หม้อฮ่อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ  ช่อแฮศรีเมือง  ลือเลื่องแพะเมืองผี  คนแพร่นี้ใจงาม

เครื่องหมายประจำจังหวัดแพร่
      แผนที่ของภาคเหนือ
      อาณาจักร
      ลักษณะภูมิประเทศ        
      อาณาเขตติดต่อ
      ขนมธรรมเนียมประเพณี
      ภูมิประเทศ จ.แพร
      ภูมิอากาศ จ.แพร
     อาชีพประชากร จ.แพร
  การเดินทางไปเที่ยว จ.แพร
     พระธาตุช่อแฮ
     อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์
     อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
     ถ้ำผานางคอย
     แพะเมืองผี
     กลุ่มพระธาตุวัดต่างๆ
     ประวัติผู้จัดทำ 1
     ประวัติผู้จัดทำ 2
    ประวัติอาจารย์ผู้สอน
                          
                ประวัติเมืองแพร่

     จังหวัดแพร่จะเป็นเมืองที่เก่าแก่เมืองหนึ่งในล้านนา  แต่ก็ไม่ปรากฎ
  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แน่ชัด  เรื่องของเมืองแพร่ก็มีปรากฎอยู่ใน
  ตำนานต่างๆ
                         
                      คุ้มเจ้าหลวง ( จวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ )

     
         เมื่อปีพ.ศ.1387ขุนหลวงพล เป็นเจ้าหลวงผู้ครองเมืองแพร่ซึ่งมีชื่อว่า
  เมืองพล หรือ  พลรัฐนคร เป็นชื่อดั้งเดิมของเมืองแพร่    ในสมัยที่ก่อสร้าง
  เมืองขึ้นคร้งแรก  บางครั้งเรียกว่า  พลนคร  ชื่อพลนครปัจจุบันมีปรากฎเป็นชื่อ
  วิหารในวัดหลวง  ตำบลในเวียง  อำเภอเมืองแพร่  ซึ่งวัดหลวงเป็นวัดเก่าแก่
  สันนิษฐานว่าสร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่  เป็นวัดที่เจ้าเมืองแพร่ให้
  ความอุปถัมภ์มาโดยตลอดจนหมดยุคเจ้าเมืองตำนานเมืองเหนือฉบับใบลาน
     ต่อมา พ.ศ.1559 พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนเรียกเมืองแพร่ว่า         
  เมืองโกศัย หรือ โกสิยนคร 
     เมืองแพล    เป็นชื่อเรียกในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุง
  สุโขทัยโดยศิลาจารึกด้านที่     4   ระบุว่าในสมัยพ่อขุนรามคำแหงฯ  ได้มีการ
  ขยายอาณาเขตให้กว้างยิ่งขึ้น     ในตำนานเมืองเหนือเรียกเมืองแพร่ว่า
  เมืองพล     ขณะที่ศิลาจารึกเรียก    เมืองแพล   แต่เมื่อพิจารณาสภาพทาง
  ภูมิศาสตร์สามารถกล่าวได้ว่า       เมืองพลกับเมืองแพลเป็นเมืองเดียวกัน
       เมืองแพร่   เป็นชื่อที่คนไทยในอาณาจักรสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ใช้เรียก
  เมืองแพลโดยกลายเสียงเป็นแพรหรือเมืองแป้  หมายถึงเมืองแห่งชัยชนะ
  (แป้  คือ  ชนะ  ) แล้วก็มาเป็น    แพร่    ตามภาษาของภาคกลาง

       เมื่อมีพระราชบัญการปกครองท้องถิ่น  ร.ศ.116   (พ.ศ.2441)  รัฐบาลทางกรุงเทพฯ  
   เริ่มมองเห็นความสำคัญของหัวเมืองท้องถิ่น  จึงส่งข้าหลวงต่างพระเนตรพระกรรณขึ้นไป
   ทำหน้าที่   ประจำเพื่อเป็นที่ปรึกษาเจ้าหลวง แต่บรรดาเจ้าหลวงและเจ้านายในเมืองแพร่
   ไม่สามารถที่จะติดตาม  การเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ทัน ในที่สุดชุดข้าหลวงต่าง
   พระเนตรพระกรรณและข้าราชการจากกรุงเทพฯ  ก็เลยกลายเป็นผู้บริหารเสียเอง
                                            

                                                
                                   รูปพระยาไชยบูรณ์


      พ.ศ.2440 ทางราชการได้ส่งพระยาไชยบูรณ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งปลัดมณฑล 
   พิษณุโลก   มาเป็นข้าหลวงกำกับ  การปกครองเมืองแพร่ และส่งข้าราชการชาวไทย
   ภาคกลาง   มาทำงานในตำแหน่งต่างๆ เจ้าเมืองแพร่ในขณะนั้น  คือ พระยาพิริยวิไชย     
   ระยะแรกที่ร่วมงานกันความขัดแย้งยังไม่เกิดขึ้นต่อมาเมื่ออำนาจสิทธิขาดในการปกครอง
   เป็นของข้าหลวงอำนาจของเจ้าหลวงยิ่งถูกลดทอนลงมากทำให้เกิดเหตุการณ์   กบฎเงี้ยว
   เมืองแพร่ขึ้นในวันศุกร์ที่  25กรกฎาคม พ.ศ.2445 พวกเงี้ยวโดยการนำของ พะกาหม่อง   
   สะลาโปไชยและหม่องจีนา
 

                               กบฎเงี้ยวที่ถูกจับตัวได้
    ได้พาลูกน้องบุกเข้ายึดโรงพัก(สถานีตำรวจ)  พวกข้าราชการ
   และคนไทยใต้(คือคนจากกรุงเทพฯ) มีอยู่ที่ไหนโจร( เงี้ยว)   มันจับไปฆ่าทิ้งหมด  
   ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือเด็ก...แล้วก็หลวงวิมณซึ่งเป็นข้าหลวงผู้ช่วย  ได้หลบหนีออกไป
   ถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งในตำบลป่าแดงทางทิศตะวันออกห่างจากเมือง ราว  8  กิโลเมตร  
   แล้วก็โดนคมดาบของพวกโจรเงี้ยวสิ้นชีวิต...สำหรับท่านข้าหลวงคือพระยาไชยบูรณ์
   นั้นหนี เข้าไปหาเจ้าหลวงเมืองแพร่  แต่เจ้าหลวงเมืองแพร่บ่ายเบี่ยงไม่ยอมช่วยเหลือ 
   พระยาไชยบูรณ์  จึงหนีซอกซอนลงไปทางใต้หิวดหยเต็มที่จึงเข้าไปขอข้าวชาวบ้านกิน  
   แต่แทนที่จะให้ข้าวกิน ชาวบ้านกลับจับตัวมัดจะนำส่งให้โจรเงี้ยว แต่เดินทางยังไม่ถึง
   เมือง ชาวบ้านเลยประหารพระยาไชยบูรณ์เสีย ณ ที่นั้นและทางการได้ก่อสร้างอนุสาวรีย์   
   เป็นที่ระลึกตรงที่ประหาร  ยังอยู่มาตราบเท่าทุกวันนี้
       จังหวัดแพร่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  8 อำเภอ  ดังนี้
   1.อำเภอเมืองแพร่              รหัสไปรษณีย์             54000
   2.อำเภอเด่นชัย                รหัสไปรษณีย์             54110
   3.อำเภอสอง                    รหัสไปรษณีย์             54120
   4.อำเภอสูงเม่น                 รหัสไปรษณีย์             54130
   5.อำเภอร้องกวาง                รหัสไปรษณีย์             54140
   6.อำเภอลอง                    รหัสไปรษณีย์             54150
   7.อำเภอวังชิ้น                  รหัสไปรษณีย์             54160
   8.อำเภอหนองม่วงไข่            รหัสไปรษณีย์             54170

                                                          แผนที่แสดงอำเภอต่างๆ  ของจังหวัดแพร่

        จัดทำโดย   นางสาว กัญญารัตน์  ปวนสาย    นางสาว สายฝน   เจริญศรี      ชั้นม.6/1
     โรงเรียนสรอยเสรีวิทยา   ต.สรอย    อ.วังชิ้น    จ.แพร่   54160