วิธีของการถ่ายโอนข้อมูล
ก่อนที่เราจะกล่าวถึงการสื่อสารระหว่างเครื่อง เรามามองดูก่อนว่าสัญญาณที่ส่งออกมาจากเครื่อง
และรับเข้าไปในเครื่องเป็นอย่างไร
1. การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน ลักษณะของการส่งข้อมูลแบบขนาน ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ
1 ไบต์ คือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่าง 2 เครื่องจะต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย
8 ช่องทาง โดยมากจะเป็นสายขนานให้กระแสไฟฟ้าวิ่งมากกว่าจะเป็นตัวกลางชนิดอื่น
เนื่องจากมีสัญญาณสูญหายไปกับความต้านทานของสาย ระยะทางระหว่าง 2 เครื่อง
ไม่ควรจะเกิน 100 ฟุต ปัญหาที่เกิดขึ้นหากระยะทางของสายมากกว่านี้ก็คือ ระดับของกราวนด์ในทางไฟฟ้าที่จุดรับผิดไปจากจุดส่ง
ทำให้เกิดการผิดพลาดในการรับสัญญาณลอจิกทางฝ่ายรับ
นอกจากสายที่เป็นทางเดินของข้อมูลแล้วอาจจะมีทางเดินของสัญญาณควบคุมอื่น ๆ
อีก เป็นต้นว่า บิตที่บอกพาริตี้ของสัญญาณ เพื่อเป็นการตรวจสอบความผิดพลาดของการรับสัญญาณที่ปลายทาง
หรือสายที่ควบคุมการโต้ตอบ ( Hand shake ) ดังที่กล่าวมาแล้ว
จะเห็นว่าการส่งแบบขนานส่วนมากจะทำในระยะใกล้ ๆ เนื่องจากจะต้องมีช่องทางเดินของสัญญาณมากกว่า
8 สาย และอุปกรณ์ที่ติดต่อแบบขนานกับคอบพิวเตอร์ก็เห็นจะได้แก่เครื่องพิมพ์ดังกล่าวมาแล้ว
รูปที่ 2
2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม ในการถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลถูกส่งออกมาทีละบิตระหว่างจุดส่งและจุดรับ
จะเห็นว่าการส่งข้อมูลแบนี้จะช้ากว่าแบบขนานที่กล่าวมาแล้วแน่นอน แล้วทำไมต้องส่งแบบนี้ละ
คำตอบก็คือ ตัวกลางการสื่อสารต้องการเพียงช่องเดียวหรือสายเพียงคู่เดียว ค่าใช้จ่ายในสื่อกลางจะต้องถูกกว่าแบบขนานอย่างแน่นอน
สำหรับการส่งระยะทางไกล ๆ โดยเฉพาะเมื่อเรามีระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ไว้ใช้งานอยู่แล้วย่อมจะเป็นการประหยัดกว่าที่จะทำการติดต่อสื่อสารทีละ
8 ช่อง เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลแบบขนานอย่างแน่นอน
รูปที่ 3
แสดงให้เห็นการส่งข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจากจุดส่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นอนุกรมเสียก่อน
แล้วค่อยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับ ณ ที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต
ให้เป็นสัญญาณแบบขนานซึ่งลงตัวพอดี นั่นคือ บิต 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ 1
พอดี การที่จะทำให้การแปลงสัญญาณจากอนุกรมทีละบิตให้ลงพอดีนั้นจำเป็นจะต้องมีกลไกที่เหมาะสม
เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการรับ กลไกที่ว่านี้แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
การสื่อสารแบบซิงโครนัส
การสื่อสารแบบอะซิงโครนัส
หน้า 1 | 2
| 3 | 4 | 5
| 6 | 7 | 8
| 9 |
| home | menu
| เทคโนโลยี |
1 : 08 : 2541