หม้อฮ่อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ  ช่อแฮศรีเมือง  ลือเลื่องแพะเมืองผี  คนแพร่นี้ใจงาม

เครื่องหมายประจำจังหวัดแพร่
      แผนที่ของภาคเหนือ
      อาณาจักร
      ลักษณะภูมิประเทศ        
      อาณาเขตติดต่อ
      ขนมธรรมเนียมประเพณี
      ภูมิประเทศ จ.แพร
      ภูมิอากาศ จ.แพร
     อาชีพประชากร จ.แพร
  การเดินทางไปเที่ยว จ.แพร
     พระธาตุช่อแฮ
     อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์
     อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
     ถ้ำผานางคอย
     แพะเมืองผี
     กลุ่มพระธาตุวัดต่างๆ
     ประวัติผู้จัดทำ 1
     ประวัติผู้จัดทำ 2
    ประวัติอาจารย์ผู้สอน
           
                  กลุ่มพระธาตุวัดต่างๆ

           อำเภอเมืองแพร่
  วัดพระธาตุจอมแจ้ง  บ้านต้นไคร้ ตำบลป่าแดง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 10 กิโลเมตร
 อยู่ห่างจากพระธาตุช่อแฮไปเล็กน้อย  พระธาตุนี้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 1331 เดิมมีชื่อว่า
 พระธาตุจวนแจ้ง ต่อมากลายเป็นเสียงจอมแจ้ง เชื่อว่าเป็นที่บรรจุพระเกษาของพระพุทธเจ้า
 ตำนานการสร้างพระธาตุนี้เกี่ยวข้องกับตำนานการสร้างพระธาตุช่อแฮ
  ปัจุบันวัดพระธาตุจอมแจ้งซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุ มีศาลาที่เรียกว่าพิพิธภัณฑ์ตำบล
 ป่าแดง หรือ พิพิธภัณฑ์ของจังหวัด ซึ่งรวบรวมสิ่งของที่หาดูได้อยาก นอกจากนี้ภายในวัดยัง
 มีรูปปั้นแสดงนรกภูมิ 8 ขุม สวรรค์ 6 ชั้น เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่ผู้ชม พระธาตุจอมแจ้งมี
 งานประเพณีนมัสการประจำทุกปีในวันขึ้น 11 ค่ำ ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
                                                  
                                        วัดพระธาตุจอมแจ้ง

  วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร  ตั้งอยู่บนถนนเจริญเมือง ใกล้ศาลากลางจังหวัดแพร่เป็นพระ-
 อารามหลวงแห่งเดียวในจังหวัดนี้ เป็นวัดที่เกิดจากการรวมวัด 2 วัด คือ วัดพระบาทและ
 วัดมิ่งเมืองเข้าด้วยกัน ในวัดมีเจดีย์มิ่งเมืองและพระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี ซึ่งเป็น
 ที่เคารพสักการะของชาวแพร่

  วัดหลวง  ตั้งอยู่ที่ถนนคำลือ ซอย 1 ตำบลในเวียง วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างมาพร้อม
 กับการสร้างเมืองแพร่ โดยเจ้าหลวงเมืองแพร่เป็นผู้สร้าง ภายในวัดเป็นที่ตั้งของพระธาตุหลวง-
 ไชยช้างค้ำ ซึ่งเป็นเจดีย์ศิลปเชียงแสน วิหารหลวงพลนคร พระเจ้าแสนหลวง พระเจ้าแสนทอง
 ประตูโขง และพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ซึ่งรวบรวมศิลปวัตถุภายในท้องถิ่น เช่น พระพุทธรูปต่างๆ 
 เป็นต้น    
 
  วัดศรีชุม  ตั้งอยู่ที่บ้านศรีชุม ตำบลในเวียง เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ภายในวัดมีเจดีย์ที่มีรูปทรง
  แบบล้านนาซึ่งหาดูได้อยากในจังหวัดแพร่

    วัดหัวข่วง ตั้งอยู่ที่บ้านหัวข่วง ตำบลในเวียง เป็นวัดเก่าแก่ที่มีเจดีย์ทรงกลมลักษณะพื้นเมือง
 เชียงใหม่วัดนี้ไม่ปรากฏประวัติการสร้าง แต่ทรวดทรงเจดีย์ประมาณว่าสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 21
  
   วัดจอมสวรรค์  ตั้งอยู่ที่บ้านใหม่ ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลในเวียง เป็นวัดที่ก่อตั้งโดยศิลปแบบ
 พม่า โดยพวกเงี้ยวหรือพวกไทยใหญ่ที่เข้ามาค้าขายทำมาหากินในเมืองแพร่สมัยรัชกาลที่ 4 - 5
 วัดนี้สร้างเมือ พ.ศ.2437 เป็นอาคารไม้สักทั้งหลังมีหลังคาเล็กใหญ่ลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ อาคารนี้
 เป็นทั้งโบสถ์ ศาลาการเปรียญและกุฏิ มีเจดีย์ชึ่งก่อสร้างขึ้นมาในภายหลังอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียง-
 เหนือของวัด เจดีย์นี้เป็นศิลปแบบพม่า คือมีเจดีย์ตรงกลางรายล้อมด้วยเจดีย์เล็กสี่ด้าน ภาในวัดยังมี
 โบราณวัตถุที่น่าสนใจอีกหลายประการ เช่น ดอกไม้หินอ่อน คัมภีร์งาช้าง เป็นต้น
  โบสถ์ทรงพม่าในวัดนี้มีลักษณะสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดหนึ่งเท่าที่ปรากฏเหลืออยู่ภายในภาคเหนือ
 จึงมีคุณค่าควรอนุรักษ์ไว้สืบไป
                                            

                                        ภาพ วัดจอมสวรรค์

    วัดสระบ่อแก้ว  ตั้งอยู่ถนนน้ำคือ ตำบลในเวียง เป็นอีกวัดหนึ่งที่สร้างโดยพวกเงี้ยว วัดนี้มีรูปแบบ
 สถาปัตยกรรมพม่าที่สวยงามแปลกตาทั้งศาลาการเปรียญและโบสถ์ นอกจากนี้ยังมี พระพุทธรูป -
 หินอ่อนแบบพม่าที่สร้างอย่างสวยงาม
                                              

                                             ภาพวัดสระบ่อแก้ว
    
 อำเภอสูงเม่น
    เจดีย์วัดพระหลวง  บ้านพระหลวง ตำบลดอนมูล ตั้งอยู่ในวัดพระหลวง เป็นเจดีย์เก่าแก่แบบสุโขทัย
 ฐานสี่เหลี่ยมกว้าง 6 วา สูง ประมาณ 12 วา ช่วงกลางของเจดีย์มีพระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐาน
 ทั้ง 4 ด้าน เจดีย์เอนมาทางทิศเหนือเล็กน้อย ชาวบ้านจึงเรียกว่า 'ธาตเนิ้ง' นอกจากนี้ภายในวัดยังมีสิ่ง
 อื่นที่น่าสนใจ ได้แก่ หอระฆัง พระอุโบสถ์หลังเก่า หอกลอง วิหารวัด ธรรมาสน์ และคัมภีร์โบราณที่จารึก
 เป็นภาษาพม่า เจดีย์วัดพระหลวงอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 4 กิโลเมตร
                                                    

                                            ภาพเจดีย์วัดพระหลวง

      วัดศรีดอก  บ้านศรีดอก ตำบลหัวฝาย เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพญาลิไท ของกรุง
 สุโขทัย คำว่าศรีดอก หมายถึง ต้นโพธิ์ที่ออกดอก ในอุโบสถ์มีพระพุทธรูปหน้าตักกว้างประ มาณ 2.40
 เมตร สูง 3.20  เมตร ประดิษฐานนั่งติดพื้นเป็นลักษณะที่แตกต่างจากแห่งอื่น ชาวบ้านนิยมเรียกว่า
 'หลวงพ่อนั่งดิน' วัดนี้อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสูงเม่นประมาณ 5 กิโลเมตร

 อำเภอเด่นชัย
     วัดพระธาตุสุโทนมงคลคิรี 
 บ้านห้วยน้ำพริก ตำบลเด่นชัย เป็นวัดที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2520ตั้งอยู่บน
 เนินเขา ใกล้ค่ายพระยาไชยบูรณ์ ( ม. พัน 12 ) อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร สิ่งที่น่า
 สนใจในวัดนี้คือ อนุสาวรีย์ทหารที่เสียชีวิตในสมรภูมิร่มเกล้าพระธาตุสุโทน ฯ ซึ่งเป็นพระธาตุที่มีรูปลักษณะ
 คล้ายพระธาตุพนม หอคำ ศาลา พิพิพธภัณฑ์ซึ่งสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลังเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาสำหรับ
 เป็นที่รวบรวมและตั้งแสดงโบราณวัตถุต่างๆ เช่น รูปภาพเจ้านายฝ่ายเหนือ เครื่องศัตราวุธ  เป็นต้น
                                               

                                   ภาพวัดพระธาตุสุโทนมงคลคิรี

 อำเภอร้องกว้าง
     พระธาตุปูแจ 
 บ้านบุญเริง ตำบลบ้านเวียง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 30 กิโลเมตร องค์พระธาตุตั้งอยู่
 บนเนินเขา มีตำนานเล่าว่าพระธาตุนี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้างานมัสการพระธาตุนี้จะมีเป็น
 ประจำทุกปีโดยเริ่มตั้งแค่วันขึ้น 11 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 เดือน 3
                                             

                                             ภาพ วัดพระธาตุปูแจ

 อำเภอลอง
     วัดพระธาตุศรีดอนคำ 
บ้านห้วยอ้อ ตำบลห้วยอ้อ วัดนี้มีพระธาตุเจดีย์ที่สำคัญ 1องค์เรียกว่า'พระธาตุ
 ศรีดอนคำ' ประวัติพระธาตุองค์นี้เกี่ยวพันกับตำนานของเมืองลอง โดยตำนานเล่าว่า พระนางจามเทวีพระธิดา
 ของกษัตริย์เมืองละโว้ ได้เสด็จมาครองเมืองหริภุญไชยระหว่างเดินทางมาตามลำน้ำเกิดความสงสัยว่าจะเดิน
 ทางผิด บริเวณที่พระนางตรัสว่าให้ 'ลอง' ขึ้นไปนั้น ต่อมาจึงเรียกว่าเมืองลอง "เมืองลอง" ภายหลังพระนาง
 ได้ทรงนำพระสารีริกธาตุที่พระราชบิดาทรงประทานให้มาบรรจุไว้ที่บริเวณที่เรียกว่า 'หนองอ้อ' ต่อมาได้มีการ
 ก่อสร้างองค์เจดีย์ขึ้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 'พระธาตุหนองอ้อ' พระธาตุองค์นี้เป็นที่เคารพสักการะ
 ของ ประชาชนในท้องถิ่น
      
      วัดพระธาตุแหลมลี่  บ้านแม่ลอง ตำบลปากกาง เป็นวัดที่สร้างขึ้นมานานแล้วและถูกทิ้งร้างไประยะหนึ่ง
 จนราวประมาณ พ.ศ.2497 จึงได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติและมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ถึง
 ปัจจุบัน ภายในวัดมีพระธาตุ 2 องค์ คือพระธาตุแหลมลี่และพระธาตุน้อย องค์พระธาตุได้ถูกขโมยขุดเจาะ
 หาสิ่งของมีค่าออกไป ต่อมาพระธาตุแหลมลี่ถูกบูรณะจนผิดไปจากรูปลักษณะเดิม ดังนั้นใน พ.ศ.2533
 จึงมีการบูรณะอีกครั้งหนึ่งโดยการทุบทำลายพระธาตุที่สร้างครอบออกและซ่อมแซมพระธาตุองค์เดิมซึ่งอยู่
 ด้านใน
    วัดพระธาตุแหลมลี่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร มีถนนเข้าถึงสะดวก
                                                   

                                         ภาพ  วัดพระธาตุแหลมลี่

 อำเภอวังชิ้น
   วัดไชยสิทธิ หรือ 
วัดพระธาตุขวยปู บ้านแม่ปาก ตำบลแม่ปาก องค์พระธาตุเป็นศิลปะแบบล้านนารูปทรง
 8 เหลี่ยม มีเจดีย์เล็กอยู่ 4 มุม นอกจากนี้ยังมีโบสถ์เก่าที่สร้างด้วยไม้มีสภาพเขียนฝาผนังที่สวยงาม ปัจจุบัน
 โบสถ์นี้อยู่ในสภาพทีชำรุด หลังคารั่วจึงควรได้รับการบูรณะให้ดีขึ้น
                                                      


        จัดทำโดย   นางสาว กัญญารัตน์  ปวนสาย    นางสาว สายฝน   เจริญศรี      ชั้นม.6/1
     โรงเรียนสรอยเสรีวิทยา   ต.สรอย    อ.วังชิ้น    จ.แพร่   54160