ข้อแตกต่างระหว่างวงจรส่งข้อมูลอนุกรมแบบซิงโครนัสและอะซิงโครนัสก็คือ ความต่อเนื่องของข้อมูลที่ส่ง
ในแบบซิงโครนัสข้อมูลที่ส่งออกมาแบบต่อเนื่อง ไม่มีบิตสตาร์ตหรือสต๊อปหรือแม้กระทั่งบิตพาริตี้
โปรโตคอลที่ใช้ในการส่งแบบซิงโครนัสจึงแตกต่างไปจากโปรโตคอลแบบอะซิงโครนัส
มีโปรโตคอลหลายแบบที่ใช้ในการส่งแบบซิงโครนัสดังจะกล่าวต่อไปนี้
โปรโตคอลไปซิงก์ ( Bisyn Protocol ) Bisyn ย่อมาจาก Binary synchronous communication
เป็นผลผลิตของบริษัท IBM Bsisync เป็นโปรโตคอลในระดับดักขระซึ่งหมายหมายความว่าอักขระแต่ละตัวมีขอบเขตที่แน่นอน
แต่ละอักขระไม่มีสตาร์ต์บิตหรือสต๊อปบิตเหมือนกับอะซิงโครนัส การซิงโครนัสกระทำกันที่จุดเริ่มต้นของการส่งข้อมูลเลยทีเดียว
สถานีส่งจะส่งสัญญาณที่เรียกว่า Leading pad character ไปยังสถานีรับก่อนที่จะเริ่มส่งข้อมูล
ตัวอักษรนำ ( Leading pad character ) จะประกอบด้วย 0 และ 1 สลับกันเพื่อให้สถานีรับจัดสัญญาณนาฬิกาให้ตรงกัน
นอกจากนั้นก่อนข้อมูลจะส่งออกมาจะต้องมีอักขระที่เรียกว่า syn ตามหลัง pad
มาก่อน และสถานีส่งจำเป็นจะต้องบอกความยาวของข้อมูลมาในกลุ่มนี้และเครื่องหมายที่เป็นตัวบอกจุดเริ่มต้นของข้อมูลมาด้วย
อักขระ syn ในโปรโตคอล Bisyn ทำหน้าที่คล้ายกับบิตเริ่มต้นในอะซิงโครนัส ซึ่งทำหน้าที่
" ปลุก " สถานีรับให้ตื่นมารับข้อมูล ขณะที่สถานีรับกำลังรอรับสัญญาณจากสถานีส่ง
เครื่องรับอยู่ในสถานภาพที่เรียกว่า " Hunt " บิตทุกบิตที่ผ่านเข้ามาจะถูกค้นหาอักขระ
syn ก่อน เมื่ได้รับอักขระ syn แล้วจึงจะเริ่มนับบิตที่เข้ามาเพื่อจุดเริ่มต้นของสัญญาณ
เพื่อป้องกันโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด อักขระ syn แสดงไว้ใน ตาราง
|
( Hex value ) |
( Decimal value ) |
|
|
|
|
Synchronous Idle บอกการซิงโครนัส |
|
|
|
PAD เริ่มต้นของ Frame |
|
|
|
PAD บอกท้าย Frame |
|
|
|
Data Link Escape
บอกว่าใช้อักขระที่ตามหลัง
มาในการควบคุม |
|
|
|
Enquiry ขอให้ส่ง |
|
|
|
Start of Heading เริ่มส่วนหัว |
|
|
|
Start of Text เริ่มต้นข้อความ |
|
|
|
End of Intermediate Block หมดสิ้นกลุ่มของข้อมูลระหว่างกลาง |
|
|
|
End of Transmission Block สิ้นสุดการส่งของกลุ่ม |
|
|
|
End of Text สิ้นสุดข้อความ |
ไม่มีขอบเขตจำกัดของจำนวนกลุ่มที่จะส่งไปในการส่งแต่ละครั้ง กลุ่มของข้อมูลอาจจะมีส่วนหัวนำหน้า
เพื่อบรรยายข้อมูลที่ส่งมา ส่วนที่เป็นข้อมูลจริง ๆ ในสัญญาณ Bisyn มีกฎเกณฑ์
อย่างเกี่ยวกับระบบอะซิงโครนัสนั่นคือ อักขระแต่ละตัวอาจจะใช้ 5, 6, 7 หรือ
8 บิต และอาจจะตามด้วยบิตพาริตี้ ในเครื่องเมนเฟรม IBM รหัสที่ใช้แทนที่จะเป็น
ASCII กลับเป็น EBCDIC ซึ่งรหัสควบคุมจะแตกต่างไปจาก ASCII ฉะนั้นในการรับส่งระหว่างเมนเฟรมคอมพิวเตอร์กับไมโครคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องให้ไมโครคอมพิวเตอร์รับส่งเป็นแบบ
EBCDIC เพื่อให้เข้ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของไมโครคอมพิวเตอร์จึงต้องเพิ่มขึ้นมาอีกลักษณะคือการแปลงรหัส
EBCDIC และ ASCII
แต่ละกลุ่มของข้อมูลที่ถูกส่งออกจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องที่ฝ่ายรับ
โดย Block Check Character ( BCC ) ซึ่งเป็นกลุ่มของตัวอักษรสำหรับการตรวจสอบความถูกต้อง
โดยอาจจะมีวิธีในการตรวจสอบได้ 3 วิธีด้วยกันคือ
1. VRC หรือ Vertical Redundancy Checking
2. LRC หรือ Longitudinal Redundancy Checking
3. CRC หรือ Cyclic Redundancy Checking
รูปที่ 8
หน้า 1 | 2
| 3 | 4 | 5
| 6 | 7 | 8
| 9 |
| home | menu
| เทคโนโลยี |
1 : 08 : 2541