“ วรรณกรรม ” และ  “ วรรณคดี  ” เป็นคำที่แปลมาจากคำว่า  Literature ในภาษาอังกฤษ

มีความหมายทั้งอย่างกว้างและอย่างแคบดังนี้ “ วรรณคดีในความหมายกว้าง คือ เอกสาร

ที่กล่าวแสดงความรู้สึก  ความคิด  ความรู้สึกของมนุษย์โดยใช้ภาษาเป็นสื่อกลาง   ส่วน

วรรณคดีในความหมายแคบ   หมายถึง   เรื่องความวิจิตรบรรจง ทวงทำนองในการแต่ง

และผลทางอารมณ์ของผู้อ่าน “

ศัพท์วรรณกรรมเริ่มใช้ครั้ง แรกใน พระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม

.. 2475  หมายถึง  สิ่งที่เขียนขึ้นทั้งหมด จะใช้รูปแบบหรือความมุ่งหมายใดก็ได้

คำว่า วรรณกรรม  จึงเป็นคำที่ใช้ แทนกันได้กับคำว่า  งานเขียน  หรือหมายถึง  หนังสือ

ทั่วไปทุกชนิดแต่ในหนังสือเล่มนี้ใช้กับความหมายแคบเท่านั้น

การอ่านและพิจารณาวรรณกรรมจำเป็นต้องเรียนรู้ประเภทของวรรณกรรมเพราะ

การจำแนกประเภทของวรรณกรรมจะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้การพิจารณางานเขียนเป็นไป

อย่างถูกต้อง  ทั้งนี้เพราะงานเขียนแต่ละประเภทมีลักษณะและองค์ประกอบที่ต่างกัน การแบ่ง

ประเภทวรรณกรรมจึงช่วยให้ไม่เกิดความสับสนในการอ่านและพิจารณาวรรณกรรม

การแบ่งประเภทวรรณกรรมตามลักษณะคำประพันธ์

1.  ร้อยแก้ว   หมายถึง  บทประพันธ์ที่เขียนขึ้นในรูปความเรียง  กล่าวคือไม่มีการกำหนด

จำนวนคำในวรรค ตำแหน่งสัมผัส เสียงสูงต่ำ หรือหนักเบาใด ๆ

2. ร้อยกรอง  หมายถึง  บทประพันธ์ที่เขียนขึ้นตามลักษณะบังคับฉันทลักษณ์ มีการกำหนด

จำนวนคำในวรรค  การส่งรับสัมผัส  กำหนดเสียงสูงต่ำ

 

 

 

 Page 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20