คำว่า” ร้อยกรอง ” เป็นคำที่คณะกรรมการสำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม

ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2485 กำหนดขึ้นใช้เรียกวรรณกรรมที่มีลักษณะบังคับในการแต่ง

มีกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เฉพาะแบบ  เช่น  กำหนดจำนวนคำ   กำหนดส่งรับสัมผัส

ตามตำแหน่ง  กำหนดจำนวนวรรค  กำหนดเสียงวรรณยุกต์  กำหนดคำที่มีเสียงหนัก

เบา  ที่เรียกว่า  คลุ  ลหุ  เป็นต้น

ลักษณะการเขียนวรรณกรรมร้อยกรองนั้นแตกต่างจากวรรณกรรมร้อยแก้ว

ที่มีการแต่งให้ถูกลักษณะบังคับตามฉันทลักษณ์  และมีการเน้นจินตนาการหรือความ

รู้สึกนึกคิดของผู้ประพันธ์ด้วย

ร้อยกรองแบ่งออกได้ตามลักษณะรูปแบบเป็น 5ประเภท คือ โคลง ฉันท์

กาพย์ กลอน และ ร่าย นอกจากนี้ยังมีการแต่งประสมประสานร้อยกรองบางรูปแบบ

เข้าด้วยกัน เช่น กาพย์ห่อโคลง มีโคลงนำและขยายความด้วยกาพย์ ลิลิต มีรูปแบบ

คำประพันธ์หลายประเภทแต่งรวมกัน ได้แก่ ร่ายสุภาพ โคลงสอง โคลงสาม และโคลง

สี่

การแต่งร้อยกรองให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์เป็นที่นิยมมาตั้ง

แต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันนี้มีการแต่งร้อยกรองแนวใหม่ ๆ เกิดขึ้น

ผู้ประพันธ์พอใจที่จะแต่งอย่างอิสระ ไม่ต้องมีกฎเกณฑ์ตายตัว เช่น เขียนร้อยกรอง

ปลอดสัมผัส คือไม่ต้องมีสัมผัสบังคับตามแบบ ร้อยกรองวรรณรูป คือ เรียบเรียง

ถ้อยคำเป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ตามความพอใจของผู็ประพันธ์ และร้อยกรองที่ผู้ประพันธ์

คิดรูปแบบขึ้นใหม่

สิ่งที่ควรพิจารณษเกี่ยวยกับการอ่านวรรณกรรมร้อยกรอง

การอ่านวรรณกรรมร้อยกรองทุกประเภท ควรพิจารณาในหัวข้อต่อไปนี้

  1. รูปแบบ  บทร้อยกรองไม่ว่าสั้หรือยาวต้องมีรูปแบบ ซึ่งหมายถึง

ลักษณะการประพันธ์หรือฉันทลักษณ์ การพิจารณาความถูกต้องด้านรูปแบบของบท

ร้อยกรองเพื่อวิจารณ์ ในปัจจุบันมิได้ถือเป็นเรื่องเคร่งครัดนักแต่ก็ไม่ถึงกับให้

ละเลยฉํนทลักษณ์ไป ดังนั้นบทร้อยกรองที่ดีควรมีความถูกต้องตามฉันทลักษณ์ แต่

มิได้มีความหมายว่าบทร้อยกรองที่มีรูปแบบถูกต้องตามฉันทลักษณ์เท่านั้นที่จะเป็น

 

Page 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20