การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยตรง

            ในบางครั้งท่านอาจจะต้องการย้ายข้อมูล จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง แน่นอนถ้าหากว่าไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้มีดิสเกตต์และเป็นชนิดเดียวกัน ท่านก็เพียงแต่ก๊อบปี้ลงบนดิสเกตต์ แล้วก็นำไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง ถ้าหากว่าเป็นคนละยี่ห้อ คนละ OS วิธีดังกล่าวใช้ไม่ได้ผลเพราะการบันทึกลงแผ่นดิสค์ของคอมพิวเตอร์แต่ละยี่ห้อ หรือ OS แต่ละชนิด ส่วนมากจะไปด้วยกันไม่ได้ คืออีกเครื่องหนึ่งจะอ่านไม่ออก ขอยกตัวอย่างเช่น ถ้าท่านสร้างแฟ้มโดย CP/M86 ของIBM PC ท่านจะใช้ PC DOS บนเครื่องเดียวกันอ่านไม่ได้ ท่านอาจจะซื้อ IBM PC มาใหม่แล้วข้อมูลเก่าของท่านที่เคยใช้กับเครื่องเก่าล่ะ ทำยังไงดี ขืนคีย์ข้อมูลเข้าไปใหม่ตายแน่ ๆ ถ้าหากข้อมูลเป็นร้อย ๆ แฟ้ม
            หนทางที่แก้ปัญหาข้างบน ก็คือการต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยใช้ RS 232C แล้วถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง วิธีการต่อแบบนี้เรียกว่า Null Modem คือไม่ใช้โมเด็มนั่นเอง ( ในกรณีที่ระยะทางไม่เกิน 50 ฟุต )
            วิธีการต่อ RS 232C เข้าระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงมีอยู่หลายวิธี ตามแต่ขบวนการที่จะใช้ ถ้าไม่ต้องการมีการตรวจสอบสัญญาณกันก็ต่อ RD เข้า TD ของอีกเครื่องหนึ่ง สายกราวน์ดต่อถึงกันดังรูป ก็สามารถใช้งานถ่ายโอนข้อมูลได้แล้ว

            ปกติ OS ที่ให้บริการเกี่ยวกับพอร์ต RS 232C จะส่งสัญญาณ RTS หรือ Request to Send ออกมาที่ขา 4 ก่อน เมื่อ CS หรือ Clear to Send ที่ขา 5 เป็นลอจิก “ 1 ” ( หรือไฟลบ ) จึงจะเริ่มทำการส่งข้อมูลที่โอเปอเรเตอร์บอกให้ส่งออกไปที่ขา 2 ในกรณีที่เป็นการต่อแบบง่าย ๆ ในรูปจึงถือว่าเป็นหลอกคอมพิวเตอร์โดยเอาขา 4 RTS ต่อเข้ากับขา 5 หรือ CTS เพื่อให้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลได้ทันทีโดยไม่ต้องการความเรียบร้อยของฝ่ายรับ สำหรับขา 6 Data Set Ready ต่อเข้ากับขา 20 Data Terminal Ready ก็ทำนองเดียวกัน โดยปกติคอมพิวเตอร์จะถามอุปกรณ์ที่มาต่อพ่วงกับ RS 232C ว่าพร้อมที่จะส่งแล้วยัง โดยส่งสัญญาณถามที่ขา 20 และรอคำตอบที่ขา 6 นี่ก็เป็นการหลอกคอมพิวเตอร์เหมือนกัน คือถามที่ขา 20 ก็ได้รับคำตอบกลับที่ขา 6 ทันที ในการต่อแบบนี้ฝ่ายรับจะต้องรอรับอยู่ก่อนแล้ว ก่อนที่ฝ่ายส่งจะเป็นผู้ส่ง ไม่เช่นนั้นข้อมูลที่ส่งออกมาหายแน่ ๆ เพราะฝ่ายส่งไม่ได้ตรวจสอบความเรียบร้อยของฝ่ายรับก่อน
            เราอาจจะต่อสายให้มีการตรวจสอบสัญญาณโต้ตอบ ( Hand Shake ) ที่ดีกว่านี้ ในกรณีเช่นนี้จะมีการโต้ตอบที่ดีขึ้น เมื่อฝ่ายรับยังไม่พร้อมที่จะรับก็จะยังไม่มีสัญญาณ RTS ( พอร์ตอนุกรมยังไม่เปิด หรือ OPEN “ COM1 ” ในภาษาเบสิกยังไม่ถูกเอกซีคิ้ว ) ฝ่ายส่งซึ่งถือเอา RTS ของฝ่ายรับเป็น CTS ก็จะยังไม่ส่ง

อีมูเลเตอร์

            นอกจาการใช้ RS 232C ติดต่อกับโลกภานนอก ยังมีฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่งสำหรับการเปลี่ยนไมโครคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อกับเครื่องเมนเฟรมโดยเฉพาะ นั่นคือ อีมูเลเตอร์ ( Emulator )
            อีมูเลเตอร์ ก็คือเทคนิคที่ใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้ไม่โครคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เสมือนกับเทอร์มินัลตัวหนึ่งของเมนเฟรม การใช้เทคนิคอันนี้ต้องการทั้งฮาร์ดแวร์และซอพต์แวร์ ผู้ใช้อีมูเลเตอร์สามารถที่จะทำงานได้ทั้งที่เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง หรือทำหน้าที่เสมือนเป็นเทอร์มินัลของเครื่องเมนเฟรม โดยการใช้คีย์บอร์ดคีย์เดียว โปรแกรมขนาดใหญ่อาจจะใช้รับเมนเฟรม ขณะที่งายย่อยอย่างเวิร์ดโปรเซสซิ่งก็สวิตซ์กลับมาอยู่ในโหมดของไมโครคอมพิวเตอร์
             IBM มีโปรแกรมสำเร็จรูปอยู่ 3 โปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง IBM PC ทั้งสามโปรแกรมใช้สำหรับเป้นเทอร์มินัลของ IBM โปรแกรมที่ว่าคือ SNA 3270, SNA 3770 Remote Job Entry ( RJE ) และ IBM 3101 SNA 3270 และ SNA 3770 ต้องการฮาร์ดแวร์พิเศษสำหรับ SDLC โปรโตคอล ส่วน IBM 3101 เป็นเพียงซอฟต์แวร์ที่ใช้พอร์ต RS 232C เท่านั้น SDLC อะแดปเตอร์ที่ใช้สำหรับ SNA 3270 และ SNA 3770 สามารถทำให้ผู้ใช้เข้าถึงข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ SDLC โปรโตคอล โดยใช้ได้ทั้งผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดาหรือสายชนิดที่เป็นสายเช่า ( คู่สายที่เช่าไว้โดยเฉพาะไม่ผ่านวงจรสลับหมายเลข ) ฮาร์ดแวร์ที่ว่านี้เป็นแบบเสียบลงในสลอตของ IBM PC มีสายต่อแบบ DB 25 ไว้ให้สำหรับต่อเข้ากับโมเด็มอีกทีหนึ่ง

ความสามารถของ SDLC อะแดปเตอร์พอสรุปได้ดังนี้

บริษัท AST Research Inc. ได้ผลิตอีมูเลเตอร์ออกมาจำหน่ายเหมือนกัน เป็นฮาร์ดแวร์และวอฟต์แวร์ โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีชื่อว่า EM 3780 สามารถทำให้ IBM PC ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เหล่านี้ได้
IBM ระบบ 360 IBM 3780 เทอร์มินัล
IBM ระบบ 370 DEC PBP-11
IBM 2780 เทอร์มินัล DEC VAX

            EM 3780 สามารถถ่ายโอนข้อมูลด้วยความเร็วสูง 38,400 bps ยังสามารถทำให้ IBM PC ต่อเป็นเนตเวอร์คได้หลายรูปแบบ เช่น จุดต่อจุดโดยใช้สายโทรศัพท์ เป็น LAN ซิงโครนัสโมเด็ม และ เป็น LAN โดยการต่อแบบไม่ต้องใช้โมเด็ม
            หน้าที่สำคัญของ EM 3780 คือ รับแฟ้มจากคอมพิวเตอร์แม่ ส่งแฟ้มไปยังคอมพิวเตอร์แม่ แปลงรหัสจาก EBCDIC เป็น ASCII และ ASCII เป็น EBCDIC ควบคุมเครื่องพิมพ์ สามารถทำให้คีย์บอร์ดติดต่อโดยตรงกับเครื่องแม่



หน้า 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
| home | menu | เทคโนโลยี |

1 : 08 : 2541