<%@LANGUAGE="JAVASCRIPT" CODEPAGE="1252"%> FOLIC ACID
   

 

แหล่งที่มาของข้อมูล

หน้าแรก

วิตามิน

เกลือแร่

เกี่ยวกับเรา

 


วิตามิน
วิตามินที่ละลายไนน้ำ

วิตามินบี 1

วิตามินบี 2

วิตามินบี 3

วิตามินบี 5

วิตามินบี 6

วิตามินบี 9

วิตามินบี 12

วิตามินบี 15

วิตามินบี 17

วิตามินซี

วิตามินพี

วิตามินเอช

คาร์นิทีน

โคลีน

รูติน

พาบา

อีโนซิตอล

วิตามินที่ละลายในไขมัน

วิตามินเอ

วิตามินเค

วิตามินดี

วิตามินอี

วิตามินเอฟ

แคโรทีน

เทารีน

 

วิตามินบี 9
(FOLIC ACID)

 

 

เนื้อหาโดยย่อ    วิตามินบี9 ส่วนมากรู้จักกันในชื่อ กรดโฟลิค ( FOLIC ACID )วิตามินชนิดนี้ละลายในน้ำ ( WATERSOLUBLE ) และจัดอยู่ในเครือของวิตามินบีรวม และบางครั้งเราเรียกว่า โฟเลท โฟลาซิน หรือเทอโรอิลกลูทาเมท กรดโฟลิค หรือวิตามินบี 9 กรดโฟลิคเป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่พบว่ามักจะขาดบ่อยมากในอาหารธรรมดาของเรา แต่ถ้ามีมากจะถูกเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น มีมากที่สุดในผักสีเขียวจัด หน้าที่ของวิตามินบี 9ต่อร่างกายที่รู้จักกันทั่วไปก็คือกรดโฟลิคช่วยร่างกายในการสร้างเม็ดเลือดแดง โดยที่จะไปช่วยไขกระดูก ( BONE MARROW ) ให้ผลิตเม็ดเลือดแดง และควบคุมการทำงานของสมอง และอารมณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปกติสมบูรณ์ ทำให้รู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้นและยังช่วยในการเผาผลาญ RNA ( RIBONUCLEIC ACID ) และ DNA ( DEOXYRIBONUCLEIC ACID ) ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนของการสร้างโลหิต สร้างเซลล์ และการถ่ายทอดปัจจัยทางพันธุกรรม และทำหน้าที่ร่วมกับวิตามิน บี12 รวมทั้งการสร้างภูมิต้านทานโรคในต่อมไธมาส ( THIMAS ) ให้แก่เด็กเล็ก และเด็กเกิดใหม่ความต้องการของร่างกายจะต้องการเพิ่มมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ดังนั้นสตรีมีครรภ์ ควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิค จะช่วยทั้งแม่และเด็กในครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ กับทั้งยังเป็นหลักประกันได้ว่าไม่เกิดโรคโลหิตจางที่เรียกว่า “ เมกกาโลบลาสติค ( MEGALOBLASTIC ANAEMIA ) ” เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกติและรูปร่างไม่เท่ากัน และเม็ดเลือดแดงนั้นๆ อายุสั้นตายก่อนกำหนดพบบ่อยในผู้หญิงตั้งครรภ์ อีกด้วยองค์การอนามัยโลก มีบันทึกเป็นหลักฐานว่าประมาณหนึ่งในสาม ถึงครึ่งหนึ่งของสตรีมีครรภ์ก่อนคลอด 3 เดือน จะเป็นโรคขาดกรดโฟลิค ถึงนอกจากจะทำให้แม่และเด็กไม่สมบูรณ์แล้วยังอาจทำให้เด็กในครรภ์พิการ เพดานในปากโหว่ สมองเสื่อมได้อีกด้วยขาดเกิดภาวะโลหิตจาง ร่างกายขาดภูมิคุ้มกัน เกิดแผลที่มุมปากชนิดที่เรียกว่า “ ปากนกกระจอก ”
 
เนื้อหา   

  • ข้อมูลทั่วไป
  • ประโยชน์ต่อร่างกาย
  • แหล่งที่พบ
  • ปริมาณที่แนะนำ
  • ผลของการขาด
  • ข้อมูลอื่นๆ
 
 
กลับด้านบน
Copyright © All rights reserved.