หม้อฮ่อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ  ช่อแฮศรีเมือง  ลือเลื่องแพะเมืองผี  คนแพร่นี้ใจงาม

เครื่องหมายประจำจังหวัดแพร่
      แผนที่ของภาคเหนือ
      อาณาจักร
      ลักษณะภูมิประเทศ        
      อาณาเขตติดต่อ
      ขนมธรรมเนียมประเพณี
      ภูมิประเทศ จ.แพร
      ภูมิอากาศ จ.แพร
     อาชีพประชากร จ.แพร
  การเดินทางไปเที่ยว จ.แพร
     พระธาตุช่อแฮ
     อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์
     อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
     ถ้ำผานางคอย
     แพะเมืองผี
     กลุ่มพระธาตุวัดต่างๆ
     ประวัติผู้จัดทำ 1
     ประวัติผู้จัดทำ 2
    ประวัติอาจารย์ผู้สอน
                                 
                 สภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัดแพร่
     กิจกรรมทางเศรษฐกิจ  ประชากรในจังหวัดแพร่ประกอบอาชีพที่สำคัญคือ   การเกษตรกรรม
  การอุตรสาหกรรม   การทำเหมืองแร่  โดยจำแนกได้ดังนี้
      การเกษตรกรรมในจังหวัดแพร่  

    ประชากรในจังหวัดแพร่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ผลผลิตทางด้านเกษตรกรรมเป็น
  สินค้าที่ทำรายได้เข้าสู่จังหวัดมากที่สุด ขณะที่เกษตรกรมีพื้นที่ทำกินทางเกษตรเพียงร้อนละ16.69
  ชองพื้นที่จังหวัด อำเภอที่มีพื้นที่ทำกินทางการเกษตรมากที่สุด คือ อำเภอร้องกวาง รองลงมาคือ
  อำเภอเมืองแพร่ อำเภอที่มีพื้นที่ทำการเกษตรน้อยที่สุด คือ อำเภอเด่นชัย ในด้านพื้นที่ถือครอง
  นั้นเกษตรกรในอำเภอสองมีพื้นที่ถือครองเฉลี่ยสูงที่สุด คือประมาณครอบครัวละ11.5ไร่ เกษตรใน
  อำเภอเมืองแพร่ มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรน้อยที่สุด ประมาณครอบครัวละ6ไร่ ในขณะที่
  จังหวัดมีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ยประมาณครอบครัวละ9ไร่
     ผลผลิตในภาคเกษตรกรรมเป็นผลผลิตของประชาชนส่วนใหญ่ ที่สำคัญได้แก่ การเพาะปลูก
  การเลี้ยงสัตว์ การประมงและการทำป่าไม้

     การเพาะปลูก  เป็นสาขาเกษตรกรรมที่มีผู้ประกอบการมากที่สุด พื้นที่เพาะปลูกของจังหวัด
  แพร่ส่วนใหญ่ใช้ในการทำนา รองลงมาคือการปลูกพืชไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้น พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ
  ตามลำดับ พืชเศรษฐกิจสำคัญที่เกษตรกรนิยมทำการเพาะปลูกได้แก่ ข้าว ถั่วเหลือง ข้าวโพด
  ยาสูบ ถั่วลิสง ฝ้าย อ้อยโรงงาน ถั่วเขียว ผลไม้ พืชผัก
                                           
                                          
                                การทำไร่ยาสูบของจังหวัดแพร่

           การเลี้ยงสัตว์  อาชีพเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดแพร่ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากสภาวะ
 ความแห้งแล้งที่เกิดจากต้นน้ำลำธารถูกทำลาย ทำให้การปลูกพืชไม่ได้ผลเท่าที่ควร พื้นที่บาง
 ส่วนไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้และกลายเป็นทุ่งหญ้า สัตว์ที่เกษตรกรชาวจังหวัดแพร่นิยมเลี้ยง
 ได้แก่ ไก่ โค-กระบือ สุกร เป็ด
                                          

 ภาพการเลี้ยงสัตว์

      การทำป่าไม้  ป่าไม้ธรรมชาติในจังหวัดแพร่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เบญจพรรณ ซึ่งมีไม้ที่สำคัญ
 คือไม้สักและไม้กระยาเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้สักเป็นไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ใช้ประดิฐ
 สิ่งของเครื่องใช้ได้สวยงาม พ.ศ.2532 หลังจากรัฐบาลได้ใช้มาตรการปิดป่าเป็นป่าถาวรเพื่อแก้
 ปัญหาการทำลายป่า  ทำให้อุตรสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไม้ในจังหวัดแพร่ได้รับผลกระทบ
 จากปัญหาการขาดแคลนไม้เพื่อใช้เป็นวัตถุในการผลิต  ราคาไม้ที่สูงขึ้ส่งผลให้อุตรสาหกรรม
  เฟอร์นิเจอร์ต้องลดกำลังการผลิตลง

ภาพป่าไม้ของจังหวัดแพร่
      
      การประมง      ในจังหวัดแพร่มีการประมงน้ำจืดเพียงเล็กน้อย   ทั้งนี้เนื่องจากสภาพโดย
  ทั่วไปของจังหวัดแพร่เป็นภูเขาเทือกเขา แหล่งน้ำต่างๆมีน้อยการประมงทำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ  
 ได้แก่  แม่น้ำยม  ห้วย  หนอง บึง  อุปกรณ์ที่ใช้  เช่น  แห  ยอ ตาข่าย  สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่
 ใช้บริโภคในครอบครัว

      
      การอุตสาหกรรม    เป็นการเปลี่ยนรูปวัตถุดิบ   ให้เป็นสินคาสำเร็จรูปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์
  ต่างๆ  อุตสาหกรรมในจังหวัดแพร่ส่วนใหญ่ใช้วิธีกรรมง่ายๆ ลงทุนต่ำ  ในจังหวัดแพร่มีผู้ประกอบ
  อาชีพไม่มากนักเมื่อเทียบกับอาชีพเกษตรกรรม  โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอ
  เมืองแพร่  และกระจายไปทุกอำเภอ  โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดแพร่แบงตามขนาดได้ดังนี้
         อุตสาหกรรมในครัวเรือน    หรือเรียกว่า   หัตถกรรม   เป็นการนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น
    มาผลิตเป็นสินค้า  ด้วยวิธีกรรมต่างๆ
                                                 

ภาพเสื้อหม้อฮ่อมซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแพร่
        
             อุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือขนาดย่อม   เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินไม่มากนัก  อาจมีการใช้
    เครื่องจักรช่วยในการผลิตและใช้คนงานน้อย  จังหวัดแพร่มีอุตสากรรมนี้มากที่สุด   เช่น
    โรงงานทำเส้นก๋วยเตี๋ยว
         อุตสาหกรรมขนาดกลาง  เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินทุนและเครื่องจักรมากกว่า
     อุตสาหกรรม  ขนาดย่อมดำเนินงานด้วยคนงานที่มีความรู้เฉพาะอย่าง อุตสาหกรรมขนาดกลาง
    ในจังหวัดแพร่    มีไม่มากนัก  เช่น  โรงงานอบเมล็ดพืช   โรงงานทำโมเสดปาเก้  
    โรงงานอบใบยาสูบ  เป็นต้น 
  

        จัดทำโดย   นางสาว กัญญารัตน์  ปวนสาย    นางสาว สายฝน   เจริญศรี      ชั้นม.6/1
     โรงเรียนสรอยเสรีวิทยา   ต.สรอย    อ.วังชิ้น    จ.แพร่   54160