3.ประเพณีตานก๋วยสลาก (ทานสลากภัต)
ประเพณีกิ๋นก๋วยสลากเป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณมักจะเริ่มจากวันเพ็ญเดือน12
(เหนือ ) หรือเดือนกันยายนเป็นระยะเวลา 1 เดือน
ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือเรียกอีกอย่างว่า ประเพณีกิ๋นสลาก กิ๋น
หมายถึง
รับประทาน ประเพณีนี้เป็นประเพณีทำบุญที่ นิยมทำในปลายฤดูฝน
ซึ่งมีข้าวปลาอาหาร ผลไม้อุดมสมบูรณ์
ก๋วย คือภาชนะสานด้วยไม้ไผ่สานตาห่างๆ เหมือนสานชะลอม แต่ไม่รวบปาก
ทำเป็นที่ถือเหมือนชะลอมต่อเมื่อบรรจุภัต คือ ข้าวปลาอาหาร ส้มสุกลูกไม้ กล้วย
อ้อย ขนม ข้าวต้ม จนเต็มแล้วจึงรวบปากมัดกับกรวยดอกไม้ ธูปเทียน และ
ยอดกัณฑ์ ใช้ไม้คานสอดหาบกันไปวัด
 |
ประเพณีการกิ๋นสลาก หรือสลากภัต
การกินก๋วยสลากนี้แต่ละก๋วยจะมีเส้นสลากเป็นแผ่นเล็กๆ เขียนชื่อเจ้าของและ
จุดประสงค์ว่าจะอุทิศส่วนกุศลนั้นไปให้ใคร จากนั้นเจ้าของสลากจะนำเส้นไปให้ผู้
รวบรวมจักแบ่งเส้นสลากตามจำนวนพระเณรที่นิมนต์จากวัดต่างๆ เพื่อทำพิธีถวาย
แล้วเจ้าของสลากจะตามไปดูว่าเส้นสลากของตนจะตกอยู่กับพระรูปใด ก็นำก๋วยสลาก
ไปถวายพระรูปนั้น ส่วนเส้นสลากที่ไม่ตกกับพระรูปใด ก็เป็นส่วนของพระเจ้า คือ
พระประธานในวิหาร ซึ่งยอดเงินจำนวนนี้จะต้องเป็นเงินกองกลางของวัด สำหรับ
ใช้ค่าในกิจการของวัดต่อไป
4. ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทงตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ใต้ (เดือนยี่เหนือ)
ประมาณเดือน
พฤศจิกายน งานนี้สันนิษฐานว่าเป็นประเพณีที่ทำกันมาตั้งแต่สมัย สุโขทัย มีการ
จัดทำกระทงและโคมไฟซึ่งร้อยดอกไม้นานาชนิดเป็นรูปต่างๆ ประกวดกัน ในโคม
มีธูปเทียนปักอยู่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อไฟและ ปล่อยโคมให้ลอยไปตามสายน้ำในเวลา
กลางคืน และยังมีกาารละเล่นอื่นๆอีกด้วย
เป็นประเพณีที่คนไทยนิยมปฎิบัติ
กันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่เปลี่ยนชื่อจากจองเปรียงพระประทีปมาเป็นลอยกระทง
 |
คติการลอยกระทงมีการสันนิฐานกันหลายประการ เช่น เป็นการลอยกระทง
เพื่อไปสัการบูชารอยพระพุทธบาท หรือเพื่อขอขมาต่อแม่พระคงคา โดยมาปรับ
ให้เข้ากับชีวิตของคนไทย เพราะคนไทยได้อาศัยแม่น้ำเป็นเครื่องยังชีวิต ใช้เป็น
น้ำกินน้ำใช้ในชีวิตประจำวันและการเกษตร จึงถือว่าการลอยกระทงเป็นการขอขมา
ต่อพระแม่คงคา ที่ตลอดปีได้ทิ้งสิ่งปฎิกูลลงไปในน้ำ ทำให้น้ำสปรกเหมือนเป็นการ
ขาดความคารวะและเป็นการบูชาคุณของพระแม่คงคาที่ให้น้ำกินน้ำใช้ตลอดมา
|