Transmit
Data ( TD ขาที่ 2 )
เป็นสัญญาณที่ส่งออกจาก
DTE ( หรือตัวไมโครคอมพิวเตอร์ ) ไปยังโมเด็มหรือต่อเข้าโดยตรงกับไมโครคอมพิวเตอร์อื่น
หรือเครื่องพิมพ์ เมื่อไม่มีสัญญาณส่งออกสถานภาพของลอจิกที่ขานี้จะมีค่าเท่ากับ
" 1 " หรือเทียบเท่ากับสต๊อปบิต
Receive
Data ( RD ขาที่ 3 )
เป็นทางของสัญญาณเข้าไปยัง
DTE ( หรือตัวไมโครคอมพิวเตอร์ ) เมื่อไม่มีสัญญาณรับเข้ามา ขานี้จะมีสถานภาพทางลอจิกเป็น
" 1 "
Request
To Send ( RTS ขาที่ 4 )
ใช้สำหรับส่งสัญญาณไปยังโมเด็มหรือเครื่องพิมพ์เป็นการเรียกร้องที่จะส่งสัญญาณมาทางขา
2 สัญญาณนี้ใช้คู่กับ CTS หรือ Clear to send อุปกรณ์รับหากได้รับสัญญาณ RTS
จะตรวจสอบตัวเองว่าพร้อมจะรับสัญญาณได้หรือยัง หากพร้อมที่จะรับก็ส่งสัญญาณออกไปที่สาย
CTS
Clear To
Send ( CTS ขาที่ 5 )
ดังอธิบายไว้ใน RTS เมื่อสัญญาณนี้อยู่ในสถานะออฟ
( negative voltage หรือลอจิก " 1 " ) หมายความว่าอุปกรณ์รับกำลังบอกว่าพร้อมที่จะรับข้อมูลแล้ว
Data Set
Ready ( DSR ขาที่ 6 )
เมื่อสัญญาณสายนี้อยู่ในสถานะออน
( หรือลอจิก 0 ) เป็นการบอกไมโครคอมพิวเตอร์หรือฝ่ายส่งว่า โมเด็มต่อเข้ากับสายโทรศัพท์เรียบร้อยแล้วและพร้อมที่จะส่งได้แล้ว
โมเด็มที่มีการหมุนหมายเลขอัตโนมัติจะส่งสัญญาณสายนี้ไปบอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่าต่อโทรศัพท์ได้สำเร็จแล้ว
Signal Ground
( SG ขาที่ 7 )
SG ทำหน้าที่เป็นระดับแรงดันอ้างอิงสำหรับทุก
ๆ สายของสัญญาณ จะมีแรงดันเป็น " 0 " เมื่อเทียบกับสัญญาณตัวอื่น
Carrier
Detect ( CD ขาที่ 8 )
โมเด็มจะส่งสัญญาณที่อยู่ในสถานะออน
( ลอจิก " 0 " ) ไปบอกไมโครคอมพิวเตอร์ เมื่อได้รับสัญญาณจากโมเด็มของอีกฝ่ายหนึ่ง
สัญญาณนี้จะนำไปจุด LED บอกว่าได้รับสัญญาณจากโมเด็มอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว ไฟ LED
จะอยู่บนหน้าปัดของโมเด็มเอง
Data Terminal
Ready ( DTR ขาที่ 20 )
คอมพิวเตอร์เปิดสัญญาณสายนี้ให้ออน
( ลอจิก " 0 " ) เมื่อพร้อมที่จะติดต่อกับโมเด็ม โมเด็มส่วนมากจะไม่รายงานสถานภาพของตัวเอง
( CD, USR และ CTS ) ให้คอมพิวเตอร์รู้ หากคอมพิวเตอร์ไม่เปิดสัญญาณ DTR
Ring Indicator
( RI ขาที่ 22 )
สัญญาณนี้ใช้ในโมเด็มที่เป็นระบบตอบได้อัตโนมัติ
( Auto answer ) สัญญาณนี้จะออนเมื่อมีสัญญาณกระดิ่งมา และออฟระหว่างเสียงดังของกระดิ่ง
ท่านผู้อ่าน อาจจะสับสนระหว่างสถานภาพของลอจิกกับสถานภาพของสัญญาณ
โดยปกติเราจะคุ้นเคยอยู่กับความรู้สึกว่า เมื่อแรงดันเป็นบวก หรือสัญญาณออนลอจิกน่าจะเป็น
" 1 " สำหรับสัญญาณต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้จะมีลักษณะตรงกันข้าม ทำไมเขากำหนดกฎเกณฑ์ออกมาอย่างนี้
ก็เพราะว่าแต่เดิมนั้นการติดต่อกันทางโทรเลข การทำงานของสัญญาณจะต้องครบวงจรทั้งฝ่ายส่งและฝ่ายรับ
เมื่อลอจิกเป็น " 0 " หรือขณะที่ไม่มีอะไรส่งควรจะมีสัญญาณทางไฟฟ้าครบวงจรอยู่ตลอดเวลา
จะได้รู้ว่าวงจรไม่ขาดระหว่างทางตรงไหน ควรจะรู้ว่าวงจรครบอยู่ตลอดเวลาก็โดยการให้ค่าแรงดันที่ฝ่ายส่ง
ดังนั้นจึงถือกันว่าสัญญาณไฟบวกใช้เป็นลอจิก " 0 "
Driver output logic levels with | 15 V > 0 h > 5V |
3K to 7K load | - 5 V > 0 1 > - 15V |
Driver output voltage when open circuit | V0 < 25 V |
Driver output impedance with Power off | R 0 > 300 ohms |
Output short circuit current | I 0 < 0.5 A |
Driver slew rate | dv / dt < 30 V/s |
Receiver input impedance | 7K > R in > 3K |
Receiver input voltage | + 15 compatible with driver |
Receiver output with open circuit input | MARK |
Receiver output with +3V input | SPACE |
Receiver output with -3V input | MARK |
+15 | LOGIC 0 = SPACE = CONTROL ON |
+5 | Noise Margin |
+3 | Transition Region |
-3 | Noise Margin |
-5 | LOGIC 1 = MARK = CIBTRIK OFF |
-15 |
มาตรฐาน
RS 232C กับ V.24
ได้กล่าวถึงมาตรฐานตามสมาคมผู้ผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ของสหรัฐอเมริกา หรือ RS 232C ไปแล้วสหประชาชาติและกลุ่มของ CCITT ( Comite
Consultatif International Telephoniqe ) ได้ออกมาตรฐานออกมาเหมือนกัน และก็หลายฉบับตั้งแต่การประชุมครั้งที่สองที่กรุงนิวเดลฮี
ปี ค.ศ. 1960 ออกมาเป็นสมุดปกแดง ครั้งที่สามเมื่อปี ค.ศ. 1964 ที่กรุงเจนีวา
ออกมาเป็นสมุดปกน้ำเงิน จนกระทั่งครั้งที่ 6 เมื่อ ปี ค.ศ. 1977 ที่กรุงเจนีวา
อีกเหมือนกัน ออกมาเป็นสมุดปกสีส้ม ( คงจะไล่กันจนหมดสีที่จะทำปกนะแหละจึงเป็นมาตรฐานถาวร
) ได้เป็นมาตรฐานออกมา 3 รูปแบบคือ
V.24 บรรยายถึงการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์รับส่งข้อมูล ( DTE ) กับอุปกรณ์รับส่งข้อมูลปลายทาง
V.28 บรรยายลักษณะทางไฟฟ้าสำหรับการใช้ Unbalance Double Current Interchange Circuit
จะเป็นการบังเอิญหรือโชคดีของผู้ใช้ก็แล้วแต่ V.24 และ RS 232C มีลักษณะคล้ายคลึงกันจนสามารถไปด้วยกันได้ ท่านสามารถจะหารายละเอียดเปรียบเทียบได้จากหนังสือชื่อ Technical Aspects of Data Communication โดย John E.mcNamara จัดพิมพ์โดยบริษัท DEC ปี ค.ศ. 1977 หมายเลขหนังสือ ISBN 0-932376-01-0 หรือจะเขียนจดหมายไปขอรายละเอียดจากสหประชาชาติหรือสมาคมผู้ผลิตอุตสาหกรรมของอเมริกา ก็ตามแต่ท่านจะสะดวก
RS 422 และ
RS 433
จุดอ่อนของ EIA RS 232C
พอสรุปได้ 3 ประการ
1. ใช้ระดับแรงดันไฟเลี้ยง - 15 โวลต์ นอกเหนือ - 5 โวลต์ ซึ่งใช้ในวงจรลอจิก
2. ค่าตัวเก็บประจุของอุปกรณ์รับสัญญาณ RS 232C รวมทั้งตัวเก็บประจุสเตย์
( Stay Capacitance ) ในสายจะต้องไม่มากกว่า 2500 pf สายที่รวมกันหลาย ๆ สายส่วนมากจะมีตัวเก็บประจำสเตย์ประมาณ
40 - 50 pf ต่อ 1 ฟุต ดังนั้นสายนี้จะต่อได้ยาวสุด 50 ฟุต ก่อนที่ค่าตัวเก็บประจุสเตย์จะมากกว่า
2500 pf ถ้าหากตัวเก็บประจุสเตย์มากกว่าที่กำหนดนี้ ช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงระดับของสัญญาณจะมากกว่า
4 เปอร์เซ็นต์ ตามที่ยอมให้ได้ในมาตรฐาน RS 232C เมื่อเป็นเช่นนี้ จะทำให้ฝ่ายรับตีความสัญญาณผิดไปจากความเป็นจริง
มาร์กบิต ( MARK bit ) จากยาวกว่าสเปซบิต ( SPACE bit ) หรือสเปซบิตยาวกว่ามาร์กบิต
ขึ้นอยู่กับวงจรการตรวจสอบการผิดเพี้ยนแบบนี้เรียกว่า " Bias distrotion "
เนื่องจากตระหนังถึงปัญหาเหล่านี้
EIA ได้ออกมาตรฐานออกมาใหม่ 2 มาตรฐาน คือ RS 422 และRS 433 ใน RS 422 แก้ปัญหา
RS 232 โดยการส่งสัญญาณแบบแรงดันบาลานซ์ ( Balance voltage ) โดยกฎเกณฑ์สรุปไว้ในรูปที่
4.7
RS 423 เป็นการแก้ปัญหาอีกวิธีหนึ่งโดยการส่งสัญญาณแบบแรงดันไม่บาลานซ์
( Unbalance voltage )กฎเกณฑ์สรุปเอาไว้ในรูปที่ 4.8
ในเครื่อง IBM PC หากใช้อะแดปเตอร์สื่อสารข้อมูลแบบอะซิงโครนัส มีหนทางให้เลือกในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น 2 แบบคือ แบบแรงดันตามกฎเกณฑ์ของ RS 232C ( แต่แรงดันแค่ 0 ถึง 5 โวลต์ ) และแบบกระแสวนรอบ เพื่อขยายระยะทางของสายให้มากขึ้น
หน้า 1 | 2
| 3 | 4 | 5
| 6 | 7 | 8
| 9 |
| home | menu
| เทคโนโลยี |
1 : 08 : 2541