ซิ-โม่
Ventesimo อ่านว่า เวน-เต-ซิ-โม่
สี
arancione = สีส้ม azzuro = สีฟ้า argentato = สีเงิน
bianco = สีขาว borda^ = สีเลือดหมู beige = สีเนื้อ blue = สีน้ำเงิน
celeste = สีฟ้า dorato = สีทอง grigio = สีเทา giallo = สีเหลือง
marrone/bruno = สีน้ำตาล nero = สีดำ rosa = สีชมพู
rosso = สีแดง verde = สีเขียว viola = สีม่วง
เฉดสีที่เติมข้างหลังชื่อสี
chiaro = สีเข้ม scuro = สีอ่อน
giallo chiaro = สีเหลืองอ่อน verde scuro = สีเขียวอ่อน
ฤดูกาล
primavera [f] ปริ-มา-เว-รา = ฤดูใบไม้ผลิ
estate [f] เอส-ตา-เต = ฤดูร้อน
autunno [m] เอา-ตูน-โน = ฤดูใบไม้ร่วง
inverno [m] อิน-แวร์-โน = ฤดูหนาว
ประเทศและเชื้อชาติ
Australia ออสเตรเลีย Australiano
Austria ออสเตรีย Austriaco
Belgio เบลเยี่ยม belga
Brasile บราซิล Brasiliano
Canada คานาดา Canadese
Cecoslovacchia สาธารณรัฐเชค Cecoslovacco
Cina สาธารณรัฐประชาชนจีน Cinese
Danimarca เดนมาร์ค Danese
Egitto อียิปต์ Egiziano
Finlandia ฟินแลนด์ Filandese
Francia ฝรั่งเศส Francese
Germania เยอรมัน Tedesco
Giappone ญี่ปุ่น Giapponese
Grecia กรีซ Greco
India อินเดีย Indiano
Inghiterra อังกฤษ Inglese
Irlanda ไอร์แลนด์ Irlandese
Italia อิตาลี Italiano
Jugoslavia ยูโกสลาเวีย Jugoslavo
Messico เม็กซิโก Messicano
Paesi Bassi ฮอลแลนด์ Olandese
Polonia โปแลนด์ Polacco
Portugallo โปรตุเกส Portoghese
Russia /Unione Sovietica สหภาพโซเวียต Russo /Sovietico
Spagna สเปน Spagnolo
[Gli Stati Uniti] America อเมริกา Americano
Svezia สวีเดน Svedese
Svizzera สวิสเซอร์แลนด์ Svizzero
[Tailandia]Thailandia ประเทศไทย Thailandese
Turchia ตุรกี Turco
Ungheria ฮังการี Ungherese
สุดท้ายเป็นคำประพันธุ์ในภาษาอิตาเลียนที่มีความหมายดีมาก
Torna a casa mamma
Torna vieni qua
Siamo tanto soli
Io e il mio papa
Chiedi un ora al cielo
Parla con Jesu
Di angeli ne ha tanti
Noi soltanto tu.
และถอดความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
ฝันอยากให ้แม่มา หาฉันบ้าง
กลับมายัง บ้านเดิม ที่สดใส
กลับมาอยู่ พร้อมพรั่ง อย่างสุขใจ
มีพ่อแม่ เคียงกาย ไปชั่วกัลป์
วอนเทวา โปรดพา แม่มาด้วย
วอนฟ้าสวย ช่วยพา มาหาฉัน
ให้แม่มา อยู่กับเรา ชั่วนิรันดร์
บ้านหลังน้อย คอยวัน แม่กลับมา
| แนะนำตัว | เรื่องของไวน์ | ประเทศอิตาลี | เขตการผลิตไวน์ | พันธุ์องุ่น | ไวน์นานาชนิด | ไวน์ระดับสูง | เขต DOC และ DOCG | ผู้ผลิตไวน์ชั้นนำ| ไวน์ที่ได้รับรางวัล | ภาษาอิตาเลียน| กระดานข่าว | ุเรื่องน่ารู้ | คุยกับเรา |
rossoVINITALIA
e-mail rosso19517@hotmail.com